สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการเฝ้าระวังศัตรูพืช
พรพิมล อธิปัญญาคม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการเฝ้าระวังศัตรูพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Plant Pest Surveillance
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรพิมล อธิปัญญาคม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พรพิมล อธิปัญญาคม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเฝ้าระวังศัตรูพืชเป็นการติดตามสถานการณ์ของศัตรูพืชกักกันหรือศัตรูพืชที่มีความสำคัญกับการส่งออก เริ่มทำการทดลองตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 – เดือนตุลาคม 2553 มีวัตถุประสงค์การสำรวจ ติดตาม ศัตรูพืชเพื่อได้ข้อมูลถานการณ์การเกิด และการแพร่กระจายของศัตรูพืชเพื่อใช้สนับสนุนการออกประกาศการปลอดศัตรูพืช โดย NPPO.ในการส่งออกสินค้าเกษตร และเพื่อศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของศัตรูพืชซึ่งจัดเป็นศัตรูพืชกักกัน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาศัตรูพืชที่มีอยู่แล้วในประเทศไทยจึงทำการสำรวจ ติดตาม สถานการณ์ของศัตรูพืชพร้อมทั้งศึกษาชีววิทยาของศัตรูพืชนั้น ๆ ได้แก่ รา Phyllosticta citricarpa (Teleomorph: Guignardia citricarpa) สาเหตุโรคจุดดำของส้มโอ แบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli สาเหตุโรคผลเน่าของพืชตระกูลแตง และ ไส้เดือนฝอยRadopholus similis ในไม้น้ำและไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งมีผลการทดลอง ดังนี้ พบการระบาดของรา Phyllosticta citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของส้มโอที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย และไม่พบรา Guignardia citricarpa ซึ่งเป็นระยะสืบพันธุ์แบบใช้เพศของเชื้อ และรา G. citricarpa มีโอกาสเข้าทำลายผลส้มโอตั้งแต่กลีบดอกร่วง และจะแสดงอาการของโรคให้เห็นเมื่อผลส้มโอถึงอายุเก็บเกี่ยวผลผลิต จากการสำรวจติดตามการเกิดโรคผลเน่า จากเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli พบโรคในแปลงผลิตเมลอน ทั้ง 4 ระยะการเจริญเติบโต โดยพบโรคทุกระยะการเจริญเติบโต และพบโรคมากที่สุดในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เชื้อสามารถอยู่รอดได้ทั้งในดินและในเมล็ด จากการสถานการณ์ของ ไส้เดือนฝอย Radopholus similis ในไม้น้ำและไม้ดอกไม้ประดับ ในเขตกรุงเทพมหานคร พบ R. similis ในรากไม้น้ำสูงที่สุดในเดือนมกราคมและมิถุนายน ในเขตจังหวัดนครราชสีมา พบไส้เดือนฝอย R. similis ในรากไม้น้ำสกุล Anubias spp. มากที่สุดในเดือนตุลาคม และธันวาคม ส่วนที่ 2 เป็นการติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชกักกัน ได้แก่ โรคราน้ำค้าง สาเหตุเกิดจาก Sclerospora graminicola และ Sclerophthora macrospore แบคทีเรีย Pantoea stewartii ในข้าวโพด ไวรัส ไวรัส OFV, TRSV และ Potyvirus ในกล้วยไม้ ด้วงงวงมะม่วงเจาะเมล็ด Sternochetus mangiferae ในผลมะม่วง หนอนเจาะผล Cryptophlebia ombrodelta ในลำไย เพลี้ยแป้ง Cataenococcus hispidus Green และ Planococcus lichi Cox ในลำไย วัชพืช Conyza canadensis (L.) Cronq.ในพืชไร่ พืชผักเมืองหนาว และไม้ดอกเมืองหนาว วัชพืช Congress grass (Parthenium hysterophorus L.) วัชพืช Euphorbia dentata Michx. และ Agrostis spp. ในพืชไร่ จากการสำรวจ ติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชนี้อย่างมีแบบแผนและมีระบบเป็นเวลา 3 ปี ผลของการสำรวจ ไม่พบศัตรูเหล่านี้ในประเทศไทย สำหรับการสำรวจ ติดตามสถานการณ์ของจอกหูหนูยักษ์ พบ จอกหูยักษ์ 2 แหล่งใหญ่ คือ แม่น้ำแม่กลอง และแหล่งน้ำต่างๆ ในจังหวัดสงขลา นอกนั้นพบจำหน่าย 1 แห่ง และใช้จอกหูหนูยักษ์ประดับ 4 แห่ง การจัดการเมื่อพบจอกหูหนูยักษ์ในปริมาณไม่มาก เช่น จำหน่ายตามร้านค้า ใช้วิธีอธิบาย ทำความเข้าใจ ขอความร่วมมือในการกำจัด โดยเก็บออก และนำไปทำลาย ส่วนที่พบในปริมาณมาก แจ้งให้หน่วยงานท้องถิ่น
บทคัดย่อ (EN): Surveillance is a monitoring of plant pest in order to determine their distribution and dispersal that has focused on export plants. The objective of this surveillance was to detection, monitoring and delimiting surveys the plant pests include fungi, bacteria, viruses, nematode, insects and weeds, situation and the distribution of pests to support the announcement of pest free by NPPO for agricultural products export. The survey was conducted during October 2007 to September 2010. and also study the biology and ecology of pests. The experiments were divided into two parts. Part 1 is to study the pests are already present in Thailand, The experiments focused on survey, monitoring of pests and studied on biology and ecology of pests that include the black spot disease caused by Phyllosticta citricarpa (Teleomorph: Guignardia citricarpa), curcubitaceae fruit blotch caused by Acidovorax avenae. subsp. citrulli and nematode Radopholus similis in aquatic plant. The results shown that the outbreak of P.citricarpa established on pummel in Wiang Kaen District, Chiang Rai Province. The Guignardia citricarpa: teleomorph state, have not been found on fallen and decomposing leaves. This fungus infect pummelo trees after the pedals fall and the symptoms may appear on mature fruit. The survey, monitoring of A. avenae subsp. Citrulli in melon production fields was found that this pathogen infected the melons in all stages of plant growth especially during harvest. This bacteria can overwinter on seed of some crops and in the soil. For nematode: Radopholus similis, they are found in the roots of aquatic and ornamental plants most in January, June and October, December in Bangkok and Nakhon Ratchasima respectively. Part 2 is to study the quarantine pests are present or not present in Thailand such as downy mildew caused by Sclerospora graminicola and Sclerophthora macrospore, bacteria: Pantoea stewartii in maize, virus: OFV, TRSV and Potyvirus in Orchid, insect: mango seed weevil: Sternochetus mangiferae on mango, mealybug, Cataenococcus hispidis and Planococcus lichi, fruit borer: Cryptophlebia ombrodelta, weed: Conyza canadensi, Congress grass (Parthenium hysterophorus), Euphorbia dentate, Agrostis spp. as well as Giant Salvinia : Salvinia molesta . The detection, monitoring and delimiting surveys have been done with planning and good system for three years. All pest were not detected in Thailand except Giant Salvinia. For exploration. Monitoring of Houhoohnoo was limping giant ear a giant two major sources of the Mae Klong River. And water sources. Songkhla Province. It was sold out of a giant ornamental Houhoohnoo and 4 of the management on giant Houhoohnoo found in such small volume sold at retail. We explain how to understand cooperation in eliminating the stores and out to destroy parts found in large quantities. Notify local authorities.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการเฝ้าระวังศัตรูพืช
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การบริหารศัตรูพืชเพื่อสนับสนุนโครงการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร มุมมองเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืช แมลงศัตรูพืช และศัตรูธรรมชาติ โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์แมลง ไร สัตว์ ศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ โครงการวิจัยการศึกษาความรุนแรงของผลกระทบและการเฝ้าระวังสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษร้ายแรงหรือมีความคงทนในสภาพแวดล้อม พืชอ้างอิงสำหรับประเมินการตรึงไนโตรเจนโดย N Isotope Dilution Technique โครงการวิจัยการกักกันพืช โครงการวิจัยและพัฒนาการใช้พืชสมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช โครงการวิจัยการบูรณการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบพันธุ์พืชเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ให้เข้าสู่มาตรฐานอาเซียน แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช: ทางเลือกใหม่เพื่อช่วยงานวิจัย แบบดั้งเดิม ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก