สืบค้นงานวิจัย
การประมงและวิถีตลาดปลาปักเป้าในอ่าวไทย
อุดมสิน อักษรผอบ, รัตนาวลี พูลสวัสดิ์, วิวัฒนันท์ บุญยัง, ขวัญชัย ปานแก้ว, ภิญโญ ประสารยา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การประมงและวิถีตลาดปลาปักเป้าในอ่าวไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Fisheries and Market Channels of Puffer Fish Caught in The Gulf of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการประมงและวิถีตลาดปลาปักเป้าในอ่าวไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมืออวนลากและอวนล้อมบริเวณอ่าวไทย ระหว่างเดือนมกราคม 2555 – ธันวาคม 2555 พบว่าเรืออวนลากคู่จะทำการประมงเฉลี่ย 8.74 วัน/เที่ยว โดยมีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 120.300 กก./ชม. หรือ 20,049.001 กก./ลำ เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 31.011 และปลาเป็ด 89.289 กก./ชม. คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 25.78 และ 74.22 ตามลำดับ สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่จับได้มากที่สุด คือหมึกกล้วย (Loligo spp.) จับได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่จับได้ รองลงมาคือ ปลาผิวน้ำและปลาหน้าดิน ที่มีอัตราการจับเกือบเท่ากันคือ 20 เปอร์เซ็นต์ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่จับได้ สำหรับปลาเป็ดประกอบด้วยลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาเป็ดแท้เท่ากับ 81.23 และ 18.77 เปอร์เซ็นต์ของผลจับปลาเป็ดทั้งหมด ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่พบส่วนใหญ่เป็นปลากะตักสูงถึง 67.29 ชาวประมงจะมีรายได้เฉลี่ย 205,965.51 บาทต่อลำ โดยที่รายได้หลักมาจากปลาหมึกสูงถึง 139,169.86 บาท/ลำ คิดเป็น 67.57 % ของรายได้ทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เป็นหมึกกล้วย 118,061.92 บาท/ลำ หรือ 57.32 % ของรายได้ทั้งหมด รองลงมาคือหมึกหอม 14,267.02 บาท/ลำ หรือ 6.93 % ของรายได้ทั้งหมด การทำประมงอวนลากคู่ใช้เวลาทำการประมงเฉลี่ยเที่ยวละ 8.74 วัน ถ้ามีการเก็บรักษาสัตว์น้ำไม่ดีพอจะทำให้สัตว์น้ำที่จับได้ขาดความสด ทำให้เกิดสูญเสียทางการเงินจากการเก็บรักษาหลังการจับเฉลี่ย 2,404.97 บาท/ลำ
บทคัดย่อ (EN): A study on Fisheries and Market Channels of Puffer Fish Caught in the Gulf of Thailand in conducted, in the Gulf of Thailand during January to December 2012, with the objective to analyze its return considering species composition taking in to account financial losses from post harvest. The result indicated that pair trawl operated 8.74 days/trip and total average catch was 120.300 kg./hour or 20049.001 kg/trip; consisting of economic fish 31.011 kg/hour and trash fish 89.289 kg/hour (25.78 % and 74.22 %, respectively). Major catch was Loligo spp. around 50 % of the total catch, follow with Pelagic fish and demersal fish each fauna was caught approximately 20 %. For trash fish in this study classified as small size economic fish and true trash fish groups had average catch rate accounting for 81.23 % and 18.27 %, respectively. Total return are approximately 205,965.51 baht/trip, the main return was from Loligo spp. approximately 57.32 % (118,061.92 baht/trip). Post harvest technology are very importance, in case of the fishermen could not preserve their catch fresh.This could contribute to the financial loss approximately 2404.97 baht/trip.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมงและวิถีตลาดปลาปักเป้าในอ่าวไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2556
กรมประมง
ชีววิทยาปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาแข้งไก่(Megalaspis cordyla (Linnaeus,1758)) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenopthalmus Bloch, 1793)) ในอ่าวไทย สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาทูแขกครีบยาว Decapterus maruadsi (Temminck & Schlegel, 1843) ในอ่าวไทย การทดสอบประสิทธิภาพของไตรคลอร์ฟอน (Trichlorfon) ในการกำจัดปลิงใส (Thylacicleidus sp.) ของปลาปักเป้าเขียวจุด (Tetraodon nigroviridis) การประมงปลากะตักในอ่าวไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทูแขกชนิด Decapterus maruadsi ในอ่าวไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาข้างเหลือง Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาตาหวานจุด (Priacanthus tayenus Richardson, 1846) ในอ่าวไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก