สืบค้นงานวิจัย
ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด
อุวุธ ณ ลำปาง - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด
ชื่อเรื่อง (EN): Directions for Future corn Improvement in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุวุธ ณ ลำปาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Arwooth Na Lampang
คำสำคัญ: ข้าวโพด
บทคัดย่อ: การขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ภายในประเทศ ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับส่งเป็นสินค้าออกในแต่ละปีอาจทำให้ความต้องการข้าวโพดมีปริมาณมากเกินความสามารถในการผลิตในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนี้นเพื่อให้มีข้าวโพดเพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นต้องเร่งรัดทั้งในด้านผลผลิตต่อไร่ และขยายพื้นที่เพาะปลูกให้มากขึ้น การศึกษาจากแปลงทดลอง 13 แห่งทั่วประเทศระบุชัดแจ้งว่าอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อผลผลิตของข้าวโพดเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงได้นำเรื่องประเภทและความอุดมสมบูรณ์ของดิน การปฏิบัติ รักษาและการ ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและฤดูปลูกมาพิจารณาร่วมกับการกระจายของน้ำฝนในแต่ละท้องถิ่น เพื่อหาลู่ทางในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ นอกเหนือจากโครงการปรับปรุงพันธุ์ที่กำลังดำเนินอยู่ ควรเร่งรัดสร้างพันธุ์อายุสั้น (น้อยกว่า 90 วัน) ทนทานต่อความแห้งแล้งและต้านทานโรคราน้ำค้าง เพื่อให้ปลูกได้ปีละสองครั้งและใช้ในระบบการปลูกพืชร่วม นอกจากนี้ยังอาจขยายพื้นที่เพาะปลูกลงไปในนาก่อนการปลูกข้าว และปลูกตามพืชไร่อื่น ๆ ในปลายฤดูฝนได้ สำหรับในระยะยาวนั้นควรมีการสร้างพันธุ์ข้าวโพดเพื่อใช้ปลูกเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น และแต่ละฤดูปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง
บทคัดย่อ (EN): Growing deomestic deman for the growing local animal feed industries combined with meeting the demand of traditional export markets are likely to exceed domestic production of both corn and sorghum in teh near future. To maintain self sufficiency in production there is a nee dto increase both average yields and areas of production. In ongoing breeding programs the synthesis of short duration, drought toterant and mildew resisitant varieties production of corn varieties of less than 90 days maturity time should allow corn to be grown prior to the main lowlan dric ecrop and to follow some field crops in the rainfed uplands. The development of locational and seasonal specific corn varieties should also be a longer term breeding objective.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2533
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2533
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด
กรมวิชาการเกษตร
2533
เอกสารแนบ 1
การประเมินและพัฒนาเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดข้าวเหนียวที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพันธุ์ลูกผสมในพื้นที่สูงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่าจังหวัดพะเยา การพัฒนาข้าวโพดไร่สีม่วง เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่สีม่วงเพื่อผลิตพันธุ์การค้า การพัฒนาวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารเสริมสุขภาพจากข้าวโพดม่วงพันธุ์ CNW 1127280 ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทำข้าวโพดหมัก (Corn silage) การใช้เศษวัสดุเหลือใช้ของข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดหวานเป็นอาหารสัตว์ การพัฒนารูปแบบการปลูกข้าวโพดเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่ลาดชันแบบมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา: บ้านห้วยไผ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเมล็ดพันธุ์ และการปลูกพืชที่หลากหลาย บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาแนวทางการการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและระบบการบริหารจัดการ การตลาดของภาคการเกษตร(ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) ในพื้นที่จังหวัดตาก เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก