สืบค้นงานวิจัย
การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร
มานะ วัลลภา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มานะ วัลลภา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษา เรื่องการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร 2) ความรู้ขอสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร 3) ทัศนคติของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร 4) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ประกอบด้วยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงกลุ่ม โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการศึกษาสรุปได้ว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชน มีอายุเฉลี่ย 50.7 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาภาคบังคับ มีสถานภาพเป็นกรรมการในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีอาชีพหลักในการทำสวนไม้ผล/ไม้ยืนต้น มีอาชีพรองค้าขาย มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.30 คน มีรายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 309,555.00 บาท มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 35.02 ไร่ ส่วนใหญ่มีการกู้ยืมเงินจาก ธกส. มีการรับรู้ข่าวสาร เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ/วิสาหกิจชุมชนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นประจำ/บ่อย มีความรู้ในการดำเนินวิสาหกิจชุมชน โดยประเด็นที่สมาชิกทั้งหมดตอบถูก คือ จำนวนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนและความหมายของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน รองลงมา คือ สิทธิ์ของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายในการขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุนการพัฒนากิจการตาม พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 และความหมายของกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชนในเรื่องของทัศนคติ พบว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีระดับทัศนคติในภาพรวมเห็นด้วยมาก โดยมีคะแนนสูงสุด ในประเด็นวิสาหกิจชุมชนก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพสินค้า/การบริการเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน สำหรับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในการรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยประเด็นที่ดำเนินการระดับมากที่สุด คือ การดำเนินงานโดยการรับผิดชอบต่อลูกค้า สินค้า การบริการ มีความซื่อสัตย์ ตรงเวลา มีคุณภาพ และปลอดภัย สำหรับปัญหาของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ จะมีปัญหาเหมือนกัน ปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ ขาดเงินทุนในการดำเนินงาน วัตถุดิบในการผลิตไม่เพียงพอ และขาดอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ ขาดตลาดรองรับผลผลิต และปัญหาด้านความรู้ คือ ขาดความรู้ในเรื่องการตลาด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดชุมพร
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร
มานะ วัลลภา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2551
ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโนนสง่า อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2552 การจัดการความรู้ด้านการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มอาชีพนอกภาคเกษตรในภาคกลาง การศึกษากระบวนการปลูกกาแฟ การแปรรูปกาแฟ และการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ จังหวัดชุมพร ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหัวแรด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านช่องน้ำไหล หมู่ 4 ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี แนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองยางไคล ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านหนองรีร่วมพัฒนา ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก