สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีการทำลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2545
วรรณิการ์ หุ่นภู่ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีการทำลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2545
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรรณิการ์ หุ่นภู่
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเทคโนโลยีการทำลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการทำลำไยอบแห้งทั้งเปลือกตลอดจนศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการทำลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำพูน จำนวน 9 กลุ่ม 148 ราย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าต่ำสุดและค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ดอในการอบแห้ง มีเพียงบางส่วนใช้พันธุ์แห้ว โดยเฉพาะพันธุ์แห้วจะมีการนำมาอบแห้ง ช่วงหลังจากที่พันธุ์ดอใกล้หมดหรือหมดแล้ว สมาชิก กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรใช้เตาอบแบบกระบะบรรจุลำไยผลสด จำนวน 2,000 กิโลกรัม แบ่งการบรรจุลำไยผลสดออกเป็น 3 ชั้น มีตาข่ายรองรับในแต่ละชั้นอุณหภูมิในการอบ 2 ระดับ ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่ใช้อุณหภูมิที่ระดับ 60-80 องศาเซลเซียสในระยะเวลา 48 ชั่วโมง มีการพลิกกลับ 2 ครั้ง เพื่อให้แห้งสม่ำเสมอมีการคัดเกรดโดยการใช้เครื่องร่อนก่อนการจำหน่าย แบ่งเกรดออกเป็น 4 ขนาด คือ AA, A, B และ C ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการอบแห้งลำไย มีการลงทุนในการอบแห้งต่อเตาต่อครั้งเฉลี่ย 37,827 บาท สามารถจำหน่ายลำไยอบแห้งต่อเตาต่อครั้งเฉลี่ย 41,640 บาท จะมี ผลกำไรจากการจำหน่ายลำไยอบแห้งต่อเตาเฉลี่ย 3,813 บาท และเฉลี่ยมีการอบแห้ง 13 ครั้งต่อปีต่อเตาจึงสามารถมีกำไรต่อปีต่อเตาเฉลี่ย 49,569 บาท การศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการอบแห้งลำไยพบว่า ปัญหาสำคัญ คือ ขาดเงินทุน หมุนเวียนในการดำเนินการอบแห้งลำไย พ่อค้าเป็นผู้กำหนดราคาตามคุณภาพและเกรด จึงทำให้ ผู้ผลิตเสียเปรียบ ส่วนข้อเสนอแนะในการวิจัย สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรควรให้ความสำคัญของการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับพ่อค้าและขอรับการสนับสนุนด้านความรู้ ปัจจัยการผลิตที่จำเป็น ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนและการตลาด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดลำพูน
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีการทำลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2545
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ของแม่บ้านเกษตรกร อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองแวงห้วยทราย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ความต้องการของแม่บ้านเกษตรกรในการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดตราด การดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกุดรัง กิ่งอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม บทบาทของสื่อและปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดนครปฐม ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในงานส่งเสริมการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ การศึกษาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองทรงเครื่อง กรณีศึกษา :ถั่วเหลืองทรงเครื่องกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกิ่วมื่น ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก