สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการแรงงานภาคเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดจันทบุรี
สายสกุล ฟองมูล - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการแรงงานภาคเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): A Comaparative Study on Agricultural Labor Management of Longan Farmers in Chiang Mai and Chantaburi Provinces
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สายสกุล ฟองมูล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Saisakul Fongmul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กังสดาล กนกหงษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Kangsadan Kanokhong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการแรงงานภาคเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดจันทบุรี” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์แรงงานภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย 2) เพื่อศึกษาด้านการจัดการแรงงานภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย และ 3) เพื่อหาแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาด้านการจัดการแรงงานภาคเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วย การจัดหาข้อมูลสถิติประชากรเกษตรกรชาวสวนลำไย การทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ในขณะที่ทำกิจกรรมร่วมกัน ในด้านของการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจะทำการวิเคราะห์โดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิเคราะห์ทางสถิติ การบรรยายเชิงพรรณนาร่วมกับการเปรียบเทียบอัตราร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จะทำการวิเคราะห์เนื้อหาในแต่ละประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า จำนวนและสัดส่วนประชากรแรงงานภาคการเกษตรในเขตพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันมีแนวโน้มที่ลดจำนวนลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย ซึ่งพบว่าแรงงานภาคการเกษตรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ในการทำการเกษตรสวนลำไยนั้น เกษตรกรต้องการแรงงานตั้งแต่การดูแลรักษา การให้น้ำ ตลอดจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งในการเก็บเกี่ยวผลผลิตนี้ต้องการแรงงานที่เพิ่มขึ้น ในรายที่มีการเพาะปลูกมาก จำนวนหลายไร่ จำเป็นต้องจ้างแรงงานนอกครัวเรือน บางครั้งมีการแย่งชิงแรงงานในพื้นที่โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะการเก็บลำไยในชุมชน ดังนั้นเมื่อถึงฤดูการเก็บเกี่ยวลำไย จึงมีความต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก ที่จังหวัดจันทบุรีมีการทำลำไย นอกฤดูจึงมีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการ บริษัทจึงเข้าทำสัญญากับเจ้าของสวน ซึ่งปัญหาตอนนี้คือกำลังในการผลิต และแรงงานซึ่งยังทำไม่ทันต่อความต้องการของตลาด โดยแรงงานส่วนใหญ่เป็นชาวต่างด้าวชาวกัมพูชา ที่มีข้อกฎหมาย ด้านความมั่นคงบังคับ ขณะที่แรงงานไทยไม่นิยมเป็นลูกจ้างแรงงานสวนผลไม้ โดยการศึกษาข้อมูลด้านการจัดการแรงงานภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย พบว่า เกษตรกรในพื้นที่อำเภอจอมทองและอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่มีการจ้างแรงงานเฉพาะในช่วงการปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยส่วนใหญ่เป็นการจ้างแรงงานในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในครัวเรือน ญาติพี่น้อง หรือแรงงานรับจ้างทั่วไปในชุมชน ซึ่งแรงงานในกลุ่มนี้จะเป็นแรงงานที่มีทักษะในการดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย และอีกส่วนหนึ่งมาจากการจ้างเหมาแรงงานผ่านตัวแทนจัดหาแรงงานภายในชุมชน ซึ่งมักเป็นแรงงานจากที่สูง ได้แก่ ปาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ลาหู่ (มูเซอ) หรือแรงงานต่างด้าว (พม่า) มาทดแทน แต่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานไม่มีทักษะ ทำให้ผลผลิตเสียหาย ในส่วนพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่มีการจ้างงานแรงงานต่างชาติกัมพูชา ซึ่งจะมีการจ้างแรงงานให้ดูแลสวนลำไยตั้งแต่ช่วงการปลูกถึงช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิต และแรงงานที่ทำงานในภาคเกษตรส่วนใหญ่ มักมีการนำครอบครัวมาอาศัยอยู่ระหว่างการทำงานด้วย เป็นแรงงานที่ไม่มีใบอนุญาต หรือเป็นแรงงานที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมได้ ดังนั้นแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาด้านการจัดการแรงงานภาคเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย คือ หน่วยงานภาครัฐ หรือนักวิชาการที่เกี่ยวข้องควรเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมแรงงาน ให้ความรู้เรื่องการจัดการสวนลำไย และพัฒนาฝีมือแรงงานภาคการเกษตร หรือการสร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถใช้ได้จริงและเหมาะสมกับพื้นที่ และมีจัดสรรแรงงานอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อเตรียมความพร้อม และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The research on “A Comaparative Study on Agricultural Labor Management of Longan Farmers in Chiang Mai and Chantaburi Provinces,” had the following objectives: 1) to study the agricultural labor conditions of longan farmers, 2) to study the agricultural labor management of longan farmers, and 3) to seek the guidelines and standard for solving problems on agricultural labor management of longan farmers. The methods on data collection included statistical data search of longan farmers, application of questionnaire, deep interview, and observation of participation activities. Quantitative analysis of data was done using computer program on statistical analysis (SPSS/PC), descriptive analysis and comparison on percentages, while qualitative analysis was conducted by content analysis. Results of the study showed that the number and proportion of agricultural laborers in the area of Chiang Mai and Chantaburi provinces at present had the decreasing trend especially agricultural laborers on longan farms. It was found that majority of agricultural laborers were senior people. There was a demand or need for laborers for taking care of longan trees such as watering until harvesting which called for more laborers aside from the household members. Sometimes there was a scrambling for skilled laborers on longan harvesting in the community. Thus, when longan harvest time came there was a great demand for laborers. In Chantaburi province, there was off season longan where the longan produce was enough to meet the demand. Private companies therefore did contract farming with longan farms owners and the problem at present was effort/strength in production and labor which was prompt to market demand where majority of laborers were foreign laborers from Myanmar who were under strict Thai labor laws. On the other hand, Thai laborers did not prefer to work in fruit farms. By studying agricultural labor management of longan farmers it found that farmers in the local areas in Chonthong and Sanpathong districts of Chiang Mai in majority were hired during planting and harvesting and the laborers from these areas and nearby were or laborers of the households or relatives or the group of laborers who were skilled on caring for and harvesting longan. Another part came from contract laborers passing through a middle man in the community were laborers from the highlands or hilltribes such as Paka-euyo (Kariang) Lahu (Moser) or foreign laborers (Myanmar) were unskilled laborers which caused losses in the longan production. In the areas of Pongnamron and Soidao districts in Chantaburi province majority of laborers were foreign laborers from Cambodia who took care of longan trees from planting until harvesting. Majority of these laborers brought along with them their families with members lacking work permits and usually caused social problems. Therefore, guidelines and standard in solving problems in agricultural labor management of longan farmers required participation from the government sector or researchers involved who should have the role in promoting or extending know-how on longan production/management and development skills in agriculture or creating tools or innovation that can be used and are appropriate in the longan farm areas and a systematic labor organization/arrangement including developing the potential of laborers in preparing and adjusting to possible changes that may occur.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-55-024
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 349,800
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2557/saisakul_fongmul_2556/abstract.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการแรงงานภาคเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดจันทบุรี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาวิกฤติแรงงานภาคเกษตร: กรณีศึกษาลำไย ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาปัจจัยการผลิตที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาวิธีการควบคุมการออกดอกของลำไย การศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาการออกดอกเว้นปีของลำไย ผลกระทบของการถ่ายทอดเทคโนโลยยีเกษตรต่อครอบครัวเกษตรกรชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมของเส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การวางแผนและการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานของเกษตรกรในตำบลป่าลาน อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดเชียงใหม่ ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก