สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาสารต้านอนุมูลอิสระจากสารประกอบฟีนอลิคในธรรมชาติ
ชนกพร เผ่าศิริ, ธนเศรษฐ์ เสนาวงศ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสารต้านอนุมูลอิสระจากสารประกอบฟีนอลิคในธรรมชาติ
ชื่อเรื่อง (EN): Development of antioxidant agents from phenolic compoundsin nature.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การสกัดเหง้าขิงแห้งด้วยสารละลายอินทรีย์และการแยกสารสกัดให้บริสุทธิ์ทำให้ได้สารประกอบฟีนอลิคในปริมาณมากจำนวน 5 สารคือ [6]-gingerol, [6]-shogaol, [6]-gingerdione, 1-dehydro-[6]-gingerdione และ [6]-gingerdiol ส่วนการสกัดและแยกสารจากพริกแห้งให้บริสุทธิ์ทำให้ได้สารประกอบฟีนอลิคหลักคือ capsaicin และ dihydrocapsaicin จากนั้นทำการสังเคราะห์อนุพันธ์ของสารองค์ประกอบหลักได้แก่ [6]-gingerol, [6]-shogaol capsaicin และ dihydrocapsaicin โดยใช้ปฏิกิริยาการเติมด้วยนิวคลีโอไฟล์และการดึงหมู่เมิทิลออก ร้อยละผลได้ของสารที่สังเคราะห์ขึ้นซึ่งประกอบด้วยอนุพันธ์ oxime, methyl-oxime และ catechol อยู่ในระดับปานกลางถึงดี นอกจากนี้ยังได้สังเคราะห์อนุพันธ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาการแทนที่ด้วยอิเล็กโตรไฟล์ที่วงเบนซีนของ dihydrocapsaicin ซึ่งมีร้อยละผลได้ในระดับที่ดี เมื่อทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารที่ได้ด้วยวิธี DPPH พบว่าอนุพันธ์ที่อยู่ในรูปของ catechol มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีขึ้นกว่าสารตั้งต้น ซึ่งผลดังกล่าวยังช่วยยืนยันความสำคัญของหมู่ฟีนอลิคในการต้านอนุมูลอิสระด้วยเช่นกัน
บทคัดย่อ (EN): The dry ginger-root extraction and purification of the isolated compounds provided [6]-gingerol, [6]-shogaol, [6]-gingerdione, 1-dehydro-[6]-gingerdione and [6]-gingerdiol as major phenolic compounds. The same process was applied to dry chili powders to give capsaicin and dihydrocapsaicin as important phenolic compounds. Semi-synthesis method was applied to major compounds including [6]-gingerol, [6]-shogaol, capsaicin and dihydrocapsaicin with nucleophilic addition and de-methylation. All derivatives were gained in moderate to good yields. Moreover, the derivative from electrophilic substitution of the benzene ring belonging to dihydrocapsaicin was also obtained in a good yield. Results from anti-oxidant activities test with DPPH assay indicated that the catechol derivatives provided better activities than that of the starting materials. The obtained information confirmed the vital role of phenolic moiety in anti-oxidant activity as well.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาสารต้านอนุมูลอิสระจากสารประกอบฟีนอลิคในธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
30 กันยายน 2560
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การศึกษาประสิทธิภาพการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน ในจังหวัดกำแพงเพชร แอสต้าแซนธิน : สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกในผลเม่า (Antidesma sp.) ผลของน้ำมะพร้าวและการต้มต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิคในเห็ดแครง สารยับยั้งจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระของรา Xylaria และการจำแนกชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ด การรวบรวมสายพันธุ์เห็ดป่าและศึกษาคุณสมบัติ prebiotic และสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่าของป่าสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาปริมาณสารสำคัญ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสำรับอาหารไทย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซาและการระบุชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดดิ้ง (ปีที่ 2) การศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืช วงศ์กระดังงา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก