สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับทางปาล์มในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะเนื้อ
ชิต ยุทธวรวิทย์ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับทางปาล์มในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะเนื้อ
ชื่อเรื่อง (EN): ORIGINAL
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชิต ยุทธวรวิทย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลของระดับทางปาล์มในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะเนื้อ* นายขบวน อินทรักษ์1/ นายชิต ยุทธวรวิทย์1/ นายจักรี เทศอาเส็น2/ นายสมศักดิ์ เภาทอง3/ บทคัดย่อ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของระดับทางปาล์มในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะเนื้อ อัตราส่วนทางปาล์มต่ออาหารข้นในอาหารผสมเสร็จที่เหมาะสมใช้เลี้ยงแพะเนื้อพื้นเมืองลูกผสมดำเนินการทดลองที่สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ชุมพร อ. ท่าแซะ จ. ชุมพร ระหว่างเดือน ตุลาคม 2550 – ธันวาคม 2551 วางแผนการทดลองแบบ ทดลอง Complete Randomized Design (CRD) โดยใช้แพะเนื้อลูกผสมบอร์ 50 เปอร์เซ็นต์ เพศผู้หลังหย่านม น้ำหนักเฉลี่ย 15.59 + 2.19 กิโลกรัม จำนวน 15ตัว สุ่มแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 5 ตัว เลี้ยงด้วยอาหารผสมเสร็จ ที่มีอัตราส่วนของทางปาล์มหมักต่ออาหารข้นแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ กลุ่มที่ 1 2 และ 3 ที่ 20 : 80 30 : 70 และ 40 : 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เลี้ยงในคอกขังเดี่ยวขนาด 1X1.5 เมตร ปริมาณอาหารให้วันละ 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 129 วัน ผลการทดลองพบว่า ปริมาณวัตถุแห้งที่กินได้ของแพะทั้ง 3 กลุ่ม 972.34 829.92 และ889.24 กรัม/วัน ตามลำดับ(3.97 3.79 และ 4.52 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวตามลำดับ)และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารของแพะ(7.16 8.45 และ 15.90 ตามลำดับ) กลุ่ม 1 และ 2 ไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่ม 3 แตกต่างกลุ่ม 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญ(P<0.05)เช่นเดียวกับปริมาณโปรตีนหยาบแพะกินได้ ((109.97 111.38 และ105.29 กรัม/วัน ตามลำดับ)) กลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับ กลุ่ม 2 และ 3 แต่กลุ่ม 3 ได้รับน้อยกว่ากลุ่ม 1 อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ) ด้านสมรรถนะการผลิตของแพะ พบว่า แพะมีน้ำหนักเมื่อสิ้นสุดการทดลอง(33.18 28.22 และ 23.90 ตามลำดับ) กลุ่ม 2 และ3 ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่ม 1 ที่แตกต่างกลุ่ม 2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น (17.46 12.70 และ 8.38 ตามลำดับ) ทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) และอัตราการเจริญเติบโต (135.36 98.45 และ 64.93 กรัม/วัน ตามลำดับ) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ดังนั้นการใช้อาหารผสมเสร็จที่มีระดับทางปาล์ม 20 เปอร์เซ็นต์เป็นอาหารหยาบในอาหารผสมเสร็จ TMR เหมาะสมสำหรับการใช้ในแพะเนื้อลูกผสมบอร์ 50 เปอร์เซ็นต์เพศผู้หลังหย่านมโดยมีอัตราการเจริญเติบโต 135.36 กรัม/วัน และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร 7.16 คำสำคัญ: ทางปาล์ม อาหารผสมเสร็จ แพะเนื้อพื้นเมืองลูกผสม *เลขทะเบียนผลงาน: (51)(1)-0214-047 1/สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ชุมพร อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร 2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สุราษฏร์ธานี อ.ท่าฉาง จ.สุราษฏร์ธานี 3/กลุ่มพัฒนาระบบจัดการอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ราชเทวี กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ (EN): Effect of Oli Palm Fronds levels in ensiled total mixed for Goats. Kabouan Intarak1/ Chit Yutawaravit1/ /Chakri Thedarsen 2/ Somsak Poathong3/ The experiment was conducted to determine the effect of Oli Palm Fronds levels in ensiled total mixed for goats. The trail was conducted at Chumphon Animal Nutrition Development Station, Thasae District, Chumphon Province, during October 2007 – December 2008. Fifteen male weaned native Goats Crossbred with initial weight of 15.59 + 2.19 kgs were arranged in dietary treatments using complete randomized design (CRD) with 3 treatments 5 reptications. were 3 levels of oli palm fronds. Goats were kept in individual cage of 1x1.5 m. The goats were fed with 3 % of body weigh. The experiment was lasted 129 days. The results showed that the response of dry matter intake (intake (3.97 3.79 and 4.52 % of body weight) group 1, and 2 were not significant difference , but the goat in group 3 significant difference the goat in group 1 and 2 (P>0.05) and feed concervation ration (7.16 8.45 and 15.90, respectively) group 1, and 2 not significant difference , but the goat in group 3 significant difference the goat in group 1 and 2 (P>0.05) and of crude protein intake (109.97, 111.38 and 105.29 g/d, respectively) in group 1 and group 2 with the same as group 2, and group 3 were not significant difference , but the goat in group 3 significant difference the goat in group 1 (P0.05). Keywords: Oil Palm Fronds, Total Mixed Ration, Native Goats Crossbred *ResearchProjectNo. (51)(1)-0214-047 1/ Chumphon Animal Nutrition Development Station, Tha Sae District , Chumphon Province 2/ Suratthani Animal Nutrition Research and Development Center, Tha-Chang District, Suratthani Province 3/ Livestock Technical Development group, Department of Livestock Development, Bangkok
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับทางปาล์มในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะเนื้อ
กรมปศุสัตว์
30 กันยายน 2551
กรมปศุสัตว์
ผลของระดับโปรตีนในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ของแพะพื้นเมืองเพศผู้อายุ 1-2 ปี การใช้อาหารผสมเสร็จที่มีระดับโปรตีนต่างกันเลี้ยงแพะเนื้อ ผลของระดับโปรตีนในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะพื้นเมืองไทย อายุ 3 เดือน – 1 ปี* ผลของระดับโปรตีนในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะลูกผสมแองโกลนูเบียน ผลของวิธีการให้อาหารผสมเสร็จที่มีระดับโปรตีนต่างกันต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตชองโคเนื้อพันธุ์กบินทร์บุรี ผลของใช้เปลือกตาลหมักเพื่อเป็นแหล่งอาหารหยาบทดแทนในช่วงฤดูแล้งต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้ของแพะ ผลของอาหารผสมเสร็จหมักจากเศษเหลือสับปะรดต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะลูกผสม ผลของระดับการให้อาหารที่มีต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและลักษณะซากโคขาวลำพูน การใช้ทางใบปาล์มน้ำมันแห้งเป็นส่วนผสมในอาหารผสมเสร็จสำหรับ เลี้ยงแพะ การใช้กากเนื้อในเมล็ดปาล์มเป็นอาหารเสริมสำหรับโคเนื้อ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก