สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่
อุดมลักษณ์ สมพงษ์, กาญจนา ดำริห์, ภัสสร์พัณณ์ ศรีวิชัย - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency of extracts from selected medicinal plants for controlling of Golden apple anail (Pomacea canaliculata).
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: สมุนไพร
บทคัดย่อ: หอยเชอรี่นับเป็นศัตรูพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งโดยเฉพาะข้าว ซึ่งการกำจัดหอยชนิดนี้ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายคือการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการใช้พืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ฆ่าหอยจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกำจัดหอยเชอรีและส่งเสริมการเกษตรแบบอินทรีย์ การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดอย่างหยาบจากใบยี่โถและรำเพยโดยวิธีการหมักด้วยนํ้าในการกำจัดหอยเชอรี่ โดยทดสอบกับหอยเชอรี่ขนาด 2.5-4 เซนติเมตร พบว่าสารสกัดจากยี่โถ มีประสิทธิภาพในการกำจัดหอยเชอรี่ โดยความเป็นพิษของสารสกัดจากใบยี่โถที่ทำให้หอยเชอรี่ตายร้อยละ 50 (LC50) และร้อยละ 90 (LC90) ที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง เท่ากับความเข้มข้น 396.17 มิลลิกรัม/ลิตร และ 792.04 มิลลิกรัม/ลิตร ในขณะที่ระยะเวลา 48 ชั่วโมง ที่ความเข้มข้น 148.25 มิลลิกรัม/ลิตร และ 470.73 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ จากการศึกษาผลของสารสกัดต่อการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อและเซลล์ของหอยเชอรี่ที่ความเข้มข้นของสารสกัดจากยี่โถ 150 มิลลิกรัม/ลิตร ที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ที่ตับพบว่ามีการ แตกสลายของทั้งผนังเซลล์ และนิวเคลียส เซลล์มีการบวมขยายใหญ่ขึ้น ที่ไต พบเซลล์เยื่อบุผิวของท่อไตถูกทำลายมีการสะสมก้อนแคลเซียมเพิ่มขึ้น และมีการแตกของเซลล์ และที่หัวใจพบมีความเสียหายเกิดขึ้นที่บริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ และจากการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในนํ้า ที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากยี่โถที่ 396.17 มิลลิกรัม/ลิตร พบว่าสารสกัดดังกล่าวทำให้ปลานิลตายทั้งหมดภายในเวลา 1 ชั่วโมง ส่วนพืชนํ้าโดยสาหร่ายหางกระรอก พบสาหร่ายมีการเจริญเติบโตที่เป็นปกติเมื่อทดสอบเป็นระยะ 2 เดือน และพบว่าประสิทธิภาพของสารสกัดของยี่โถความเข้มข้น 1 มิลลิกรัม/ลิตร ลดลงร้อยละ 50 ที่ระยะเวลา 10 วัน และ ลดลงร้อยละ 90 ที่เวลา 16 วัน คำสำคัญ: หอยเชอรี่ ยี่โถ รำเพย
บทคัดย่อ (EN): Golden apple snails (Pomacea canaliculata) are one of important pests especially in rice to control of this snails commonly use chemicals. Somehow these chemical harm to the user, consumer and the environmental. Therefore plant molluscicide is an alternative way to get rid of the snail and also to promote the organic agriculture. An efficiency study of the crude extract of Nerium oleander leaves and Thevetia peruviana leaves by maceration with aqueous as plant molluscicide for Pomacea canaliculata. The study revealed a potential of molluscicide of N. oleander crude extract; concentrated at 24 hours LC50 and LC90 values were 396.17 and 792.04 mg/l, respectively while 48 hours were 148.25 and 470.73 mg/l, respectively. A histological study on P. canaliculata exposed at 150 mg/l concentration of N. oleander for 24 hours illustrated damages on cell wall and nucleus of liver cell combined with a swelling of cell. Cell membranes were damaged and increasing in calcium agglomeration was founded in kidney cell. Results indicated the heart muscle cell sustained damage. A study on a toxicity of N. oleander crude extract at 396.17 mg/l on Oreochromis niloticus; tilapia showed 100% mortality in an hours whilst Hydrilla verticillata showed a normal growth during 2 months of cultivation. At 1 mg/l concentration of crude extract of N. oleander leaves were degraded approximately 50% and 90% at 10 and 16 days, respectively. Key words: Pomacea canaliculata, Nerium oleander, Thevetia peruviana
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2558
การศึกษาสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรไทยที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดพยาธิใบไม้ในตับและพยาธิใบไม้ในกระเพาะในสัตว์เคี้ยวเอื้อง การควบคุมโรคผลเน่าของส้มโดยใช้น้ำส้มควันไม้และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด การพัฒนาผลิตภัณฑ์นาโนที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารสกัดเมล็ดสมุนไพรที่กำลังงอก การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยเพื่อยืดอายุการเก็บของชิ้นส่วนตัดแต่งเนื้อสัตว์ การเพิ่มมูลค่ากากสมุนไพรไทยบางชนิดที่เป็นส่วนเหลือทิ้งจากกระบวนการสกัดโดยใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อสุขภาพ ประสิทธิภาพการใช้สมุนไพรไทย 5 ชนิด ในการกำจัดพยาธิภายในของไก่พื้นเมือง การพัฒนาสารสกัดสมุนไพรเพื่อบำบัดผู้เสพติดสารกระตุ้นประสาท : รายงานแผนงานวิจัย สารสกัดสมุนไพรไทยยับยั้งเชื้อราน้ำสำคัญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลของระดับความเข้มข้นของสมุนไพรไทยในการกำจัดพยาธิภายในของไก่พื้นเมือง ผลของการใช้สารสกัดสมุนไพรกานพลูและสะระแหน่ต่อไรศัตรูผึ้ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก