สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้เทคโนโลยีการกรีดยางและทำยางแผ่นของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดหนองคาย (ยางพารา)
โกวิทย์ อนันตพงศ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้เทคโนโลยีการกรีดยางและทำยางแผ่นของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดหนองคาย (ยางพารา)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โกวิทย์ อนันตพงศ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เทคโนโลยีการกรีดยางและทำยางแผ่นของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดหนองคาย (ยางพารา) มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกร รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เทคโนโลยีการกรีดยางและทำยางแผ่นของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดหนองคาย (ยางพารา) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการกรีดยางและทำยางแผ่น ประชากรศึกษา 161 ราย จัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 115 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 37.46 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.08 คน มีจำนวนแรงงานภาคเกษตรเฉลี่ย 2.56 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร จำนวนครึ่งหนึ่งที่มีรายได้ภาคเกษตร 80,000 บาทต่อปี ส่วนมากใช้เงินทุนของตนเอง ทำการเกษตรในพื้นที่ถือครองที่เป็นของตนเอง พื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ยครอบครัวละ 34.57 ไร่ ปลูกยางพาราเฉลี่ย 19.79 ไร่ เกษตรกรที่เปิดกรีดหน้ายางแล้วกรีดยางในพื้นที่เฉลี่ยครอบครัวละ 11.07 ไร่ เกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรมใช้เทคโนโลยีในการกรีดยางเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ทิศทางการกรีด ไม่กรีดยางขณะต้นยางเปียก ลับมีดทุกวัน กรีดไม่เกิน 20 วันต่อเดือน หน้ากรีดอยู่ด้านนอกแถวยางอุปกรณ์อยู่ในแถว เปิดกรีดเมื่อต้นยางได้ขนาด ระดับความสูงที่เปิดกรีด มุมกรีด เริ่มกรีดเมื่อใบยางใหม่แก่เต็มที่ เปิดกรีดครั้งแรกหลังจากหมดฤดูฝน ใช้ไม้แบบวัดขนาดของต้น ความลึกของรอยกรีด กรีดไม่บาดเนื้อไม้ หยุดพักกรีดเมื่อต้นยางผลัดใบ ความสิ้นเปลืองเปลือก ไม่ใช้เทคโนโลยีการกรีดยางเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน การคว่ำถ้วยน้ำยางทุกครั้งหลังเก็บ ระยะห่างการติดถ้วยลิ้น การเพิ่มวันกรีดและกรีดยางช่วงเวลาระหว่าง 03.00 - 06.00 น. เกษตรกรใช้เทคโนโลยีในการทำยางแผ่นดิบครบทุกประเด็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การใช้กรดฟอร์มิค การล้างแผ่นยาง การล้างอุปกรณ์ทุกครั้ง การเก็บรวบรวมยางแผ่น การกรองน้ำยาง การเจือจางกรด ผสมน้ำยางกับน้ำสะอาด ขนาดและความหนาของแผ่นยาง น้ำหนักแผ่นยางต่อแผ่น การผึ่งยางให้แห้ง การปิดตะกงเพื่อป้องกันฝุ่น และเตรียมกรดให้พอใช้ในแต่ละครั้งเท่านั้น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เทคโนโลยีการกรีดยางและทำยางแผ่น ได้แก่ การเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร จำนวนพื้นที่กรีดยาง อายุ อาชีพหลัก ระดับรายได้ภาคการเกษตรและจำนวนแรงงานภาคเกษตร ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ กับการใช้เทคโนโลยี ได้แก่ เพศ การศึกษา จำนวนพื้นที่ปลูกยางและจำนวนสมาชิกในครอบครัว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้เทคโนโลยีการกรีดยางและทำยางแผ่นของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดหนองคาย (ยางพารา)
กรมส่งเสริมการเกษตร
2549
การประเมินผลโครงการฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรการกรีดยางและทำยางแผ่น การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตยางของเกษตรกรชาวสวนยางผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการกรีดยาง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ ความต้องการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรที่ปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดหนองคาย การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยของเกษตรกร อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ สำรวจสภาพของปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยยางพาราของเกษตรกรในสวนยางพ้นสงเคราะห์ การใช้เทคโนโลยีในสวนยางพาราที่เปิดกรีดแล้วของเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก