สืบค้นงานวิจัย
อนุกรมวิธานเชิงตัวเลขของข้าวก่ำนาสวนบางพันธุ์ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ธีระ ธรรมวงศา - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: อนุกรมวิธานเชิงตัวเลขของข้าวก่ำนาสวนบางพันธุ์ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Numerical taxonomy of the lowland black rice in the northeast of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธีระ ธรรมวงศา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thira Tamwongsa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาอนุกรมวิธานเชิงตัวเลขของข้าวก่ำพื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 21 ตัวอย่าง เพื่อใช้ในการจัดกลุ่ม และระบุข้าว โดยใช้ข้อมูลทางสัณฐานวิทยา 15 ลักษณะ ได้แก่ ความสูงของลำตัน สีของปล้อง สีของกาบใบ สีของข้อต่อใบ สีของเขี้ยวใบ สีของลิ้นใบ สีของแผ่นใบ การแตกแขนงของรวง สีของกาบล่างของดอกที่ลดรูป สีของปลายกาบบนและกาบล่าง สีของยอดเกสรเพศเมีย สีของข้าวเปลือก รูปร่างของข้าวเปลือก สีของข้าวกล้อง และรูปร่างของข้าวกล้อง และลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของเปลือกข้าว 2 ลักษณะ คือ พื้นผิวของกาบล่าง และความหนาของเปลือกข้าวกล้อง นำข้อมูลมาวิเคราะห์การจัดกลุ่มโดยให้ความสำคัญของทุกลักษณะเท่ากัน (Unweighted Pair Group Method with Arithmetic Mean, UPGMA) พบว่าการใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกับลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์สามารถจัดกลุ่มข้าวได้ 6 กลุ่ม โดยยืนยันการจัดกลุ่มด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis, PCA)
บทคัดย่อ (EN): Numerical Taxonomy of the some Lowland - Black Rice in the Northeast of Thailand. Twenty-one specimens, Group and identification. The specimens were planted twice for the morphological characters were found to be useful for identification within the specimens, namely the high of culm, the color of internode, the color of leaf sheath, the color of collar, the color of auricle, the color of ligule, the color of leaf blade, the type of secondary branching of panicles, the color of sterile lemma, the color of apiculus lemma and palea, the color of stigma, the color of grain, the shape of grain, the color of brown rice, and the shape of brown rice, And hull anatomical characters. Results showed that, The Unweighted Pair Group Method with Arithmetic Mean (UPGMA) was made using morphological and anatomical characteristics. Six groups using combined data of morphological and anatomical characters are recognized as the best result. The grouping was confirmed by Principal Component Analysis (PCA)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329745
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อนุกรมวิธานเชิงตัวเลขของข้าวก่ำนาสวนบางพันธุ์ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
กรมการข้าว
2555
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวก่ำสำหรับผู้สูงอายุ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การใช้ข้อมูล RADARSAT-1 SAR (standard mode) เพื่อทำแผนที่แสดงพื้นที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ดัชนีทนแล้งคัดพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทดสอบปุ๋ยกับหอมแดงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวก่ำของชุมชนชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูก ข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย การวิจัยและพัฒนาศักยภาพยางพาราสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก