สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาประสิทธิภาพและอัตราที่เหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตหอมแดง ในกลุ่มชุดดิน 15
สุชาติ ภู่เกิด - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ศึกษาประสิทธิภาพและอัตราที่เหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตหอมแดง ในกลุ่มชุดดิน 15
ชื่อเรื่อง (EN): Study of ratio properly of hight quality in organic Fertilizer combine chemical for increase yield of shallot yield in soil group No. 15.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชาติ ภู่เกิด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วันเพ็ญ หลวงกว้าง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาอัตราที่เหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตหอมแดงในกลุ่มชุดดินที่ 15 ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนตุลาคม 2554 ศึกษาในพื้นที่ บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์อัตราที่เหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการเพิ่มผลผลิต ศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของหอมแดง โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCE) มีตำรับการทดลองทั้งหมด 4 ตำรับ 5 ซ้ำ ดังนี้ ตำรับที่ 1 ใส่ปุ๋ยตามวิธีแบบเกษตรกร (Control) ตำรับที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ตำรับที่ 3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงตามค่าวิเคราะห์ดิน ตำรับที่ 4 ? ปุ๋ยเคมี ร่วมกับ ? ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ผลการทดลองพบว่า ตำรับที่ 2 การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินตอบสนองต่อผลผลิตของหอมแดง และมีผลผลิตและให้ความสูงเพิ่มขึ้น โดยให้ผลผลิตในปีแรก 1,830.21 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูง 22.31 เซนติเมตรในปีแรก และ 2,103.30 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูง 27.4 เซนติเมตรในปีที่ 2 รองลงมาได้แก่ ตำรับที่ 3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตและความสูงของหอมแดง 1,582.69 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูง 19.6 เซนติเมตร ในปีแรก และ 1,941.49 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูง 26.7 เซนติเมตร ในปีที่ 2 ส่วนตำรับที่ 4 ? ปุ๋ยเคมี ร่วมกับ ? ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ให้ผลผลิตและความสูงของหอมแดง 1640.27 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูง 21.2 เซนติเมตร ในปีแรก และ 1,783.90กิโลกรัมต่อไร่ ความสูง 21.4 เซนติเมตร ในปีที่ 2 ส่วนตำรับที่ 1 แปลงควบคุมตอบสนองต่อความสูง และผลผลิตต่ำสุดและมีความแตกต่างกับตำรับอื่นๆ คือ ให้ผลผลิตและความสูงของหอมแดง 1244.18 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูง 17.0 เซนติเมตร ในปีแรก และ 1,267.34 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูง 18.3 เซนติเมตร ในปีที่ 2 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่า ตำรับที่ 2 การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด สูงสุด 20,416.39 บาทต่อไร่ ในปีที่ 1 และ 24,472.74 ในปีที่ 2และมีต้นทุนการผลิตต่อไร่สูงสุดทั้ง 2 ปี คือ 7,036.76 และ 7,076.76 บาทต่อไร่ รองลงมา ได้แก่ ตำรับที่ 3 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 17,388.25 บาทต่อไร่ ในปีที่ 1 และ 22,730.25 มีต้นทุนการผลิตต่อไร่ ทั้ง 2 ปี เท่ากับ 6352.10 และ6392.10 บาทต่อไร่ ตำรับที่ 4 ? ปุ๋ยเคมีร่วมกับ ? ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 18,856.97 และ 20971.42 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนตำรับที่ 1 แปลงควบคุม(Control) ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ต่ำสุด15821.94. และ 15469.94 บาทต่อไร่ และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดคือ 2,840.76 และ 3,540.76 บาทต่อไร่
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาประสิทธิภาพและอัตราที่เหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตหอมแดง ในกลุ่มชุดดิน 15
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2554
ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตลองกอง การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 3 ( การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 2 ( การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น1 (S การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่ไม่มีความเหมาะสม (N) การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น2 (S การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสหอมแดง การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกร ในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ดินเหมาะสมต่อการปลูกข้าวโพด ชั้นความเหมาะสม ผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของแก่นตะวัน การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก