สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประวัติ พื้นผาสุข - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Teacher Profession Internship Development by Participatory Faculty of Education Chiang Mai Rajabhat University
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประวัติ พื้นผาสุข
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่อง การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พัฒนาความรู้ความเข้าใจในกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยการจัดทำคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยการมีส่วนร่วมและเพื่อประเมินประสิทธิผลและความพึงพอใจของคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้เลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มประชากรโดยใช้ตารางของเครจชี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เป็นตัวกำหนด ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 169 คน ครูพี่เลี้ยง 169 คน คณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 44 คน กลุ่มอาจารย์นิเทศก์ 132 คนและกลุ่มนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 269 คน รวมทั้งสิ้น 783 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ แบบสรุปผล การอภิปรายกลุ่ม(Focus Group) คู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 1 เล่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สรุปและสังเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอ เชิงพรรณนาประกอบตาราง การวิจัย การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ผลสรุปดังนี้ 1. ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง คณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์นิเทศก์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยรวมเห็นว่า กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีปัญหาและอุปสรรคของอยู่ในระดับมาก รายการที่มีปัญหาและอุปสรรคมากสาม อันดับแรกเรียงลำดับมากไปหาน้อย อันดับแรกคือ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการออกนอกบริเวณสถานศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และการแต่งกายของนักศึกษา รายการที่มีปัญหาและอุปสรรคน้อยสามอันดับสุดท้ายคือ ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปรับสภาพการจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานได้ ประกาศเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษาสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของคุรุสภา ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจขอบข่ายและการร่วมมือกันทำงานของทุกฝ่ายในกระบวนการจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ส่วนความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นว่า มีปัญหาและอุปสรรค ได้แก่การเปิด-ปิดภาคเรียนไม่ตรงกัน ทำให้มีปัญหาในเรื่องการลงทะเบียนของนักศึกษา การนิเทศและการเบิกจ่ายสวัสดิการต่างๆตามสิทธิ์ในการเดินทางไปนิเทศนิเทศมีขั้นตอนยุ่งยาก การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีเอกสารที่เกี่ยวข้องมากเกินไป นักศึกษาไม่สามารถทำแผนการจัดการเรียนรู้ได้ ขาดมนุษยสัมพันธ์ เก็บตัว ไม่ชอบการทำงานเป็นทีม มีวุฒิภาวะที่ไม่พร้อมจะเป็นครู 2. การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่โดยการจัดทำคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยการมีส่วนร่วม การพัฒนาความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผ่านกระบวนต่างๆ ได้แก่ การจัดประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูนิเทศและครูพี่เลี้ยงจากโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูหรือสถานศึกษาอันเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์นิเทศจากคณะครุศาสตร์และคณะร่วมผลิต บุคลากรของศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และการพัฒนาผ่านคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของคณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก 3. ประสิทธิผลและความพึงพอใจในกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตามคู่มือ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง คณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์นิเทศก์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยรวมเห็นว่า มีประสิทธิผลและความพึงพอใจในระดับมาก
บทคัดย่อ (EN): Research on the development of participatory professional experience teaching process in Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. The objectives of this research were to study the problems and obstacles of the professional teacher training process. Develop knowledge and understanding in the process of practicing professional teachers in the Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. By developing a hands-on, experienced teacher training manual and evaluating the effectiveness of the professional teacher training manual. The sample used in this study was specifically selected from the population using the Krejcie & Morgan tables. It consists of 169 school administrators, 169 mentors 44 teachers, 44 teachers, 132 teachers and the group of 269 professional teachers experienced a total of 783 teachers. The instruments used for data collection were three questionnaires, Focus Group Discussion Handbook of Teacher Professional Experience, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. Quantitative data analysis uses percentage, mean, and standard deviation. Qualitative data use content analysis summarize and synthesize data then present descriptive tables. Research on the development of participatory professional experience teaching process in Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University The results are as follows. 1. The study of problems and obstacles in the process of teacher professional experience. According to the opinions of the administrators of educational institutes, teachers, mentors, Counselor Experienced Teacher overall that. The process of practicing teachers professional experience, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University, the problems and obstacles are at a high level. The list is very problematic and three obstacles. First, order first practice about out-of-school, education Participation in university activities and student uniform. The last three issues with the least number of problems and obstacles were, relevant agencies can adjust the management of the professional experience of teachers to meet the standards, announcing the school benchmark for practicing teachers professional experience and the teachers involved in the scope and cooperation of all parties in the process of professional experience training teachers of Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. The opinion of the experts and the involved parties. Problems and obstacles include: Opening and closing sessions do not match, There is a problem with student registration, supervision and welfare disbursement in accordance with the right to travel to supervised supervision has been a difficult one, the evaluation of professional experience teacher training has too many related documents, students can not make a learning plan, lack of interpersonal intolerance, not like teamwork and there is no maturity to be a teacher. 2. The development of knowledge and understanding in the process of practicing professional teachers in the Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. Development of Knowledge and Participation in Teacher Professional Experience Training Process, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University through various procedures organizing; meetings administrators, administrators Supervision teacher and co-teacher from school joint development of teacher profession or school as a source of professional experience teacher professions from Faculty of Education and Faculty Personnel of the Teacher Training Center And development through the professional teacher training experience guide of the Faculty of Education Chiang Mai Rajabhat University overall, there is a high level of action. 3. Effectiveness and Satisfaction in Teacher Professional Experience Training Process: According to the instruction manual of teacher professional experience through the participatory process of the teacher professional training center, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. The opinions of the administrators of educational institutes, teachers, mentors, Counselor Experienced Teacher overall that effectiveness and high level of satisfaction
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
30 กันยายน 2558
การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันพัฒนาความสามารถในการดำเนินการงานวิจัยในชั้นเรียน ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อิทธิพลของสื่อมวลชนในการเสริมสร้างความร่วมมือและมีส่วนร่วมกระบวนการพัฒนาชนบท การประเมินคุณภาพฟักทอง (Cucurbita spp.) และการพัฒนากระบวนการที่เหมาะสมในการผลิตแป้งฟักทอง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ การศึกษากระบวนการและการติดตามการทำงานแบบกลุ่มบูรณาการของทีมนักวิจัยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามวิถีล้านนาด้วยนวัตกรรมและแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเทศบาลตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว เชียงใหม่ โครงการศึกษารูปแบบและกระบวนการพัฒนาองค์กรชุมชนบนพื้นที่สูง โครงการ การพัฒนากระบวนการผลิตลูกเดือยหุงสุกเร็ว ประเมินผลกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ภาคตะวันตก โครงการการพัฒนากระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำอีสาน การศึกษากระบวนการผลิตข้าวก่ำเปลือกนึ่ง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม การจัดการกระบวนการเรียนรู้สำหรับชุมชนบนพื้นฐานของการพัฒนาระบบการเกษตรที่ยั่งยืนของอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก