สืบค้นงานวิจัย
ความปลอดภัยและประโยชน์ต่อสุขภาพของน้ำลูกยอ
วิยดา กวานเหียน, ณัฏยา คนซื่อ, สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง - มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ชื่อเรื่อง: ความปลอดภัยและประโยชน์ต่อสุขภาพของน้ำลูกยอ
ชื่อเรื่อง (EN): Safety and health benefit of noni juice
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ต้องการเปรียบเทียบประโยชน์ของน้าลูกยอชนิดต่างๆ ได้แก่ น้าลูกยอสด (FJ), น้าลูกยอหมักด้วยเชื้อตามธรรมชาติ (FN 12) และเชื้อบริสุทธิ์ (FP 12) เป็นระยะเวลา 12 เดือน, น้าลูกยอหมักด้วยเชื้อธรรมชาติ (FNS 6) และเชื้อบริสุทธิ์ (FPS 6) เป็นระยะเวลา 6 เดือน (แบบเติมน้าตาล), และน้าลูกยอหมักด้วยเชื้อธรรมชาติ (FPNS 6) และเชื้อบริสุทธิ์ (FNNS 6) เป็นระยะเวลา 6 เดือน (แบบไม่มีการเติมน้าตาล) โดยศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระใน Vero cell ได้แก่ ปริมาณสารกลูตาไธโอนและการต้าน lipid oxidation การกระตุ้นการทางานของระบบภูมิคุ้มกันในเซลล์ม้ามและในหนู ได้แก่ Tumor Necrosis Factor-? (TNF- ?), Interferon- ? (IFN- ?) และ Interleukin-2 (IL-2) และผลการบริโภคเป็นระยะเวลานานต่อความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและค่าทางชีวเคมีที่บ่งชี้การทางานของตับและไตในหนูทดลอง ผลการทดลองพบว่า น้าลูกยอทุกชนิดทาให้ความเข้มข้นของกลูตาไธโอนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในเซลล์สูงขึ้น โดยค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นน้าลูกยอสูงขึ้น และตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ได้แก่ FN12, FP 12, FPS6 และ FNS6 โดยสามารถกระตุ้นให้เซลล์สร้าง กลูตาไธโอนเพิ่มขึ้นที่ความเข้มข้น 30 ?L/mL ขณะเดียวกันน้าลูกยอทุกชนิดสามารถยับยั้งการเกิด lipid oxidation ใน Vero cell ได้ และน้าลูกยอที่ทาให้กลูตาไธโอนเพิ่มขึ้นสูง ก็มีประสิทธิภาพในการยับยั้งออกซิเดชันได้สูงด้วยเช่นกัน โดยความเข้มข้นที่ทาให้ lipid oxidation ลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ได้แก่ 20 ?L/mL เมื่อเลี้ยงเซลล์ม้ามหนูในอาหารที่มีน้าลูกยอความเข้มข้น 0-2.5 ?L/mL พบว่าน้าลูกยอชนิดหมักกระตุ้นการสร้างไซโตไคน์ TNF- ? และ IFN- ? อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่มีผลในการสร้างไซโตไคน์ IL-2 และน้าลูกยอชนิด FPS6 ที่ความเข้มข้น 2.5 ?L/mL มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ขณะที่น้าลูกยอสดมีผลเพียงเล็กน้อย เมื่อนา FPS6 มาทดสอบในสัตว์ทดลอง ที่ปริมาตร 5 mL/กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 28 วัน และนาเซลล์ม้ามมาตรวจสอบปริมาณไซโตไคน์ในสภาวะที่มีการกระตุ้น ผลการทดลองเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับในเซลล์ เมื่อหนูได้รับน้าลูกยอที่ปริมาตร 0.5 หรือ 5 mL/กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 30 วัน พบว่า เลือดของหนูกลุ่มต่างๆ มีความสมบูรณ์และไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมมากนัก โดยค่าต่างๆของเลือดอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ของหนูสุขภาพปกติ จึงอาจกล่าวได้ว่าน้าลูกยอไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ส่วนค่าทางชีวเคมีที่จะบ่งบอกการทางานของระบบต่างๆของร่างกาย พบว่าน้าลูกยอทุกชนิดไม่มีผลต่อค่าทางชีวเคมี และเมื่อวัดกิจกรรมการทางานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดสารเมตาบอไลต์ที่ไวต่อปฏิกิริยาและก่อกลายพันธุ์ในตับ พบว่าน้าลูกยอทุกชนิดสามารถลดกิจกรรมของ CYP1A1 และ CYP1A2 ได้
บทคัดย่อ (EN): The aim of this study was to compare quality of fresh noni juice (FJ), 1 year fermented by pure or natural microbe with sugar supplementation (FP 12 and FN 12), 6 months fermented by pure or natural microbe with sugar supplementation (FPS 6 and FNS 6), and 6 months fermented by pure or natural microbe without sugar supplementation (FPNS 6 and FNNS 6). Antioxidant ability determined by glutathione level and lipid oxidation in Vero cell, immunimodulation effects in spleenocyte and mice (Tumor Necrosis Factor-? (TNF- ?), Interferon- ? (IFN- ?) and Interleukin-2 (IL-2)) as well as complete blood count and serum chemistry measurement indicating liver and kidney toxicity in Wistar albino rats were determined. When Vero cells were employed to determine the effect of noni samples on glutathione content, it was found that all noni samples induced glutathione level at different potential. Fermentation in the presence of sugar had stronger effect than fresh and non-sugar frementation formula where induction of glutathione was observed at concentration of 30 ?L/mL for FP12, FN12, FPS6 and FNS6 compared to 100-200 ?L/mL for FJ, FPNS6 and FNNS6. Moreover, all types of nooni juice could inhibit lipid oxidation in Vero cells but those that effectively induced glutathione offered inhibitory effects at very low dose (20 ?L/mL). Among these samples, FPS6 at concentration of 2.5 ?L/mL showed the most promising effects to induce immune response by induction of TNF- ? and IFN- ? whereas IL-2 was unaffected. Similaly, mice orally administered with FPS6 at the dose of 5 ml/kg BW/day for 28 days also showed significant (p < 0.05) enhancement of TNF- ? and IFN- ?. It is imporatant to note that FJ had only little effect on cytoking induction. Administration of noni samples to Wistar rats at the doses of 0.5 and 5 mL/kg BW/day for 30 days had little effects on serum chemistry parameters. The values of serum parameters were in the same range with healthy rats. This result indicates that consumption of noni juices even at high dose for long period has no adverse effect on liver and kidney functions. Deteremination of hepatic enzyme activity, CYP1A1 and CYP1A2, showed that all noni samples inhibited both enzymes which responsible for catalizing reactive metabolites of xenobiotics, hence mutagenicity reduced. In 5 conclusion, it can be said that fermentation with sugar supplementation gave rise to superior noni juice quality compared to fresh juice where type of fermentation microorganism and fermentation time did not show significant influence.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความปลอดภัยและประโยชน์ต่อสุขภาพของน้ำลูกยอ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
30 กันยายน 2558
กินเจอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ ใครว่าผักไทยไม่ปลอดภัย นํ้ามันมะกอกกับสุขภาพ บุก พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เคล็ดลับสุขภาพสำหรับคุณผู้หญิง เปปไทด์กับสุขภาพ การทวนสอบเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาลลำไยและคุณสมบัติเชิงคุณภาพ สุขภาพ และศักยภาพเชิงพาณิชย์ การทวนสอบเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาลลำไยและคุณสมบัติเชิงคุณภาพ สุขภาพ และศักยภาพเชิงพาณิชย์ งา ธัญพืชเพื่อสุขภาพ น้ำส้มสายชูหมักกับประโยชน์ต่อสุขภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก