สืบค้นงานวิจัย
ผลของแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของว่านแสงอาทิตย์
รุ่งนภา ช่างเจรจา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: ผลของแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของว่านแสงอาทิตย์
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Light and Temperature on Growth and Flowering of Blood lily (Haemanthus multiflorus)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รุ่งนภา ช่างเจรจา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สันติ ช่างเจรจา
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการศึกษาผลของความยาววันต่อการเจริญติบโตและการออกดอกของว่านแสงอาทิตย์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 3 กรรมวิคือ ความยาววัน 8 12 และ 16 ชั่วโมง กรรมวิธีละ 10 ซ้ำ พบว่ ตันที่ได้รับความยาววัน 8 ชั่วโมง มีการเจริญเติบโตทางด้านน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง ลำต้นใต้ดินมากที่สุด ต้นที่ได้รับความยาววัน 12 ชั่วโมง มีน้ำหนักสดช่อดอก ก้านช่อดอก และกายใบ มากที่สุด ความยาววันไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านความยาวและความกว้างก้านช่อดอก น้ำหนักแห้งก้านช่อดอก และน้ำหนักสดราก ผลของการพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและการออกดอก งแบบสุ่ม สมบูรณ์ มี 4กรรมวิธี (ไม่พรางแสง พรางแสง 25 เปอร์เซ็นต์ พรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ และพรางแสง 75 เปอร์เซ็นต์) โดยใช้ซาแลนสีดำที่มีความเข้มแสงแตกต่างกันและวัดระดับความเข้มแสงด้วย Lux meter แต่ละกรรมวิธีมีจำนวน 10 ซ้ำต่อกรรมวิธี จากการทดลองพบว่ ต้นที่ไม่ได้รับการพรางแสงไม่ มีการออกดอก ตันที่พรางแสงทุกระดับมีความกว้างและความยาวใบมากกว่าตันที่ไม่ได้รับการพราง แสง่ง ส่วนตันที่ได้รีบการพรางแสง 25 เปอร์เซ็นต์ มีความยาวกัานดอก ความสูงและน้ำหนักสดใบมาก ที่สุดคือ 29.83 เซนติเมตร 68.00 เซนติเมตร และ 12.57 กรัม ตามสำดับ ตันที่ได้รับการพรางแสง 25 และ 75 เปอร์ซ็นต์ มีน้ำหนักสดรากมากที่สุดคือ 12.74 และ 11.72 กรัม ในส่วนของใบ ต้นที่ ไม่ได้รับการพ พรางแสงมีปริมาณนโตรเจนน้อยที่สุด ตันที่ได้รับการพรางแสง 25 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่อยู่ในรูปโครงสร้างมากที่สุด มีคำ 249.10 มิสสิกรัมต่อกรัมของน้ำหนักแห้ง ใน ส่วนของหัว ตันที่ได้รับการพรางแสง 25 และ 50 เปอร์เซ็นต์ มีคารโบไฮเดรตที่ไม่อยู่ในรูปโครงสร้าง มากที่สุด มีค่า 368.61 และ 352.06 มิลสิกรัมต่อกรัมของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ นอกจากนี้ยัง พบว่า การพรางแสงไม่มีผลต่อขนาดช่อดอก จำนวนดอกต่อช่อ ความกว้างก้านช่อดอก จำนวนใบ ความเข้มสีใบ น้ำหนักสดของช่อดอก และก้านช่อดอก น้ำหนักแห้งของช่อดอก ก้านช่อดอก หัว และ ราก ปริมาณนโตรเจนในส่วนช่องช่อดอก ก้านช่อดอก หัวและราก ปริมาณคารโบไฮเดรตที่ไม่อยู่ใน รูปโครงสร้างในส่วนของช่อดอก ใบ และราก ผลของอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและการออกดอก การวางแผ่นการทดลองแบบ Completely Randomized Design มี 3 กรรมวิธีๆ ละ 10 ซ้ำ คือให้ต้นได้รับอุณหภูมิ 20 25 และ 30 *C พบว่า ต้นที่ได้รับอุณหภูมิ 30 *C มีความยาวกัานช่อดอก น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งใบ และคาร์โบไฮเดรตที่ไม่อยู่ในรูปโครงสร้างในส่วนของ หัว และช่อดอก มากกว่าต้นที่ได้รับอุณหภูมิ อื่นๆ ส่วนตันที่ได้รับอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำตาลรีดิวซีในส่วนของกาบใบมากที่สุด ต้นที่ได้รับอุณหภูมิ 20 และ 25*C มีปริมาณน้ำตาลรีติวซีในส่วนของช่อดอก และ ก้านช่อดอกมาก ที่สุด ตันที่ได้รับอุณหภูมิ 20*C มีปริมาณโพแทสเซียมและแมกนีเซียมในส่วนของกาบใบมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่อุณหภูมิกลางคืน ไม่มีผลต่อความกว้างกัานช่อดอก น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง ก้านช่อดอก ช่อดอก หัว กาบใบ และราก ปริมาณน้ำตาลรีดิวซีในส่วนของหัว ปริมาณไนโตรเจนและ ฟอสฟอรัสในส่วนของหัว กาบใบ ช่อดอก และ ก้านช่อดอก ปริมาณโพแทสเชียมและแมกนีเซียมใน ส่วนของหัว ช่อดอก และก้านช่อดอก
บทคัดย่อ (EN): Effect of day length on growth and flowering of Blood lily (Haemanthus multiflorus), The experiments were designed as completely randomized design with 3 treatments (8 12 and 16 hrs). There were 10 replications per treatment. The result showed that the plants were grown at 8 hrs gave the highest of fresh and dry weight of bulb. The plants were grown at 12 hrs gave the highest of fresh weight of inflorescence and stalk. In addition, day length did not affect on width and length of inflorescence stalk, fresh weight of fibrous root and dry weight of inflorescence. Effect of shading on growth and flowering were designed as completely randomized design with 4 treatments (no shading, 25% saran shading, 50% shading and 75% shading. There were 10 replications per treatment. The result showed that the plants were not shading does not flowering. Leaf length and leaf width in shaded plants were higher than those in not shaded plants. The plants were grown at 25% shading gave the highest of stalk length, height and fresh weight of leaves. The plants were grown at 25 and 75% shading gave the highest of fresh weight of roots. In addition, shading did not affect on inflorescence size, number of floret to inflorescence, width of inflorescence stalk, number of leaves, the quantifications of leaf greenness (SPAD), fresh weight of inflorescence and stalk and dry weight of inflorescence and stalk, bulb and fibrous root. Effect of temperature on growth and flowering were designed as completely randomized design with 3 treatments (20 25 and 30 ๐ C). There were 10 replications per treatment. The result showed that the plants were grown at 30 ๐ C gave the higher of stalk length, fresh weight and dry weight of leave, total non structural carbohydrate of bulb, scale and inflorescence than the other treatments. The plants were grown at 25 ๐ C gave the higher of reducing sugar of scale than the other treatments. The plants were grown at 20 and 25 ๐ C gave the highest of reducing sugar of inflorescence and stalk. The plants were grown at 20 ๐ C gave the highest of potassium and magnesium of scale, while night temperature did not affect on stalk width, fresh weight and dry weight of stalk, inflorescence, bulb, scale and roots, reducing sugar of bulb, nitrogen and phosphorus in bulb, scale, inflorescence and stalk, potassium and magnesium in inflorescence and stalk.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของว่านแสงอาทิตย์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
30 กันยายน 2558
2558A17003010 ผลของแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของว่านแสงอาทิตย์ การเก็บรักษาหัวพันธุ์ว่านแสงอาทิตย์ ผลของอุณหภูมิกลางคืนต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์โบไฮเดรตในว่านแสงอาทิตย์ ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การศึกษาแบบแผนการเจริญเติบโต การออกดอกและผลผลิตของโกโก้ การเจริญเติบโตและการสังเคาะห์แสงของใบส้มโอพันธุ์ขาวทองดี ผลของการเด็ดยอดต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกพิทูเนีย ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของข่า ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ ความต้องการโปรตีนและพลังงานเพื่อการดำรงชีพและเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย 1.ระยะเจริญเติบโตน้ำหนัก 100 – 150 กิโลกรัม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก