สืบค้นงานวิจัย
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการดูดใช้ฟอสฟอรัสของข้าวที่ปลูกในสภาพที่มีฟอสฟอรัสต่างรูปกัน
ปรียาภรณ์ แสงเรือน - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการดูดใช้ฟอสฟอรัสของข้าวที่ปลูกในสภาพที่มีฟอสฟอรัสต่างรูปกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Indicative Morphological Characteristics of Phosphorus Uptake Efficiency in Rice Grown under Different Forms of Phosphorus
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปรียาภรณ์ แสงเรือน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Preeyaporn Sangruan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ฟอสฟอรัส (P) เป็นธาตุที่มักถูกตรึงและอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดใช้ได้ โดยในดินกรด P มักถูกตรึงด้วย A และ Fe ในขณะที่ดินด่าง P ถูกตรึงไว้ด้วย Ca การปลูกข้าวในดินที่มีปัญหา P ดังกล่าวข้าวมักมีการเจริญเติบโตและให้ ผลผลิตต่ำ อย่างไรก็ตามพันธุ์ข้าวที่สามารถเจริญในสภาพ P ต่ำ อาจมีศักยภาพในการปลดปล่อย P ที่ตรึงไว้ ให้อยู่ในรูปที่ เป็นประโยชน์และดูดใช้ได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงประเมินลักษณะที่บ่งชี้ประสิทธิภาพของพันธุ์ข้าวที่สามารถเจริญได้ในสภาพ p ที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยซน์ได้ ทำการทดลองแบบ 22 x 4 Factorial in RCBD ปัจจัยที่ 1 คือ พันธุ์ข้าว (22 สายพันธุ์) ปัจจัยที่ 2 คือ P 4 รูป (P รูปที่เป็นประโยชน์: KH PO, และ P รูปที่ไม่เป็นประโยชน์: Ca O P, AIO,P และ FeO.P) ผลการ ศึกษาพบว่า ข้าวที่ปลูกใน P ที่อยู่ในรูป Ca O P, มีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกับข้าวที่ปลูกใน KH PO โดยลักษณะที่บ่ง ชี้ถึงปริมาณ P ที่ปลดปล่อยออกมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ คือ จำนวนรากและน้ำหนักแห้งรากที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ข้าวที่ ปลูกใน P รูป AIO P และ FeO P มีความยาวรากเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับต้นที่ปลูกใน P รูปที่เป็นประโยชน์ถึง 25-84 % ซึ่งเป็น ลักษณะบ่งชี้ถึง P ที่ยังถูกตรึงไว้สูง ทำให้ P ในรูปที่เป็นประโยชน์มีปริมาณต่ำ จากการศึกษานี้เห็นได้ว่า P ที่ตรึงอยู่กับ Ca ปลดปล่อยออกมาได้มากกว่าการตรึงอยู่กับ A/ หรือ Fe ดังนั้นข้าวที่ปลูกในดินด่างอาจแสดงอาการขาด P น้อยกว่าดินกรด
บทคัดย่อ (EN): Phosphorus (P) is often fixed by soil particles and unavailable forms for plant use. In acidic soil, Pis fixed by Al and Fe, while in alkaline soil, it is fixed by Ca. Growing rice in such soil where P unavailability is problematic could result in low level of growth and yield. However, some rice cultivars capable of growing under low P condition may potentially be able to release P from its fixed stage so it can become available for plant use. This study was conducted to evaluate rice cultivars for their growth potential when grown under unavailable form of P. An experiment was set up as a 22 x 4 factorial in RCBD with 2 factors, rice cultivar (22 cultivars) and P form viz. available form (KH2PO4) and unavailable from (Ca3O8P2, AlO4P, FeO4P). It was shown that rice grown in Ca3O8P2form of P had similar growth pattern to rice grown in KH2PO4 form. Indicative characteristic of quantity of available P being released were increasing root number and root dry weight. On the other hands, rice grown in AlO4P and FeO4P forms of P displayed an increase in root length of 25-84 % compared to rice grown under available P form, which indicated that most P was still in fixed stage resulting in low level of available P. This study suggested that P that was fixed by Ca could be released more easily that P that was fixed by Al or Fe, which implied that rice grownin alkaline soil might exhibit milder P deficiency ymptoms than rice grown under acidic soil.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P074 Agr21.pdf&id=2785&keeptrack=5
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการดูดใช้ฟอสฟอรัสของข้าวที่ปลูกในสภาพที่มีฟอสฟอรัสต่างรูปกัน
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการใช้แบคทีเรียละลายฟอสเฟตในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวในสภาพแอโรบิก ผลของระดับฟอสฟอรัสต่อการพัฒนาระบบรากข้าว ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็ก ด้วยฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ การเจริญเติบโตของต้นกล้า และผลผลิต ผลของระดับฟอสฟอรัสที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ผลของรำข้าวสกัดน้ำมันที่ผ่านขบวนการไฮโดรไลซ์ด้วยเอนไซม์ไฟเตสรวมกับกรดต่อการใช้ประโยชน์ได้ของฟอสฟอรัสและคุณค่าทางโภชนาการในอาหารสุกรหย่านม การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและการเจริญเติบโตของข้าวโพดต้านทานสารกำจัดวัชพืชราวด์อั๊พพร้อมทั้งศึกษาชนิดและจำนวนประชากรของจุลินทรีย์บริเวณดินรอบรากข้าวโพดในสภาพโรงเรือนทดลอง ผลของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโตของแกลดิโอลัส ผลของระดับไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโตของบัวชั้น ผลของวันปลูกถั่วดำปลูกเหลื่อมข้าวโพดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชทั้งสองภายใต้สภาพที่ดอนอาศัยน้ำฝน ธาตุอาหารพืชกับคุณภาพผลผลิตกาแฟอะราบิก้า 2. ผลของปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และจุลธาตุ ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกาแฟในสภาพไม่มีร่มเงา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก