สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
วงเดือน ไกรวัฒนพันธุ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วงเดือน ไกรวัฒนพันธุ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมบางประการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ศึกษาความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ร่วมโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตร ปี 2546-2547 ในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งหมด 102 คน จากสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสำมะโนประชากรศึกษาทั้งหมด 102 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีอายุเฉลี่ย 41-50 ปี จบการศึกษาภาคบังคับ มีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4-6 คน มีประสบการณ์ทำงานกลุ่ม เฉลี่ยไม่เกิน5 ปี เคยมีประสบการณ์ ในการฝึกอบรมและเคยฝึกอบรมอาชีพในเรื่องงานหัตถกรรมมากที่สุด สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต้องการให้จัดการฝึกอบรมในหมู่บ้าน ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน มีความต้องการ ในการฝึกอบรมแต่ละครั้งระหว่าง 1 - 2 วัน ช่วงเวลาที่พร้อมในการฝึกอบรมระหว่างเวลา 09.00 - 15.30 น. ต้องการให้ถ่ายทอดความรู้โดยการบรรยายและฝึกปฏิบัติจริง ต้องการวิทยากรผู้ประสบความสำเร็จต้องการโสตทัศนูปกรณ์ที่เป็นตัวอย่างของจริงและต้องการเอกสารหนังสือคู่มือประกอบการฝึกอบรม ความต้องการฝึกอบรมด้านการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.20 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตร มีความต้องการเรียนรู้การแปรรูปด้านอื่นๆ การแปรรูปผลผลิตเกษตรในการแปรรูปพริก โดยมีเฉลี่ยสูงสุด 2.50 รองลงมาได้แก่ การแปรรูปพริก, การแปรรูปสมุนไพร, การแปรรูปประเภทเนื้อสัตว์, การแปรรูปด้านศิลปประดิษฐ์, การแปรรูปประเภทเนื้อปลา, การแปรรูปประเภทน้ำผลไม้, การแปรรูปด้านหัตถกรรม, การแปรรูปประเภทผักและ ผลไม้ และการแปรรูปกล้วย โดยมีค่าเฉลี่ย 2.39, 2.34, 2.26, 2.23, 2.19, 2.17, 2.12, 2.06 และ 2.00 ตามลำดับ ส่วนการแปรรูปข้าวมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ 1.95 ในการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะดังนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดฝึกอบรม ควรจัด ฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโดยเน้นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยวิธีการจัดฝึกอบรมควรผ่านกระบวนการถ่ายทอดความรู้จากผู้ประสบความสำเร็จในสาขาวิชาชีพที่สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความต้องการศึกษาด้านการแปรรูปนั้นๆ จริงและเจ้าหน้าที่ที่ส่งเสริมการเกษตร ต้องมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะ ในเรื่องที่จะส่งเสริมนั้นด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ปี พ.ศ. 2546 อำเภอกู่สิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตรเชิงธุรกิจขนาดย่อมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร การแปรรูปข้าวแต๋นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ความต้องการพัฒนางานด้านเคหกิจเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปสินค้าเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546-2547 ในอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ความต้องการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก