สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในนาข้าว โดยชีววิธี (แมลงศัตรูธรรมชาติ) และการใช้สารป้องกันกำจัดแมลง
ปริศนา วงค์ล้อม, วราภรณ์ เรืองรัตน์, จตุพร ไกรถาวร, วิกันดา รัตนพันธ์ - มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในนาข้าว โดยชีววิธี (แมลงศัตรูธรรมชาติ) และการใช้สารป้องกันกำจัดแมลง
ชื่อเรื่อง (EN): Comparative of Biological Control and Chemical Control for Insect Pest in Rice Field
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาเปรียบเทียบการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในนาข้าวโดยชีววิธี การใช้สารเคมีกำจัดแมลง และการไม่ใช้ทั้งวิธีการควบคุมโดยชีววิธีและการใช้สารเคมี (แปลงควบคุม) ดำเนินการในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ผลการศึกษาพบว่า จำนวนประชากรแมลงศัตรูพืชมีการเปลี่ยนแปลงทั้งชนิดและปริมาณตามระยะการเจริญพัฒนาของข้าว โดยพบว่าในระยะที่ข้าวมีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ (สัปดาห์ที่ 1-2) แมลงศัตรูพืชที่มีการระบาดคือหนอนกระทู้กล้า Spodoptera mauritia (Boisduval) (Lepidoptera: Noctuidae) และหนอนห่อใบ Cnaphalocrocis medinalis (Guenee) (Lepidoptera: Pyralidae) ในระยะการเจริญพัฒนาทางการสร้างส่วนขยายพันธุ์ (สัปดาห์ที่ 3-5) และระยะการเจริญพัฒนาทางการสร้างเมล็ดของข้าว (สัปดาห์ที่ 6-8) แมลงศัตรูพืชที่ระบาดคือแมลงกลุ่มปากดูดทั้งเพลี้ยและมวน การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรของศัตรูธรรมชาติมีความแตกต่างจากแมลงศัตรูพืชคือเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรของแมลงศัตรูพืช จากการศึกษา พบว่า ด้วงเต่าตัวห้ำ Micraspis discolor (Fabricius) (Coleoptera: Coccinellidae) มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรสัมพันธ์ในทางบวกกับการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรของเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว Nephotettix sp. (Hemiptera: Cicadellidae) ที่เป็นอาหารหลัก แต่แมงมุมเขี้ยวยาว Tetragnatha sp. (Araneae: Tetragnathidae) และแมลงปอเข็ม Agriocnemis pygmaea (Odonata: Agrionidae) ที่กินเหยื่อได้หลากหลายชนิดกว่า มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรน้อยมาก โดยพบได้ตลอดระยะการปลูกข้าว ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณประชากรแมลงศัตรูพืชในทั้งสามแปลงไม่มีความแตกต่างในทุกระยะของการเจริญพัฒนาของข้าว ยกเว้นเพียงในระยะการเจริญเติบโตทางการสร้างส่วนขยายพันธุ์ของข้าว ซึ่งพบว่าแปลงควบคุมมีแมลงกลุ่มเพลี้ยน้อยกว่าแปลงสารเคมีและแปลงศัตรูธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ และปริมาณประชากรตั๊กแตนหนวดสั้นที่พบในแปลงศัตรูธรรมชาติน้อยกว่าแปลงอื่นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อข้าวอยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 3-5 และสัปดาห์ที่ 6-9 จำนวนตัวรวมของแมลงศัตรูพืชในทั้งสามแปลงไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในระยะสุดท้ายพบว่าจำนวนตัวรวมของแมลงศัตรูพืชในแปลงศัตรูธรรมชาติสูงกว่าแปลงควบคุมและแปลงสารเคมีอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการวิเคราะห์น้ำหนักข้าวที่ได้แต่ละแปลง พบว่าข้าวที่เก็บเกี่ยวจากแปลงศัตรูธรรมชาติมีน้ำหนักน้อยกว่าแปลงอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ข้าวที่เก็บเกี่ยวจากแปลงควบคุมและแปลงสารเคมีมีน้ำหนักไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
บทคัดย่อ (EN): The study on comparison of biological control, chemical control and natural control for insect pests in rice field was carried out in paddy field, Papayom, Phatthalung. Results presented that species and number of individual of rice pests varied to physiological stage of rice. Vegetative phase of rice growth (1-2 weeks), lepidopteran pests, Spodoptera mauritia (Boisduval) (Lepidoptera: Noctuidae) and Cnaphalocrocis medinalis (Guenee) (Lepidoptera: Pyralidae) was highest infestation in all study sites. For reproductive phase of rice growth (3-5 weeks) and grain formation phase of rice growth (6-9 weeks), planthopper insect and heteropteran insect populations were dominant groups. Population of natural enemies varied to population of rice pests. Population dynamic of Micraspis discolor (Fabricius) (Coleoptera: Coccinellidae), coccinellid predator, was related to the population of their major prey, green rice leafhopper, Nephotettix sp. (Hemiptera: Cicadellidae). In contrast, general predators, Tetragnatha sp. (Araneae: Tetragnathidae) and Agriocnemis pygmaea (Odonata: Agrionidae) were found throughout rice growth, with little change. The populations of rice pest species among three treatments during vegetative phase and grain formation phase of rice growth were not different. For reproductive phase of rice growth, control plot had significantly less hopper insects than other plots. Grasshopper (Orthoptera: Acrididae) populations in natural enemies plot had less than other plots obviously during reproductive phase and grain formation phase of rice growth. The total number of rice pest was not different among three treatments during vegetative phase and reproductive phase of rice growth. However, the total number of rice pest in natural enemies plot was higher significantly than other plots during grain formation phase of rice growth. Grain weight analysis presented that weight of grain harvested from natural enemies plot was lowest. Grain weight of control and chemical plots was not significantly different.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในนาข้าว โดยชีววิธี (แมลงศัตรูธรรมชาติ) และการใช้สารป้องกันกำจัดแมลง
มหาวิทยาลัยทักษิณ
30 กันยายน 2552
การสำรวจแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สหสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมกับแมลงศัตรูข้าวและแมลงศัตรูธรรมชาติ ในศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ผลของสารชีวินทรีย์และสารสกัดจากพืชต่อแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติในนาข้าวอินทรีย์ การสำรวจศัตรูธรรมชาติของแมลง ไร ศัตรูพริก และการควบคุมโดยชีววิธี การประยุกต์ใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวในภาคเหนือตอนล่าง ผลกระทบของสารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลต่อความหลากชนิดของศัตรูธรรมชาติในนาข้าวจังหวัดสกลนคร การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน การสำรวจชนิดและปริมาณแมลงศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ ในข้าวพื้นที่ดินเปรี้ยวเขตนาน้ำฝนศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก