สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาระบบการถ่ายยีนที่ปราศจากยีนเครื่องหมายเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีโปรตีนคุณภาพสูง
ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบการถ่ายยีนที่ปราศจากยีนเครื่องหมายเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีโปรตีนคุณภาพสูง
ชื่อเรื่อง (EN): Development of marker-free transformation system for the inprovenent of rice with increased protein quality
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chotipa Ladulsingharoj
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดยีน mrjp2 และถ่ายชุดยีนที่ได้โดยใช้ระบบปราศจากยีนเครื่องหมาย ชนิด MATVS (Multi-Auto-Transformation Vector System) เพื่อสร้างข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่ปราศจากยีนเครื่องหมายให้มีปริมาณโปรตีนในเมล็ดเพิ่มมากขึ้น โดยได้สร้างพลาสมิด pSK1 ขนาดประมาณ 19,600 คู่เบส ซึ่งมีชุดยีน mrjp2 ทำงานภายใต้การควบคุมของ 35S dual promoter, TEV Leader และ 35S terminator (35SdualP :: TEV :: mrjp2 :: 35ST) แทรกอยู่บริเวณตำแหน่งจดจำของเอนไซม์ตัดจำเพาะ Smal ของพลาสมิด pMAT21 สำหรับใช้ถ่ายยีนโปรตีนนมผึ้งเข้าสู่ข้าว จากการศึกษาการถ่ายยีนเข้าสู่ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 และข้าวญี่ปุ่นพันธุ์ Kitaake ด้วยเชื้ออะโกรแบคทีเรียมสายพันธุ์ EHA105 ที่มีพลาสมิด pSK1 ซึ่งมียีน gus เป็นยีนรายงานผล มียีน ipt เป็นยีนเครื่องหมาย และมียีน mrjp2 เป็นยีนที่สนใจ การถ่ายยีนเข้าสู่ยอดอ่อนของข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 พบว่า มีการแสดงออกของยีน gus ได้เป็น 59.37% แสดงว่าสามารถถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์ของยอดอ่อนได้ การศึกษาการถ่ายยีนในข้าวญี่ปุ่นพันธุ์ Kitaake ด้วยระบบที่ปราศจากยีนเครื่องหมาย หลังจากการถ่ายยีนได้ตรวจสอบประสิทธิภาพการถ่ายยีนโดยตรวจสอบการแสดงออกของยีน gus ภายหลังการเพาะเลี้ยงร่วมระหว่างแคลลัสกับอะโกรแบคทีเรียม สายพันธุ์ EHA105 ที่มีพลาสมิด pSKl พบว่า แคลลัสมีการแสดงออกของยีน gus คิดเป็น 10.29 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าสามารถถ่ายยีนเข้าสู่แคลลัสของข้าว และแคลลัสมีการพัฒนาเป็นต้นได้จำนวน 146 ต้น เมื่อนำต้นข้าวจำนวน 70 ต้น มาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ พบว่า มียีน mrjp2 แทรกอยู่ในจีโนมข้าวจำนวน 7 ต้น คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ และได้นำต้นข้าวดัดแปลงพันธุกรรม 4 ต้น มาวิเคราะห์ยีนเครื่องหมาย ipt พบว่า เป็นต้นข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่ปราศจากยีนเครื่องหมาย ipt จำนวน 2 ต้น คิดเป็น 2.86 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำต้นข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่มียีน mrjp2 และปราศจากยีนเครื่องหมาย ipt มาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค RT-PCR โดยใช้ไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อยีน mrjp2 พบว่า มีการแสดงออกของ mrjp2 mRNA ในใบอ่อนของข้าว นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Western blot พบว่าเมล็ดแก่ของข้าวดัดแปลงพันธุกรรมอาจมีการแสดงออกของโปรตีน MRJP2 แต่มีปริมาณน้อยและอาจสลายในเมล็ดข้าว เนื่องจากการใช้แอนติบอดี Anti-His ทำให้มีความจำเพาะและความไวต่อการตรวจสอบโปรตีน MRJP2 ต่ำ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าสามารถสร้างข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่ปราศจากยีนเครื่องหมายซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคตโดยลดความกังวลในการใช้ยีนต้านสารปฏิชีวนะหรือยีนต้านสารกำจัดวัชพืชได้
บทคัดย่อ (EN): The aim of this study was to transform a major royal jelly protein gene (mrjp2) into rice using MATVS (Multi-Auto-Transformation Vector System) for increased seed protein in transgenic rice. The plasmid using for plant transformation, pSK1 (19,600 bp), was constructed. The mrjp2 gene cassette driven by 35S CaMV dual enhancer promoter was inserted into Smal recognition site of a binary vector, pMAT21. Agrobacterium-mediated transformation of indica rice cv. RD6 and japonica rice cv. Kitaake with MATVS (Multi-Auto-Transformation Vector System) was studied using plasmid pSK1 harboring gus as a reporter gene, ipt as a selectable marker and mrjp2 as a gene of interest. GUS activity was detected 59.37 % on transformed shoot apexes of RD6. The results showed that transformation of shoot apexes of rice cv. RD 6 was successful. Transformation efficiency of japonica rice with Agrobacterium strain EHA105 containing pSK1 was determined by GUS assay. The result showed GUS expression of 10.29 % on transformed calli. One hundred and forty six transformed rice plants were regenerated from the calli. PCR analysis of 70 selected transformed plants revealed that 7 transgenic rice plants (10%) contained mrjp2 gene integrated into their genome. Two of these plants (2.86%) had no ipt marker gene detected by PCR. In this study, the marker-free transgenic rice plants containing mrjp2 gene without ipt gene were produced. Marker-free transgenic rice plants containing mrjp2 gene without ipt gene were analyzed by RT-PCR using primers specific to mrjp2 gene. The results showed expression of mrjp2 mRNA in transgenic young leaves. In addition, it was found that little amount of MRJP2 protein and/or degraded MRJP2 protein were detected in mature rice seeds analyzed by Western blot. This result might be due to low specificity and sensitivity of Anti-His antibody to MRJP2 protein. Overall, the results in this study indicated that marker-free transgenic rice plants were generated and this marker-free transformation system will be beneficial for genetic improvement of rice varieties and reduce public concerns on the uses of antibiotic-resistant and herbicide resistant genes.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-51-012
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/208837
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาระบบการถ่ายยีนที่ปราศจากยีนเครื่องหมายเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีโปรตีนคุณภาพสูง
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การพัฒนาระบบการถ่ายยีนในสบู่ดำ ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อการเปลี่ยนแปลงความหนืด ของข้าวพันธุ์ต่างๆ ศึกษาการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกันของปทุมมาที่ปลูกภายใต้วันสั้นและวันยาวโดยการวิเคราะห์ลำดับเบสของ RNA การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมกระดังงาไม่ไวแสง ชั่วที่1 โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลระบุตำแหน่งยีนในการคัดเลือก ผลของระดับฟอสฟอรัสต่อการพัฒนาระบบรากข้าว ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก การศึกษาการทำงานร่วมกันของยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินสองชนิดในข้าวเพื่อการสร้างแอนโทไซยานินและการใช้เป็นยีนเครื่องหมายในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมกระดังงาไม่ไวแสง ด้วยวิธีการผสมกลับ โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลระบุตำแหน่งยีนในการคัดเลือก ผลของอุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก