สืบค้นงานวิจัย
การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินในการปลูกสับปะรด
ศรีวิไล (พัชราภรณ์) บัวเปรม - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินในการปลูกสับปะรด
ชื่อเรื่อง (EN): Soil Fertility Management in Pineapple
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรีวิไล (พัชราภรณ์) บัวเปรม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินในการปลูกสับปะรด ในพื้นที่ตำบลหนอง กะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ระหว่างเดือนมมายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สับปะรดที่ศึกษาเป็นสับปะรดโรงงานพันธุ์ปัตตาเวีย วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)ทำกรทคลอง 4 ซ้ำ เปรียบเทียบผลการจัดการ 6 สิ่งทดลอง ได้แก่การใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ, การใช้ปุ๋ยอินทรีย์(หมัก)+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ, การใช้ ปุ๋ยเคมี12+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ1/2, การใช้ปุ๋ยเคมี1/3+ปุ้ยอินทรีย์ (หมัก)1/2+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ/3, การใช้ปุ๋ย พืชสดบำรุงดิน(ถั่วเขียว) ปุ๋ยอินทรีย์น้ำและวิธีการของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่าการใช้ปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน(ถั่วเขียว) ปุ๋ยอินทรีย์น้ำและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (หมัก)+ปุ๋ยอินทรีซ์น้ำทำให้ความเป็นกรดด่างของดินเพิ่มขึ้นเป็น 4.50 และ 4.50 ซึ่งเป็นระดับที่ เหมาะสมในการปลูกสับปะรด การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (หมัก)+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำทำให้ค่าอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น เป็น 2.13 กรัมต่อ 100 กรัม ในลักษณะการเจริญเติบโตของต้นสับปะรด พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีใน ทุกสิ่งทดลอง และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (หมัก)+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ช่วยส่งเสริมการเจริญของลักษณะ ความกว้างทรงพุ่ม จำนวนใบแก่ ความกว้างใบแก่ ความยาวใบแก่ จำนวนใบอ่อน ความกว้างใบ อ่อน ความยาวใบอ่อนและความสูงต้น ในขณะที่ทุกสิ่งทดลองมีผลน้อยต่อลักษณะ เส้นผ่าศูนย์กลางผล และไม่มีผลต่อลักษณะ ความยาวผลและจำนวนผลต่อไร่ ในลักษณะผลผลิตต่อไร่ พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมี1/2+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ1/2 ให้ผลผลิตสูงสุด เท่ากับ 4.362.50 กิโลกรัม ไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ, การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (หมัก) ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ, การใช้ปุ๋ยเคมี/3+ปุ๋ยอินทรีย์ (หมัก)1/2+ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ/3 และวิธีการของ เกษตรกร ให้ผลผลิตเท่ากับ 3,762.50, 3,582.50, 3,887.50 และ 4,035.00 กิโลกรัม การใช้ปุ๋ย พืชสดบำรุงดิน(ถั่วเขียว) +ปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้ผลผลิตต่ำที่สุดเท่ากับ 2,180.00 กิโลกรัม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินในการปลูกสับปะรด
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
30 กันยายน 2553
การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินพื้นที่ทุ่งหมาหิวจังหวัดอุบลราชธานี การพัฒนาแนวทางการจัดการธาตุอาหารหลัก รอง และจุลธาตุอาหารตามหน่วยสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยตอในจังหวัดสระแก้ว โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของข้าวบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 2 โครงการ ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินและการจัดการธาตุอาหารข้าว การจำแนกดินปลูกยางพาราตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน การพัฒนาแนวทางการจัดการดินตามหน่วยสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์และดัชนีผลิตภาพของดินที่ใช้ปลูกอ้อยจังหวัดสระแก้ว การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการธาตุอาหารอย่างเหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตของสับปะรด ความอุดมสมบูรณ์ของดินในทุ่งกุลาร้องไห้ในช่วง 7 ปี ศึกษาการจัดการดินเปรี้ยวจัดที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา การศึกษาผลของถ่านชีวภาพไบโอชาร์และการใช้ปุ๋ยหมักต่อการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตในระบบการปลูกมันสำปะหลัง โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกร
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก