สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพพิเศษโดยวิธีการจัดการธาตุอาหารเพื่อการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งการชะลอการสูญเสียสารคุณภาพพิเศษระหว่างการเก็บรักษา
รองศาสตราจารย์ศันสนีย์ จำจด - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพพิเศษโดยวิธีการจัดการธาตุอาหารเพื่อการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งการชะลอการสูญเสียสารคุณภาพพิเศษระหว่างการเก็บรักษา
ชื่อเรื่อง (EN): ํYield improvement in special grain quality rice by nutrient managements for farming and breeding including slowing down of special quality losing during storage
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์ศันสนีย์ จำจด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: ข้าวท้องถิ่น ข้าวพื้นเมือง ข้าวคุณภาพพิเศษ
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: "สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพพิเศษโดยวิธีการจัดการธาตุอาหารเพื่อการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งการชะลอการสูญเสียสารคุณภาพพิเศษระหว่างการเก็บรักษา” แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รศ.ดร.ศันสนีย์ จำจด เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินวิธีการจัดการในการปลูกข้าวเพื่อเพิ่มคุณภาพพิเศษในสายพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูง เพื่อขยายพันธุ์สายพันธุ์บริสุทธิ์ของข้าวพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูง เพื่อปรับปรุงพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูงให้ไม่ไวต่อช่วงแสงและมีลักษณะต่างๆ ตรงตามความต้องการของเกษตรกรและผู้บริโภค และประเมินวิธีการในการเก็บรักษาเมล็ดข้าวคุณภาพพิเศษ ไว้ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ จากการศึกษาวิจัยพบว่า การทดลองเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การหาวิธีการจัดการในการปลูกข้าวเพื่อเพิ่มคุณภาพพิเศษในสายพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูง ประกอบด้วย 3 งานทดลองหลัก ได้แก่ การทดลองที่ 1 การเพิ่มปริมาณแอนโทไซยานินสารต้านอนุมูลอิสระ และฟีนอลในสายพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูง ในแปลงเกษตรกรที่สูง ใช้สายพันธุ์ที่คัดเลือก 3 สายพันธุ์ และใช้พันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน 2 พันธุ์ ทดลองในแปลงเกษตรกรบนพื้นที่สูง 2 แห่ง และพื้นที่ลุ่ม 1 แห่ง พบว่า พันธุ์คัดเลือกคุณภาพพิเศษทั้งสามพันธุ์มีอายุออกดอกเร็วกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ เมื่อปลูกนาที่สูงทุกพันธุ์มีอายุออกดอกช้าลงสองถึงสามอาทิตย์ ในลักษณะผลผลิต พบอิทธิพลของไนโตรเจน พันธุ์ แต่ไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างพันธ์กับไนโตรเจนในทุกแปลง การใส่ไนโตรเจนเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยทุกพันธุ์แต่เมื่อปลูกในนาที่สูงทุกพันธุ์มีผลผลิตเฉลี่ยลดลง ในลักษณะคุณภาพพิเศษแอนโทไซยานินและสารต้านอนุมูลอิสระ การปลูกในที่สูงให้ค่าสารคุณภาพพิเศษสูงกว่าปลูกในที่ลุ่ม 2-4 เท่า พันธุ์คัดเลือกแอนโทไซยานินสูงปิอิ๊ซู และพันธุ์คัดเลือกสารต้านอนุมูลอิสระสูง ก่าอาข่าปลูกที่บ้านทุ่งหลวง และใส่ไนโตรเจนมีปริมาณสารคุณภาพพิเศษที่คัดเลือกสูงสุด สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 2-12 เท่า สำหรับปริมาณสารฟีนอล พันธุ์คัดเลือกฟีนอลสูงข้าวแสงมีปริมาณสารฟีนอลสูงสุดในทุกแปลงปลูก การปลูกในนาบ้านทุ่งหลวงมีค่าเฉลี่ยสูงสุดและปลูกในนาที่ลุ่มมีค่าต่ำที่สุด การทดลองที่ 2 การศึกษาปริมาณแกมม่าออไรซานอล วิตามินอีและธาตุเหล็กในสายพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูงในนาที่ลุ่ม ใช้สายพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูงแต่ละชนิดรวม 3 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน 2 พันธุ์ ปลูกนาสวน 2 แปลง ได้แก่ แปลงทดลองคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแปลงเกษตรกร อ.หางดง จ.เชียงใหม่ พบว่า อิทธิพลระหว่างพันธุ์ทุกลักษณะ ระหว่างพื้นที่เฉพาะผลผลิต พันธุ์คัดเลือกคุณภาพพิเศษทั้งสามพันธุ์มีอายุออกดอกเร็วกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ เมื่อปลูกที่แปลงทดลองมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกพันธุ์มีผลผลิตสูงกว่าปลูกที่แปลงเกษตรกร ข้าวคุณภาพพิเศษธาตุเหล็กสูงพันธุ์ก่ำหอม มช. และสายพันธุ์คัดเลือกวิตามินอีสูง บือบ้าง 3 มีค่าคุณภาพพิเศษที่คัดเลือกสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบทั้ง 2 แปลงแต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างพันธุ์ในลักษณะปริมาณสารแกมม่าออไรซานอล การทดลองที่ 3 การเพิ่มปริมาณธาตุสังกะสีในสายพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูงในนาที่ลุ่ม ทดลองที่แปลงทดลองมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปลูกแบบข้าวนามีการจัดการปุ๋ยไนโตรเจน 2 ระดับ ได้แก่ ไม่ใส่ (N0) ใส่ในอัตรา 10 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ (N10) และ 20 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ (N20) และการจัดการธาตุสังกะสี 2 ระดับ ได้แก่ ไม่พ่น (Zn0) และพ่น ZnSO4.7H2O 0.5% (Zn+) 2 ครั้ง สายพันธุ์ข้าว 2 พันธุ์ พบว่า พันธุ์คัดเลือกสังกะสีสูงบือบ้าง 4 การพ่นธาตุสังกะสีทาให้พันธุ์บือบ้าง 4 มีปริมาณธาตุสังกะสีมากกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 การพ่นธาตุสังกะสีทำให้ปริมาณสังกะสีในเมล็ดเพิ่มขึ้น ส่วนที่ 2 เป็นการปลูกขยายพันธุ์สายพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูง 7 สายพันธุ์ขยายพันธุ์ เพื่อเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกทดสอบขยายผล และการทดสอบในปีที่ 2 พบความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ในลักษณะทางสัณฐาน ทางพืชไร่ และลายพิมพ์ดีเอ็นเอ สายพันธุ์คัดเลือกส่วนใหญ่ออกดอกเร็วในช่วง 82-88 วัน ยกเว้น ปิอิ๊ซู 1 กับโดยบือบ้าง 3 ออกดอกช้ากว่า อยู่ในช่วง 95-96 วัน สายพันธุ์คัดเลือกมีต้นเตี้ยกว่าพันธุ์มาตรฐาน ให้ผลผลิตระหว่าง 304-544 กิโลกรัมต่อไร่ โดยบือบ้าง 3 ให้ผลผลิตสูงที่สุด และปิอิ๊ซู 1 ให้ผลผลิตต่ำสุด สายพันธุ์คัดเลือกสำหรับคุณภาพพิเศษแต่ละชนิด มีค่าสารคุณภาพพิเศษสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบทุกตัว ยกเว้นค่าแกมม่าออไรซานอลของสายพันธุ์คัดเลือกหย่ามือแชเบี่ย มีค่าในช่วงของพันธุ์เปรียบเทียบ เมื่อวิเคราะห์ดีเอ็นเอ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล SSR รวม 53 ตัว พบความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างสายพันธุ์คัดเลือก และระหว่างสายพันธุ์คัดเลือกกับสายพันธุ์พ่อแม่ สามารถใช้เพื่อจำแนกสายพันธุ์ออกจากกันได้ชัดเจน และใช้คัดเลือกลูกผสมได้ โดยพบความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างสายพันธุ์คัดเลือกทั้ง 7 พันธุ์กับพันธุ์ปทุมธานี 1 และสายพันธุ์ KDK-10-1 ส่วนที่ 3 เป็นงานปรับปรุงพันธุ์สายพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูงให้มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง ในฤดูนาปี ได้สร้างลูกผสมระหว่างสายพันธุ์คัดคุณภาพพิเศษสูง 7 สายพันธุ์กับพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงปทุมธานี 1 และสายพันธุ์ก้าวหน้าข้าวก่ำเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง KDK10-1 ได้ทั้งหมด 14 คู่ผสม ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้ คือ นักวิจัย นักวิชาการ และนักปรับปรุงพันธุ์สามารถนำองค์ความรู้และฐานข้อมูลพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เก็บรวมรวมมาไปใช้ในการศึกษาและวิจัยในเชิงลึก เช่น การตอบสนองทางสรีรวิทยาของข้าวพันธุ์ต่างๆ ต่อภาวะสภาพแวดล้อม และการจัดการที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การสร้างผลผลิตของข้าว ปริมาณสารคุณภาพพิเศษแต่ละชนิด และการปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งวิธีการจัดการธาตุอาหารและคัดเลือกพื้นที่เพื่อเพิ่มสารคุณภาพพิเศษ เป็นต้น"
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-07-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-07-04
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2559
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพพิเศษโดยวิธีการจัดการธาตุอาหารเพื่อการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งการชะลอการสูญเสียสารคุณภาพพิเศษระหว่างการเก็บรักษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4 กรกฎาคม 2561
การเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพพิเศษโดยวิธีการจัดการธาตุอาหารเพื่อการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งการชะลอการสูญเสียสารคุณภาพพิเศษระหว่างการเก็บรักษา (ปีที่ 2) คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร วิถีชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์… เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ศึกษาการจัดการธาตุอาหารของยางพารา การศึกษาธาตุอาหารพืช สำหรับพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ 2. สถานะธาตุอาหารพืช ที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าซิกแนลเลื้อยในชุดดินบ้านทอน การศึกษาธาตุอาหารในพืช สำหรับพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ 1. สถานะธาตุอาหารพืช ที่มีผลต่อผลผลิต และความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าชันอากาดในชุดดินบ้านทอน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก