สืบค้นงานวิจัย
ระยะเวลาการบ่มและเพิ่มปริมาณเชื้อที่เหมาะสมต่อการถ่ายทอด เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุของโรคใบขาวอ้อยของเพลี้ยจักจั่นพาหะ
จริยา รอดดี - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ระยะเวลาการบ่มและเพิ่มปริมาณเชื้อที่เหมาะสมต่อการถ่ายทอด เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุของโรคใบขาวอ้อยของเพลี้ยจักจั่นพาหะ
ชื่อเรื่อง (EN): Optimal latent period for sugarcane white leaf phytoplasma disease transmission by leafhopper vector
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จริยา รอดดี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jariya Roddee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ยุพา หาญบุญทรง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Yupa Hanboonsong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เพลี้ยจักจั่น Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) เป็นแมลงพาหะที่สำคัญในการถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคใบขาวอ้อย กระบวนการถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมาเป็นแบบเชื้อเพิ่มปริมาณและหมุนเวียนในลำตัวแมลง ประกอบด้วย ระยะรับเชื้อจากพืช ระยะการบ่มและเพิ่มปริมาณเชื้อ และระยะถ่ายทอดเชื้อสู่พืช ระยะเวลาบ่มและเพิ่มปริมาณเชื้อที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แมลงมีคุณสมบัติเป็นพาหะที่สามารถถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมาสู่ต้นพืชได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อตรวจสอบระยะเวลาที่เหมาะสมในการบ่มและเพิ่มปริมาณเชื้อไฟโตพลาสมาของแมลงพาหะ โดยใช้แมลงเพศเมีย เพศผู้และตัวอ่อนวัย 5 ที่ได้รับเชื้อไฟโตพลาสมาจากต้นอ้อยใบขาวเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นบ่มและเพาะเชื้อบนต้นอ้อยปลอดเชื้อเป็นเวลา 7, 14 , 21 , 28 , 35 , และ 42 วัน และให้แมลงถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมาสู่พืช ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเชื้อไฟโตพลาสมาในแมลงเพศเมียมีจำนวนมากที่สุดในทุกระยะของการบ่มเพาะเชื้อ ระยะเวลาบ่มและเพิ่มปริมาณเซื้อไฟโตพลาสมาที่สั้นที่สุดของแมลงพาหะคือ 14 วัน เพศเมีย เพศผู้และตัวอ่อนวัย 5 สามารถถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมาได้ 85% 65% และ 55% ตามลำดับ ระยะเวลาบ่มและเพิ่มปริมาณเชื้อที่เหมาะสมที่ถ่ายทอดเชื้อได้ 100% ในแมลงตัวเต็มวัยที่ 21 วัน และตัวอ่อนวัย 5 ที่ 28 วัน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพการถ่ายทอดเชื้อไฟโตพลาสมาของแมลงพาหะ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ต้านทานโรคใบขาวอ้อยได้
บทคัดย่อ (EN): Leafhopper Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) is an important vector in transmission of the sugarcane white leaf (SCWL) phytoplasma disease. The phytopalsma transmission process of this insect vector is circulative propagative transmission which includes an acquisition access period (AAP), latent period (LP) and inoculation access period (IAP). The LP is an important process during which the insect is able to transmit phytoplasma into the plant and become the vector of SCWL phytoplasma. The purpose of this study was to investigate the optimal LP of the leafhopper vector. Female, male, and 5th instar nymph insects were fed on infected sugarcane plants for 24 hours of AAP and then moved to feed on disease - free sugarcane plants for LP of 7, 14, 21, 28, 35 and 42 days. The insect vectors were checked for the transmission efficiency of SCWL phytoplasma after each LP process. The results showed that the number of SCWL phytoplasma cells was highest at all of LPs in female insects. The minimum LP in female, male and 5th instar nymph insects was 14 days, the insects showed the percentage of phytoplasms transmission at 85% 65% and 55%, respectively. The optimal LP for 100% phytoplasma transmission was 21 days for adult insects and 28 days for 5th instar nymph insects. This study can be used to test the insect transmission efficiency for screening sugarcane cultivars for resistance to sugarcane white leaf phytoplasma disease.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=4_16_61_Jariya.pdf&id=3353&keeptrack=2
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระยะเวลาการบ่มและเพิ่มปริมาณเชื้อที่เหมาะสมต่อการถ่ายทอด เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุของโรคใบขาวอ้อยของเพลี้ยจักจั่นพาหะ
จริยา รอดดี
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของอุณหภูมิต่อแมลงพาหะ Matsumuratettix hiroglyphicus นำโรคใบขาวอ้อย ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของเพลี้ยจักจั่นพาหะนำโรคใบขาวอ้อย ลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยและสายพันธุ์อ้อยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) โรคใบขาวอ้อย ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อไฟโตพลาสมาที่ก่อโรคในอ้อย และหญ้าบางชนิดของประเทศไทย จากลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S-23S rRNA intergenic spacer region สมบัติของชั้นดานไถพรวนในดินปลูกมันสำปะหลังและอ้อยจังหวัดขอนแก่น ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว ผลของชนิดปุ๋ยอินทรีย์ และระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ต่อปริมาณสาร ฟลาโวนอยด์ ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ และ ปริมาณแคลเซียม ในชะพลู เชื้อสาเหตุโรคภายหลังการเก็บเกี่ยวของแก่นตะวันและการควบคุมโรคในระดับห้องปฏิบัติการ โรคที่พบในช่วงเก็บรักษาผลลิ้นจี่จากผลที่เก็บเกี่ยวในระยะเวลาต่าง ๆ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก