สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
อำนวยโชค เวชกุล - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Mantis shrimp(Harpiosquilla raphidea) for Economic Value Added
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อำนวยโชค เวชกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการด าเนินงานของแผนงานวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบ บูรณาการ โดยใช้ฐานของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น และการด าเนินงานของโครงการต่างๆ ภายใต้ แผนงาน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของนักวิจัย องค์กรต่างๆ โดยมีการศึกษาองค์ความรู้พื้นฐานการทดลอง และวิจัยแบบประยุกต์ร่วมกัน เมื่อสิ้นสุดโครงการสามารถสรุปประเด็นหรือข้อมูลจากการวิจัยได้ดังนี้ 1. ชนิด ความแตกต่าง อัตราส่วนระหว่างเพศของกั้งตั๊กแตนและการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จากประชากร ธรรมชาติกั้งตั๊กแตนในสภาพกักขัง กั้งตั๊กแตนที่พบทั้งหมดในพื้นที่มี2 วงศ์2 ชนิด คือ กั้งตั๊กแตนวงศ์ Harpiosqullidae และ กั้งตั๊กแตนวงศ์Squillidae กั้งตั๊กแตนกลุ่ม Harpiosquillids ในพื้นที่บริเวณอ่าวท่าศาลาพบเพียงชนิด เดียว คือ Harpiosquilla raphidia และอีกชนิดหนึ่งคือกั้งตั๊กแตนวงศ์Squillidae ชนิดเดียว คือ Keijia lirata เป็นกั้งตั๊กแตนขนาดเล็กไม่เป็นชนิดที่ส าคัญทางเศรษฐกิจ กั้งตั๊กแตนที่เก็บตัวอย่างจากชาวประมง พบว่าโดยส่วนใหญ่เพศเมีย จะมีขนาดโตกว่าเพศผู้ โดยเพศผู้ มีท่อส่งน้ าเชื้อยื่นยาวออกมา อยู่ใต้ท้องบริเวณ อกปล้องที่ 8 จ านวน 1 คู่ ส่วนลักษณะกั้งตั๊กแตนเพศ เมีย ที่เจริญพันธุ์แล้ว สังเกตเห็นบริเวณส่วนอกของปล้องที่ 6, 7 และ 8 พบเป็นกระเปาะเป็นแถบคาด ตามขวางล าตัวมีสีขาวขุ่นคล้ายน้ านมเป็นที่เก็บน้ าเชื้อของเพศผู้ กั้งตั๊กแตนเพศเมียที่มีพัฒนาการของ รังไข่จะมองเห็นรังไข่มีสีส้มอยู่ตลอดความยาวของล าตัวตั้งแต่ปล้องที่ 5 จนถึงปลายหาง การเลี้ยงกั้งตั๊กแตนให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ โดยท าการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์จากพ่อค้าในชุมชนที่รับ ซื้อจากชาวประมงพื้นบ้าน โดยการคัดเลือกกั้งตั๊กแตนจ านวน 50 ตัว แยกเป็นเพศผู้ 23 ตัว เพศเมีย 27 ตัว เลี้ยงรวมกันในบ่อเพื่อให้มีการผสมพันธุ์กันในบ่อเลี้ยง เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าการ เจริญเติบโตของกั้งตั๊กแตนจากน้ าหนัก 199.35± 16.46 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น 202.07± 19.28 กรัม ความยาว 26.38±0.96 เซนติเมตร เป็น 26.63±1.03 เซนติเมตร อัตราการรอดตายเป็นร้อยละ 80 ส่วนดัชนีความสมบูรณ์เพศตรวจสอบกั้งตั๊กแตนที่มีการพัฒนาการของรังไข่ แสดงว่ามีการผสมพันธุ์กัน ในบ่อได้ โดยพบกั้งตั๊กแตนที่มีพัฒนาการรังไข่จ านวน 6 ตัว คิดเป็นร้อยละ 12 และเมื่อน ารังไข่ไป วิเคราะห์ดัชนีความสมบูรณ์เพศ (GSI) ของกั้งที่มีไข่พบว่ามีค่าเท่ากับ 8.97 2. เทคโนโลยีหลังการจับและการควบคุมคุณภาพกั้งตั๊กแตนในสภาพมีชีวิต การศึกษาแหล่งท าการประมงการจับกั้งตั๊กแตนที่เหมาะสมต่อการบริโภค และขั้นตอน กระบวนการบรรจุและขนส่งกั้งตั๊กแตนในสภาพมีชีวิตนั้น เพื่อสามารถควบคุมกระบวนการหลังการ จับกั้งตั๊กแตนในสภาพมีชีวิตให้มีคุณภาพ โดยค านึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการบรรจุกั้งตั๊กแตนในสภาพ มีชีวิต ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรจุ ขนาดและจ านวนของกั้งตั๊กแตนในสภาพมีชีวิตต่อหน่วย บรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนและกระบวนการบรรจุ และวิธีการล าเลียงขนส่งจากแหล่งบรรจุจนถึงผู้บริโภค เพื่อให้กั้งตั๊กแตนในสภาพมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้อยที่สุด ลดการสูญเสียในระหว่างการ ล าเลียงขนส่ง และให้กั้งตั๊กแตนในสภาพมีชีวิตเป็นที่พึงพอใจต่อผู้บริโภคมากที่สุด โดยกั้งตั๊กแตนที่ผ่านกระบวนการขนส่งนี้ มีอัตราการรอดของกั้งตั๊กแตนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เท่ากับ ร้อยละ 95.56 94 และ 92.86 ตามล าดับ 3. การย่อยสลายตัวเองของกล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตนในระหว่างการเก็บรักษา การศึกษาการย่อยสลายตัวเองของกล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตนในระหว่างการเก็บรักษาในน้ าแข็งเป็น เวลา 10 วัน พบว่ากล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตนมีการย่อยสลายตัวเองตลอดการเก็บรักษา (p<0.05) และ หลังจากวันที่ 4 ของการเก็บรักษาปริมาณโปรตีนที่ละลายได้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (p<0.05) ผล การศึกษาคุณลักษณะของเอนไซม์โปรติเอสในกล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตน โดยการบ่มกล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตนบด ที่อุณหภูมิ (30–80 องศาเซลเซียส) และ pH ต่างๆ (2.0–12.0) พบว่าการย่อยสลายตัวสูงสุดเกิดขึ้นที่ อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส และ pH ที่เหมาะสมต่อกิจกรรมการย่อยสลายตัวเองของกล้ามเนื้อ กั้งตั๊กแตนเท่ากับ 4.0 และ 9.0 และพบว่าสารยับยั้งเอนไซม์โปรตีเนสชนิด Pepstatin A และ E-64 สามารถยับยั้งการท างานของเอนไซม์โปรตีเนสในกล้ามเนื้อกั้งตั๊กแตนได้ดีที่สุดทั้งในสภาวะที่เป็นกรด และด่าง ดังนั้นเอนไซม์โปรตีเนสที่พบในเนื้อกั้งตั๊กแตนบดเป็นเอนไซม์โปรตีเนสชนิดซิสเตอีนและ ชนิด แอสปาติก 4. การคัดแยกแบคทีเรียแลกติกจากล าไส้กั้งตั๊กแตนเพื่อพัฒนาเป็นโพรไบโอติก จากการเก็บตัวอย่างกั้งตั๊กแตนจากการท าประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช เพื่อตรวจนับจ านวนแบคทีเรียทั้งหมด และจ านวนแลกติกแอซิดแบคทีเรียทั้งหมดที่ คัดแยกได้จากทางเดินอาหารกั้งตั๊กแตน สามารถคัดแยกแลกติกแอซิดแบคทีเรียได้139 ไอโซเลต มีรูปร่างกลม ติดสีแกรมบวก ไม่สร้างเอนไซม์คะตาเลส และน ามาทดสอบสมบัติการเป็นโพรไบโอติก โดยแลกติกแอซิดแบคทีเรียสามารถทนต่อpH ต่ า (pH3-6) สามารถย่อยโปรตีน ย่อยไขมัน เจริญได้ใน สภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ทนต่อเกลือน้ าดี (0.15% และ 0.30%) ไวต่อยาปฏิชีวนะ และยับยั้งเชื้อ Vibrio parahaemolyticus และ V. harveyi ได้ และเมื่อน าไปศึกษาการเจริญและสร้างสารยับยั้ง ของแลกติกแอซิดแบคทีเรียพบว่าแลกติกแอซิดแบคทีเรียมีอัตราการเจริญสูงสุดที่เวลา 33 ชั่วโมง ใน อาหาร MRS pH 6.0 ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบเคียงชนิดแล้วพบว่าเป็นแบคทีเรีย แลกติกสายพันธุ์ Enterococcus sp. และเมื่อน าไปศึกษาการอยู่รอดของแลกติกแอซิดแบคทีเรียบน เม็ดอาหารพบว่าอัตราการรอดชีวิตต่ า จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแลกติกแอซิดที่คัดเลือกได้ จากล าไส้กั้งตั๊กแตนมีสมบัติการเป็นโพรไบโอติกมีความเป็นไปได้ในการนำมาพัฒนาต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The implementation of the research and development to enhance the economic value of mantis shrimp by integration on the base of resources available locally, also, these research were concluded of various projects under the plan that focus on the participation of researchers and organizations with the knowledge a trial basis and it application. At the end of the project can be summarized as follows: 1 . Types, difference between sex ratios and the mantis shrimp broodstock from natural populations mantis shrimp in captivity. Two families, two species of mantis shrimp were found in this area and were belonged to Harpiosqullidae and Squillidae family. Into these 2 families, only Harpiosquilla raphidiaand Keijia lirata(small size and no value) were found in Tha sala bay area. Mantis shrimps which were collected from fishermen are most females and are larger than males. The male mantis shrimp has a long copulatory tube and pipe out. We can found one pair at the 8th segments area. At the 6th, 7th and 8th thoracic segments of the young female mantis shrimps are indicated a bulb across the body with a milky white color which is a sperm sap for the male mantis shrimp. The female mantis shrimp with ovarian development will see an orange ovary throughout length of body segments from the 5 th until the end of telson. 50 mantis shrimps were collected from traders in the community by buying from local fishermen and were used as breeder. There are 23 male and 27 female mantis shrimp. All were feed together in a pond for the breeding step for 6 months. The growth of mantis shrimp was increased from 199.35 ± 16.46. to 202.07 ± 19.28 g. The length were changed from 26.38 ± 0.96 cm to 26.63 ± 1.03 cm. The survival rate was 80%. 6 female mantis shrimps (12%) were found to have ovarian growth and GSI index of female mantis shrimps were found to be 8.97. 2. The proper fishery area, harvest and containing procedure of Mantis Shrimp (Harpiosquilla raphidea) for maintaining the quality of Mantis Shrimp in live condition during postharvest This study objects to investigate the proper fishery area, harvest and containing procedure of Mantis Shrimp (Harpiosquilla raphidea) for maintaining the quality of Mantis Shrimp in live condition during postharvest. The study will concern on factors, for instance, the type of containers, the proportion between number of live Mantis Shrimp and container size, and the procedure of containing and shipping from the containing section to consumer’s hand that probably affects towards the shrimp quality. This study is significant to reduce the loss and quality changing of live Mantis Shrimp during the distribution to customers, and to make the customers will have the highest satisfaction on that certain product. At the end of experiment, survival rate of Mantis Shrimp were 95.56 %, 94% and 92.86% in treatment large size, medium and small size, respectively. 3. Autolytic activity of mantis shrimp (Harpiosquilla raphidea) muscle Autolytic activity of mantis shrimp (Harpiosquilla raphidea) muscle during 10- day iced storage was characterized. Autolytic degradation of mantis shrimp muscle increased throughout 10 days of iced storage (p<0.05). After day 4, mantis shrimp muscle showed sharply increases in TCA-soluble peptide content (p<0.05). Proteases of mantis shrimp mince was characterized. Mantis shrimp mince were incubated at different temperatures (30–80o C) and pH (2.0-12.0). The highest autolysis activity was exhibited at 60 o C. The optimum pH for the autolysis of mantis shrimp mince was found at 4.0 and 9.0. The proteinase inhibitors, E-64 and Pepstatin A showed the greatest inhibition of autolysis at both acid and alkali pHs revealing that proteinases found in mantis shrimp mince are cysteine proteinases and aspartic proteinases. 4 . Isolation lactic acid bacteria from Mantis Shrimp (Harpiosquilla raphidea) intestine for develop probiotic products This work was study on total bacteria and tolal lactic acid bacteria (LAB) from mantis shrimp intestinal at Tha sala, Nakhon Si Thammarat province, Thailand. 139 isolate of LAB were screened for probiotic properties including the survival at low pH (pH 3-6), starch protein and lipid utilization, grown in anaerobic condition, bile salt tolerance test (0.15% and 30%), antibiotic resistant and antibacterial activity test to Vibrio parahaemolyticus and V. harveyi. 7 isolated of LAB were selected and study on growth and inhibition properties. LAB showed highest growth rate in MRS broth pH 6.0 at 33 h 35C and all strains showed antibacterial activity. After that, 7 isolate were identification and found to be Enterococcus sp. In addition, LAB were survive on feed at 4C 7 day. Theses strain survival low rate on feed. Therefore, in this result showed LAB from mantis shrimp has probiotic properties and has potential to be development in the future.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/294851
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
30 กันยายน 2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ชุดโครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพ คุณภาพผลผลิต และเพิ่มมูลค่าทางการตลาด การวิจัยและพัฒนาเพิ่มมูลค่าของเปลือกทุเรียน โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มมูลค่าบัว โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตงา การวิจัยและพัฒนาเพิ่มมูลค่าจากเงาะเพื่อเป็นอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ โดยใช้พลังงานต่ำ โครงการวิจัยและพัฒนาพืชสวนเศรษฐกิจหลังการเก็บเกี่ยว โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบการฟื้นฟูและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรและยาพื้นบ้านที่ได้มาตรฐาน โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพเพื่อการส่งออก การวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตทรัพยากรประมงเพื่อเป็นอาหารปลอดภัยและสร้างมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบท้องถิ่น โครงสร้างภาษีของไทยและผลที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ : รายงานผลการวิจัย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก