สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
บุญมี แก้วสวัสดิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญมี แก้วสวัสดิ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: รายงานการวิจัย สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร สภาพการผลิตยางพารา และปัญหาอุปสรรคในการผลิตยางพาราของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 81 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางพารามีอายุเฉลี่ย 50.8 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.1 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.4 คน พื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 26.9 ไร่ต่อครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนการปลูกยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มีรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรเฉลี่ย 30,966.3 บาทต่อครัวเรือนต่อปี มีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 2,685.2 บาทต่อครัวเรือนต่อปี เกษตรกรร้อยละ 39.6 เริ่มปลูกยางหาราในปี พ.ศ. 2537 - 2541 มีพื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 10.4 ไร่ต่อครัวเรือน ปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM 600 ทุกราย เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ระยะการปลูกยาง 2.5 x 7 เมตร ส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมก่อนการปลูกยางพารา มีการกำจัดวัชพืชในสวนยางทุกปี มีการใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีบำรุงสวนยาง ปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่ใช้สูตร 15 - 7 - 18 จำนวน 2 ครั้งต่อปี เกษตรกรร้อยละ 21 เปิดกรีดยางแล้ว ส่วนมากรีดยางในปี พ.ศ. 2546 พื้นที่กรีดยางเฉลี่ย 6.5 ไร่ต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมก่อนการเปิดกรีด มีแรงงานในครัวเรือนกรีดยางเฉลี่ย 1.4 คน เปิดกรีดยางที่ความสูง 120 เซนติเมตร ใช้ระบบกรีดแบบกรีดครึ่งลำต้น 2 วัน เว้น 1 วัน ทุกราย ส่วนใหญ่ออกไปกรีดยางในช่วงเวลา 02.01 - 04.00 น. ไม่มีการเพิ่มวันกรีดยางทุกราย เกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มเปิดกรีดยางในเดือนพฤษภาคม และหยุดกรีดยางในเดือนกุมภาพันธ์ มีจำนวนวันกรีดเฉลี่ย 128.9 วันต่อปี ผลิตยางแผ่นทุกราย ผลผลิตยางแผ่นเฉลี่ย 270.1 กิโลกรัมต่อไร่ จำหน่ายยางแผ่นให้กับพ่อค้าท้องถิ่นทุกราย มีรายได้จากการขายยางเฉลี่ย 66,619.85 บาทต่อครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการความรู้ เรื่องการป้องกันกำจัดโรคและศัตรูยางพารา ปัญหาอุปสรรคขาดการรวมกลุ่มในการผลิตยางแผ่น ขาดโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตและรวบรวมยางแผ่นที่มีคุณภาพ ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาสนับสนุนงบประมาณจัดฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ เรื่องการป้องกันกำจัดโรคและศัตรูยางพาราและสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ โรงเรือนในการทำยางแผ่น แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรผู้ปลูกยางพารา เพื่อเป็นการรวมกลุ่มผลิตและการจำหน่ายผลผลิตที่มีคุณภาพต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการกรีดยางพาราของเกษตรกรจังหวัดยโสธร สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เปิดแล้วกรีดในจังหวัดศรีสะเกษ สภาพการกรีดยางพาราของเกษตรกร อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราที่เปิดกรีดแล้วของเกษตรกรตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สภาพการผลิตและการจำหน่ายผ้าฝ้าย : กรณึศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโสกผักหวาน ตำบลดู่ลาด อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรบ้านแสนกางตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก