สืบค้นงานวิจัย
การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย
นันทชัย บุญจร, อัญญานี แย้มรุ่งเรือง, ปวโรจน์ นรนาถตระกูล, นพรัตน์ เรืองปฏิกรณ์, กฤษฎา ธงศิลา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Cuttlefish Fisheries From Commercial Trawler in the Gulf of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการประมงหมึกกระดองในอ่าวไทย โดยเก็บข้อมูลจากเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และอวนลากคู่ บริเวณท่าเทียบเรือในเขตจังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2551 พบว่า เรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็กมีแหล่งทำการประมงครอบคลุมทุกเขตการประมง ที่ระดับน้ำลึก 10-30 เมตร เรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดกลางมีแหล่งทำการประมงในเขตการประมง 3 4 และ 5 ที่ระดับน้ำลึก 15-55 เมตร สำหรับเรืออวนลากคู่มีแหล่งทำการประมงครอบคลุมทุกเขตการประมง ที่ระดับน้ำลึก 18-60 เมตร เรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และอวนลากคู่ มีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยเท่ากับ 17.129 20.606 และ 79.676 กก./ชม. ประกอบด้วยสัตว์น้ำเศรษฐกิจร้อยละ 70.28 57.98 และ 66.51 และปลาเป็ดร้อยละ 29.72 42.02 และ 33.49 ตามลำดับ โดยส่วนของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ประกอบด้วยกลุ่มปลาหมึกร้อยละ 12.31 16.82 และ 25.02 ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหมึกกระดองร้อยละ 34.61 28.91 และ 10.74 ของกลุ่มปลาหมึก ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มปลาเป็ด ประกอบด้วยกลุ่มปลาหมึกขนาดเล็กร้อยละ 1.88 3.12 และ 4.57 ของปลาเป็ด ซึ่งเป็นหมึกกระดองร้อยละ 20.04 21.14 และ 8.20 ของกลุ่มปลาหมึกขนาดเล็ก ตามลำดับ สำหรับอัตราการจับหมึกกระดองจากกลุ่มสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เท่ากับ 0.513 0.582 และ 1.078 กก./ชม. และอัตราการจับหมึกกระดองจากกลุ่มปลาเป็ดเท่ากับ 0.019 0.057 และ 0.099 กก./ชม. ตามลำดับ ความยาวของปลาหมึกในกลุ่มสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่จับได้จากอวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และอวนลากคู่ เป็นดังนี้ หมึกกระดองชนิด Sepia aculeata มีความยาวเฉลี่ย 9.03?3.33 8.18?2.61 และ 10.34?2.72 เซนติเมตร หมึกกระดองลายเสือชนิด S. pharaonis มีความยาวเฉลี่ย 16.02?4.23 12.31?4.10 และ 14.59?5.45 เซนติเมตร หมึกกระดองชนิด S. recurvirostra มีความยาวเฉลี่ย 6.32?1.66 7.02?2.04 และ 7.46?1.40 เซนติเมตร และหมึกกระดองก้นไหม้ชนิด Sepiella inermis มีความยาวเฉลี่ย 5.32?1.45 5.70?0.72 และ 5.94?1.36 เซนติเมตร ตามลำดับ มีเพียงหมึกกระดองชนิด S. aculeata ที่จับได้จากอวนลากคู่ และหมึกกระดองลายเสือชนิด S. pharaonis ที่จับได้อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็กและอวนลากคู่ ที่มีความยาวเฉลี่ยมากกว่าขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ ส่วนปลาหมึกทั้งหมดที่จับได้ในกลุ่มปลาเป็ดมีความยาวน้อยกว่าขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ โดยที่ไม่พบหมึกกระดองลายเสือชนิด S. pharaonis ในกลุ่มปลาเป็ดของทุกเครื่องมือ
บทคัดย่อ (EN): Study on cuttlefish fisheries in the Gulf of Thailand was conducted by collecting the data from small-sized otter board trawls, medium-sized otter board trawls, and pair trawls at the fishing ports of Trat, Chanthaburi, Chon Buri, Samut Prakan, Prachuap Khiri Khan, Chumphon, Surat Thani, and Nakhon Si Thammarat provinces during January – December 2008. The results found that cuttlefish fishing ground of small-sized otter board trawls covered all fishing zones at the depth of 10-30 meters, medium-sized otter board trawls covered fishing zone 3, 4, and 5 at the depth of 15-55 meters, and pair trawls covered all fishing zones at the depth of 18-60 meters. The average catch per unit effort (CPUE) of small-sized otter board trawls, medium-sized otter board trawls, and pair trawls was 17.129, 20.606 and 79.676 kg/hr respectively. The catch composition composed of 70.28%, 57.98% and 66.51% economic catch; and 29.72%, 42.02% and 33.49% trash fish respectively. Moreover, cephalopods were 12.31%, 16.82 and 25.02% of economic catch respectively. Furthermore, cuttlefish were 34.61%, 28.91% and 10.74% of cephalopods respectively. On the other hand, cephalopods were 1.88%, 3.12% and 4.57% of trash fish respectively. In addition, cuttlefish were 20.04%, 21.14% and 8.20% of trash fish respectively. The CPUE of economically important cuttlefish was 0.513, 0.582 and 1.078 kg/hr in economic catch and was 0.019, 0.057 and 0.099 kg/hr in trash fish respectively. The length of cuttlefish in economic catch caught by small-sized otter board trawls, medium-sized trawls, and pair trawls shown that the average length of Sepia aculeata was 9.03?3.33, 8.18?2.61 and 10.34?2.72 cm, of S. pharaonis was 16.02?4.23, 12.31?4.10 and 14.59?5.45 cm, of S. recurvirostra was 6.32?1.66, 7.02?2.04 and 7.46?1.40 cm, and of Sepiella inermis was 5.32?1.45, 5.70?0.72 and 5.94?1.36 cm respectively. The average length of S. aculeata caught by pair trawls and S. pharaonis caught by small-sized otter board trawls and pair trawls was larger than size at first maturity. Length of cuttlefishes in trash fish caught by those gears was smaller than size at first maturity while there is no S. pharaonis found in trash fish from all gears.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2552
กรมประมง
ความสูญเสียทางการเงินและผลกระทบต่อการค้าในการทำการประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน การประมงกุ้งทะเลจากเครื่องมืออวนลากคานถ่างและอวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนในและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกกระดองชนิด Sepia aculeata และ S. recurvirostra บริเวณอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรหมึกกระดอง ชนิด Sepia aculeta และ Sepia recurvirosta ในอ่าวไทย การศึกษาการประเมินปริมาณการจับสัตว์น้ำและการลงแรงทำการประมงเครื่องมือทำการประมงอวนลาก โดยใช้ข้อมูลการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง สมุดบันทึกการทำการประมงและองค์ประกอบสัตว์น้ำ สภาวะการประมงอวนลากในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ปี 2556 ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน แหล่งและฤดูทำการประมงของการประมงพาณิชย์บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ทรัพยากรประมงจากเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนใน การประมงหมึกกล้วยในอ่าวไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก