สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินกรดด้วยวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและพืชปุ๋ยสด เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวพื้นที่นาขั้นบันได ชุดดินหนองมด จังหวัดเชียงราย
มยุรี ปละอุด, สุนีย์รัตน์ โลหะโชติ, บุษบา อนุจรพันธ์, สุภาพร ปาแก้ว - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินกรดด้วยวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและพืชปุ๋ยสด เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวพื้นที่นาขั้นบันได ชุดดินหนองมด จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่อง (EN): Acid soil management by using soil conditioner and green manure for increasing rice yield terraces inNong Mot series (Nm) Chiang Rai province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการจัดการดินกรดด้วยวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและพืชปุ๋ยสด เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวพื้นที่ นาขั้นบันได ชุดดินหนองมด จังหวัดเชียงราย ดำเนินการทดลองที่บ้านเล่าฝู่ หมู่ที่ 20 ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ระยะเวลา 1 ปี (ปีพ.ศ. 2560) วางแผนการทดลองวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ มีตำรับการทดลองจำนวน 6 ตำรับ ดังนี้ ตำรับการทดลองที่ 1 วิธีการของเกษตรกร ตำรับการทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน ตำรับการทดลองที่ 3 ใส่ปูนโดโลไมท์ อัตรา ? ของค่าความต้องการปูนของดินทุกปีจนระดับ pH ของดินอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของข้าวไร่ (6.8) ตำรับการทดลองที่ 4 ปลูกพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) แล้วไถกลบและใส่ปุ๋ยเคมี ? ของอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน ตำรับการทดลองที่ 5 ใส่ปูนโดโลไมท์อัตรา ? ของค่าความต้องการปูนของดินทุกปีจนระดับ pH ของดินอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของข้าวไร่ (6.8) และใส่ปุ๋ยเคมี ? ของอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และตำรับการทดลองที่ 6 ปลูกพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) แล้วไถกลบ ใส่ปูนโดโลไมท์อัตรา ? ของค่าความต้องการปูนของดินทุกปีจนระดับ pH ของดินอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของข้าวไร่ (6.8) ผลการทดลองพบว่า การปรับปรุงบำรุงดินในนาขั้นบันไดในพื้นที่สูงของเกษตรกรชาวไทยภูเขาควรใช้วิธีการที่ 5 คือ ใส่ปูนโดโลไมท์อัตรา ? ของค่าความต้องการปูนของดินใส่ปุ๋ยเคมี ? ของอัตราแนะนำ ตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งจะทำให้ข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีการเจริญเติบโตและผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 959 กก./ไร่ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติกับวิธีที่ 4 และ 6 โดยการใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ไถกลบในนาขั้นบันได ร่วมกับใส่ปูนโดโลไมท์อัตรา ? ของค่าความต้องการปูนของดิน ให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 826 กก./ไร่ การใช้ปุ๋ยพืชสดอาจไม่มีความจำเป็นในนาขั้นบันได เพียงแต่ใช้ปูนและปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินก็เพียงพอสำหรับการปรับปรุงบำรุงดินในการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง ของเกษตรกร ซึ่งจะให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าวิธีปรับปรุงบำรุงแบบเกษตรกร 27 % (ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 16 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 16 กก./ร่) จากผลผลิต 790 กก./ไร่ เป็น 959 กก./ไร่ หลังการใช้วิธีการในการทดลองปรับปรุงบำรุงดินแล้วสมบัติทางเคมีของดินเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจากการใช้ที่ดินในระยะเวลาสั้น จึงเห็นผลด้านนี้ไม่ชัดเจน
บทคัดย่อ (EN): Study of acid soil management by using soil conditioner and green manure for increasing yield of rice terraces in Nong Mod series (Nm) Chiang Rai province. Experimental at Ban LAOFHU Moo. 20 Pa Tueng sub-district Mae Chan district Chiang Rai province in 2560. The experimental design was Randomized Complete Block Design (RCBD) experiment fertilization based on soil analysis is divided into six treatments, that treatments 1 th application in the manner and rate at which farmers used to treat recipe, that treatments 2 th rate chemical fertilizer from the soil analysis, that treatments 3 th the lime dolomite ? rate of lime requirement (LR) until the pH level of soil appropriate level to the growth upland rice (6.8), treatments 4 th grown green manure and then to plow and chemical fertilizer ? rate from the soil analysis, treatments 5 th lime dolomite ? rate of lime requirement (LR) until the pH level of soil appropriate level to the growth upland rice (6.8) and chemical fertilizer ? rate from the soil analysis, treatments 6 th grown green manure and then to plow and lime dolomite ? rate of lime requirement (LR) until the pH level of soil appropriate level to the growth upland rice (6.8). The results of the trial found that soil improvement in rice terraces upland of farmer on upland should use lime dolomite ? rate of lime requirement (LR) of soil and chemical fertilizer ? rate from the soil analysis, which the rice native species of growth and maximum yield productivity. The use of green manure may not have the necessary in rice terraces, only use the limestone and chemical fertilizer rate from the soil analysis is sufficient for the soil improvement of rice planting native species of farmers. This will give the rice yield is higher than application in the manner and rate at which farmers used to treat recipe 27% (chemical fertilizer formula 15-15-15 about 16 kg/rai and 46-0-0 about 16 kg/rai), form ricd yield 790 kilogram per rai to 959 kilogram per rai, after using the method of the trial soil improvement the chemical caraeteristic of soil slightly change, these result, that show land is use in the short term can’t show the effect of treatment.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินกรดด้วยวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและพืชปุ๋ยสด เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวพื้นที่นาขั้นบันได ชุดดินหนองมด จังหวัดเชียงราย
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2560
การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสดหลายชนิด สำหรับการปลูกข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 7 การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน จังหวัดอุตรดิตถ์ (กลุ่มชุดดินที่ 35) การจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับพืชปุ๋ยสด โดยใช้ไรโซเบียม (พด.11) และแหนแดง เพื่อเพิ่มผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ในกลุ่มชุดดินที่ 18 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับวัสดุปรับปรุงดินเพื่อปรับสภาพดินกรดที่ใช้ปลูกหอมแดงในจังหวัดศรีสะเกษ ผลของการไถกลบพืชปุ๋ยสดชนิดต่างๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว การใช้จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสในดินกรด (Burkholderia sp.) ร่วมกับปุ๋ยชนิดต่างๆ ในการปรับปรุงดินกรดเพื่อผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในจังหวัดอำนาจเจริญ ผลของการใช้วัสดุปรับปรุงดินชนิดต่างๆร่วมกับโดโลไมท์ในการปรับปรุง นาข้าวดินกรด ในกลุ่มชุดดินที่ 22 จังหวัดชัยภูมิ การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวโพดหวาน ในชุดดินเขาพลอง (กลุ่มชุดดินที่ 44)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก