สืบค้นงานวิจัย
ผลของปริมาณการให้น้ำ และระยะเวลาสิ้นสุดการให้น้ำต่อถั่วเขียวบนดินชนิด Silty Clay Loam
วันชัย ถนอมทรัพย์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ผลของปริมาณการให้น้ำ และระยะเวลาสิ้นสุดการให้น้ำต่อถั่วเขียวบนดินชนิด Silty Clay Loam
ชื่อเรื่อง (EN): Irrigation Amounts and Timing of Irrigation Termination Affecting Mungbean on a Silty Clay Loam Soil
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วันชัย ถนอมทรัพย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wanchai thanomsub
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ: ถั่วเขียว
บทคัดย่อ: ได้ดำเนินการทดลองเพื่อตรวจสอบผลของปัจจัยการให้น้ำและการสิ้นสุดให้น้ำในช่วงการเติบโตระยะต่าง ๆ ที่มีต่อถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 36 ที่ปลูกบนดินชนิด silty clay loam ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ปี 2538 และ 2539 วางแผนการทดลองแบบ split plot design จำนวน 3 ซ้ำ main plots ได้แก่ การให้น้ำโดยใช้อัตราส่วนระหว่างปริมาณน้ำที่ให้ต่อค่าการระเหย (IW/E) 4 อัตราคือ 0.1 , 0.2 , 0.4 และ 0.8 sub-plots ประกอบด้วยการสิ้นสุดให้น้ำในช่วงการเจริญเติบโตระยะ V4, R1 และ R5 พบว่า โดยทั่ว ๆ ไปทั้งสองการทดลองให้ผลในแนวเดียวกัน และไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการให้น้ำและระยะเวลาสิ้นสุดการให้น้ำ มีการให้น้ำตลอดฤดูปลูกระหว่าง 2-5 และ 2-4 ครั้ง สำหรับการทดลองปี 2538 และ 2539 ตามลำดับ ปริมาณน้ำที่ให้ตลอดฤดูปลูกมีค่า 12-216 มม. สำหรับการทดลองปี 2538 และ 12-192 มม. สำหรับการทดลองปี 2539 leaf area inbdex (LAI), leaf area duration (LAD) และ crop growth rate (CGR) มีค่าสูงสุดและต่ำสุดเมื่อให้น้ำที่ IW/E 0.8 และ 0.1 ตามลำดับ การหยุดใหน้ำที่ระยะ R5 ให้ค่า LAI, LAD และ CRG สูงสุดขณะที่การหยุดให้น้ำที่ระยะ V4 ให้ค่าดังกล่าวต่ำสุด การให้น้ำที่ IW/E 0.1 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 135-118 กก./ไร่ แต่เมื่อเพิ่มการให้น้ำเป็นที่ IW/E 0.2, 0.4 และ 0.8 ผลผลิตเพิ่มขึ้น 11-14, 28-29 และ 50-53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การหยุดให้น้ำที่ระยะ V4 ให้ผลผลิต 120-148 กก./ไร่ แต่เมื่อเลื่อนการหยุดให้น้ำเป็นที่การเจริญเติบโตระยะ R1 และ R5 ผลผลิตเพิ่มขึ้น 11-18 และ 26-44 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จำนวนฝัก/ต้น และเมล็ด/ฝัก เพิ่มขึ้นในทางตรงกันข้าม ขนาดเมล็ดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเพิ่มปริมาณการให้น้ำจาก IW/E 0.1 เป็น 0.8 และเมื่อเลื่อนระยะเวลาการหยุดให้น้ำจากระยะ V4 เป็น R5
บทคัดย่อ (EN): Responses of a mungbean cultivar, Chai Nat 36, to irrigation level and timing of irrigation termination were examined on a silty clay loam soil at Chai Nat Field Crop Research Centre in 1995 and 1996. The number of irrigation applications were 2-5 and 2-4 for the 1995 and 1996 experiments respectively, and total amounts of water were 12-216 and 12-192 mm, depending upon irrigation tates and timing of last irrgation. There were no interactions between irrigation amounts and timing of irrigation termination in both irrigation rates up to the highest rate, IW/E (ratio of irrigation water to evaporation) 0.8. Irrigation applied through R5 gave the greatest LAI, LAD and CGR, whereas irrigation terminated at V4 showed the lowest. Seed yields increased up to 53% with increasing irrigation rates from IW/E 0.1 to 0.8. Irrigation terminated at V4 reduced seed yields 18 and 44% as compared to irrigation terminated at R1 and R5, respectively. Reduction in the number of pods/plant and seeds/plant and seeds/pld was the major factor causing a smaller yield of lower irrigation rates and irrigation terminated at early growth stages.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2540
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2540
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของปริมาณการให้น้ำ และระยะเวลาสิ้นสุดการให้น้ำต่อถั่วเขียวบนดินชนิด Silty Clay Loam
กรมวิชาการเกษตร
2540
เอกสารแนบ 1
การตอบสนองของพันธุ์ถั่วเขียวต่อการให้น้ำต่างระดับ : การเจริญเติบโตของต้น การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียว (Vigna radiata L.) เพื่อเพิ่มผลผลิต ระยะที่ 2 อิทธิพลของประชากรถั่วเขียวต่อการแข่งขันของวัชพืช การคัดเลือกถั่วเขียวแบบต้นต่อแถว 2 สายพันธุ์ การสกัดและการวิเคราะห์สารแอนติออกซิแดนท์ในเปลือกถั่วเหลืองและเปลือกถั่วเขียว โรคใบจุด corynespora ของถั่วเขียวผิวดำ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียว 3 วิธี การผลิตขยายเมล็ดถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ การประเมินผลเสียหายของถั่วเขียวที่ปลูกหลังนาเนื่องจากแมลงศัตรู ผลของสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อรา Cercospora canescens จากถั่วเขียว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก