สืบค้นงานวิจัย
เอนไซม์ย่อยเยื่อใยจาก 2 แหล่งต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และผลผลิตนํ้านมของโคนม
จิตราภรณ์ เยียนเพชร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: เอนไซม์ย่อยเยื่อใยจาก 2 แหล่งต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และผลผลิตนํ้านมของโคนม
ชื่อเรื่อง (EN): Two fibrolytic enzyme sources on intake, digestibility and milk production in dairy cows
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิตราภรณ์ เยียนเพชร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chittraporn Yeanpet
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เอนไซม์ย่อยเยื่อใยจาก 2 แหล่งในสูตรอาหารผสมสำเร็จ ต่อปริมาณการ กินได้ การย่อยได้ และการให้ผลผลิตน้ำนมของโคนมพันธุ์ลูกผสม โฮสไตน์ฟรีเซี่ยนที่ให้นมครั้งแรก จำนวน 4 ตัว โดยวางแผนการ ทดลองแบบ 4x4 Latin square มี 4 สูตรอาหารทดลอง โดย สูตรอาหารทดลองที่ 1 คือ สูตรอาหารผสมสำเร็จไม่ผสมเอนไซม์ สูตร อาหารทดลองที่ 2 คือ สูตรอาหารผสมสำเร็จผสมเอนไซม์ย่อยเชื่อใย A ที่อัตรา 350 กรัมต่อ 1000 กิโลกรัม สูตรอาหารทดลองที่ 3 คือ สูตรอาหารผสมสำเร็จผสมเอนไซม์ย่อยเยื่อใย B ที่อัตรา 350 กรัมต่อ 1000 กิโลกรัม และสูตรอาหารทดลองที่ 4 คือ สูตร อาหารผสมสำเร็จผสมเอนไซม์ย่อยเยื่อใย A ที่อัตรา 175 กรัมต่อ 1000 กิโลกรัม ร่วมกับ เอนไซม์ย่อยเยื่อใย B ที่อัตรา 175 กรัมต่อ 1000 กิโลกรัม จากการศึกษา พบว่า การเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยจาก 2 แหล่ง ไม่มีผลต่อปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งและ โภชนะ สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้งโภชนะ ผลผลิตน้ำนม ประสิทธิภาพการใช้อาหาร แอมโมเนีย-ไนโตรเจน และความ เป็นกรด-ด่างในกระเพาะรูเมน (pH) (P>0.05) แต่พบว่า สูตรอาหารผสมสำเร็จที่เสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยจากแหล่งเดียวมี สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุและเยื่อใย NDF มีแนวโน้มสูงกว่าสูตรอาหารผสมสำเร็จที่เสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อ ใยจาก 2 แหล่งร่วมกัน (P<0.1) การทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า การเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยจาก 2 แหล่งไม่มีผลต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และผลผลิต
บทคัดย่อ (EN): This study was conducted to determine the effect of two fibrolytic enzyme sources in total mixed ration (TMR) on intake, digestibility and milk production in primiparous Holstein Frisian Crossbred dairy cows. The experiment was designed as a 44 Latin square designs with 4 dietary treatments. Treatment 1 was TMR (without enzyme), treatment 2 was TMR with enzyme A at 350 g/1000 kg, treatment 3 was TMR with enzyme B at 350 g/1000 kg and treatment 4 was TMR with enzyme A at 175 g/1000 kg with enzyme B at 175 g/1000 kg. The results showed that intake, digestibility, milk production, feed efficiency, NH3-N and ruminal pH were not different among dietary treatments (P>0.05). However, digestion coefficient of DM, OM, and NDF in TMR supplemented with one enzyme trended to be higher than in TMR supplemented with two enzymes (P<0.1). It is therefore concluded that using fibrolytic enzyme sources in TMR did not show any effect on intake, digestibility and milk production in the primiparous lactating cows.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=141.pdf&id=460&keeptrack=29
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เอนไซม์ย่อยเยื่อใยจาก 2 แหล่งต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และผลผลิตนํ้านมของโคนม
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของระดับเอนไซม์ย่อยเยื่อใยในสูตรอาหารผสมสำเร็จต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้และผลผลิตน้ำนม ในโคให้นม ผลของเอนไซม์ย่อยเยื่อใยต่อประสิทธิภาพการผลิตและการย่อยได้ ของไก่เนื้อ ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และการผลิตก๊าซมีเทนในโคเนื้อ ผลของการใช้ใบอ้อยและฟางข้าวในอาหารผสมสำเร็จหมัก (FTMR) ต่อการกินได้ การย่อยได้ และจุลินทรีย์ในรูเมนของแกะ ผลของข้าวโพดดัดแปลงโปรตีนสูงต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้และสมรรถนะการเจริญเติบโตในไก่กระทง ผลของเมล็ดมะไฟจีนผงต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่กระทง ผลของการเสริมกากเม่าต่อปริมาณการกินได้และการย่อยได้ ของโภชนะในแพะ ผลของระดับการกินได้พลังงานต่อการผลิตแก๊สมีเทนในโคเนื้อพื้นเมืองไทย และโคพันธุ์บราห์มันลูกผสม ผลของชนิดของไขมันต่อปริมาณการกินได้และการย่อยได้ของโภชนะ ในแพะเนื้อ ผลของการเสริมฟางหมักยูเรียเป็นอาหารเยื่อใยเสริมในอาหารผสมครบส่วนต่อปริมาณการกินได้อย่างอิสระ ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะผลผลิตสุดท้ายจากกระบวนการหมักในรูเมนและผลผลิตน้ำนมในโครีดนม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก