สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์ของการพัฒนารากสะสมอาหารของมันสำปะหลังสายพันธุ์ต่างๆ ในธนาคารเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลัง (ปีที่ 2)
ประพิศ วองเทียม - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: การศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์ของการพัฒนารากสะสมอาหารของมันสำปะหลังสายพันธุ์ต่างๆ ในธนาคารเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลัง (ปีที่ 2)
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Phenotyping of cassava root traits and storage root development in cassava germplasm bank (Second year)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประพิศ วองเทียม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ในประเทศไทยโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร มีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังไว้ 2 ชุด ชุดแรก ประมาณ 200 สายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองเก็บรวบรวมไว้แต่ก่อตั้ง อีกชุดในปี พ.ศ. 2544 ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองได้ทำการทำซ้ำเชื้อพันธุกรรมหลักจากศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (CIAT) ประเทศโคลัมเบีย มาเก็บไว้อีกประมาณ 600 สายพันธุ์ โดยทำการขยายพันธุ์ในห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเปลี่ยนอาหารทุกๆ 3-4 เดือน และขยายพันธุ์ลงในแปลง และได้ทำการศึกษาลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในแปลง เช่น สีใบ สียอด สีลำต้น ทรงต้น จำนวนแผ่นใบ รูปทรงของหัว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองยังขาดข้อมูลเชิงลึกของหัว เช่น สรีรวิทยาของหัว ดังนั้น ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองจึงได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบัน Forschungszentrum J&uuml;lich GmbH, IBG-2 (Plant Sciences) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกของระบบรากทั้ง 600 สายพันธุ์ ระบบการศึกษาได้พัฒนาโมเดลโดยสถาบัน Forschungszentrum J&uuml;lich GmbH, IBG-2 (Plant Sciences) เป็นการรวบรวมภาพใน &lsquo;field photobox&rsquo; มีการประมวลผลอัตโนมัติ ระบบการเก็บข้อมูลความหลากหลายของราก และการตรวจคัดแยกความแตกต่างของราก ซึ่งทำการปลูก ดูแลรักษาที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร ซึ่งจะทำในช่วงแรก 20 สายพันธุ์ ที่เหลือจะทำการทดลองต่อเนื่องอีก 3 ปี จนครบ 600 สายพันธุ์</p>
บทคัดย่อ (EN): The cassava germplasm collection in Thailand was developed in two phases. In the first phase, personnel from Rayong Field Crops Research Center (RYFCRC) from the Department of Agriculture (DOA) collected more than 200 accessions (landraces and improved varieties) from Thailand. In 2001 RYFCRC received 600 accessions (core) of the germplasm collection from CIAT, Colombia. RYFCRC collects and conserves its germplasm collection in two ways: in vitro through established tissue culture protocols and grown in the field. In the laboratory, accessions are subcultured every 3-4 months. Materials in the field are evaluated and characterized for many different traits. Some morphological descriptors, such as leaf color, color of apical leaves, number of leaf lobes, color of exterior stem, branching habit, root shape (Wongtiem et al., 2012). However in cassava germplasm bank still lack of knowledge of root system and development of root then Rayong Field Crops Research Center have corroboration with National Science and Development Agency (NSTDA) and Forschungszentrum J&uuml;lich GmbH, IBG-2 (Plant Sciences). To study of root system. Root systems of a cassava diversity panel composed of 600 accessions from the Rayong Field Crops Research Center will be phenotyed using a phenotyping platform/pipeline developed by IBG-2. This pipeline includes &lsquo;shovelomics&rsquo; (Trachsel et al., 2011) image acquisition in a &lsquo;field photobox&rsquo;, automated image processing and annotation, and semi-automated data acquisition. The diversity panel will be screened for differences in storage root initiation and development in stacked experiments reducing the number of accession and workload for each experiment. These genotypes will be screened in years at field sites under supervision of Rayong to generate a robust set of samples. A subset of 20 genotypes contrasting in storage root initiation and development will be studied in greater detail in the second year.</p>
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2563
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์ของการพัฒนารากสะสมอาหารของมันสำปะหลังสายพันธุ์ต่างๆ ในธนาคารเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลัง (ปีที่ 2)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2563
อาหารจากมันสำปะหลัง มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3" สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย การเพิ่มโปรตีนของมันสำปะหลังโดยใช้น้ำกากผงชูรสเพื่อใช้เป็นอาหารโค ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร สภาวะที่เหมาะสมต่อการวัดปริมาณไชยาไนด์อิสระในมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) การศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์ของการพัฒนารากสะสมอาหารของมันสำปะหลังสายพันธุ์ต่างๆ ในธนาคารเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลัง ระบบจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดเก็บมันสำปะหลังและเครื่องมือตัดหัวมันสำปะหลังจากเหง้า

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก