สืบค้นงานวิจัย
การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม
กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
บทคัดย่อ: ประเภทองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน องค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามกฎหมาย 1. ประเภทไม่เป็นนิติบุคคล - กลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานพื้นฐาน มีขอบเขตพื้นที่แฉกส่งน้ำ 1 แฉกหรือคูน้ำ 1 สาย หรือ 1 ช่วงคลองส่งน้ำ - มีขอบเขตพื้นที่ในคลองส่งน้ำสายใดสายหนึ่ง ได้แก่ คลองส่งน้ำสายใหญ่ คลองซอย คลองแยกซอย 1 สาย หรือโซนส่งน้ำ 1 โซน หรืออาจครอบคลุมทั้งพื้นที่โครงการชลประทาน 2. ประเภทเป็นนิติบุคคล เป็นองค์กรผู้ใช้น้ำที่จดทะเบียนไว้กับหน่วยงานภาครัฐ - กลุ่มเกษตรผู้ใช้น้ำชลประทาน จดทะเบียนจัดตั้งกับนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัด ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย กลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพการเกษตรกรรม สามารถนำผลกำไรมาแบ่งปันให้กับสมาชิกตามหุ้นได้ - สมาคมผู้ใช้น้ำชลประทาน จดทะเบียนตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 สามารถดำเนินธุรกิจได้ แต่ผลกำไรแบ่งปันกันไม่ได้ - สหกรณ์ผู้ใช้น้ำชลประทาน จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 สามารถดำเนินธุรกิจและแบ่งปันผลกำไรได้ การบริหารองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน 1. การบริหารงานองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทานที่ดี - จะต้องมีการทำงานเป็นทีมของคณะกรรมการฯ ด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ - จะต้องมีระเบียบข้อบังคับที่ได้รับการยอมรับจากสมาชิก - จะต้องมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารองค์กรผู้ใช้น้ำฯ ตามวาระการดำรงตำแหน่ง - จะต้องมีการจัดทำแผนปฏิทินดำเนินกิจกรรมประจำปี - จะต้องมีการจัดตั้งกองทุน เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการน้ำฯ - จะต้องมีการจัดทำบันทึกข้อตกลง และปฏิบัติตามด้วยความเสมอภาค - จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้สมาชิกทราบทั่วกันอย่างสม่ำเสมอ 2. ระบบการประสานงานที่ดี - จะต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ชลประทาน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง - จะต้องมีการประชุมใหญ่กลุ่มบริหารฯ ปีละ 2 ครั้ง เพื่อชี้แจงแผนการส่งน้ำ แผนการใช้น้ำประจำฤดูผลและผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มบริหารฯ - จะต้องมีการพบปะระหว่างหัวหน้ากลุ่มพื้นฐานกับประธานกลุ่มบริหารฯ ณ จุดนัดพบ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง - จะต้องมีการนัดพบกันระหว่างสมาชิกผู้ใช้น้ำกับหัวหน้ากลุ่มพื้นฐาน อย่างน้อยฤดูกาลส่งน้ำละ 2 ครั้ง 3. บริเวณที่ทำการกลุ่มจะต้องจัดทำบอร์ดแสดง - แผนที่แสดงขอบเขตองค์กรผู้ใช้น้ำ - โครงสร้างรางองค์กร - บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่ง - ระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม - แผน-ผล ปฏิทินดำเนินกิจกรรมประจำปี - บัญชีรายรับ-รายจ่ายกองทุนกลุ่มฯ - รายงานการประชุมทุกครั้ง - ภาพแสดงกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มฯ กองทุนชลประทาน กองทุนชลประทาน เป็นกองทุนของกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน ที่สมาชิกร่วมกัน จัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมใหญ่บริหารโดยคณะกรรมการบริหารกลุ่มฯ เพื่อประโยชน์ของกลุ่มๆ ทำไมต้องมีกองทุนชลประทาน เพราะการดำเนินงานบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำมีค่าใช้จ่ายส่วนกลางเกิดขึ้น เช่น ค่าติดต่อประสานงาน ค่าเอกสาร ค่าเครื่องดื่ม ฯลฯ จึงจำเป็นต้องมีกองทุน และเมื่อมีจำนวนเงินมากขึ้นก็สามารถนำไปซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบชลประทานในส่วนที่กลุ่มรับผิดชอบได้อีกด้วย กองทุนชลประทานเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดจากมติที่ประชุมใหญ่ของกลุ่มฯ ด้วยความเต็มใจของสมาชิกผู้ใช้น้ำ โดยการรวมทุนอาจอยู่ในรูปของตัวเงิน แรงงาน หรือผลผลิต หลักการบริหารกองทุนชลประทาน บริหารโดยคณะกรรมการบริหารกลุ่มฯ หลักเกณฑ์การเก็บเงิน-จ่ายเงิน จะกำหนดโดยที่ประชุมใหญ่ของกลุ่มฯ มีการทำบัญชีที่โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ บัญชีรายรับ-รายจ่าย กองทุนจะต้องติดประกาศให้สมาชิกทราบตลอดเวลา เมื่อองค์กรผู้ใช้น้ำมีกองทุนชลประทาน มีความคล่องตัวในการบริหารงานด้านส่งน้ำและบำรุงรักษา ระบบชลประทานมีสภาพพร้อมใช้งาน ทำให้มีประสิทธิภาพและสามารถส่งน้ำให้กับสมาชิกได้อย่างทั่วถึง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่: อื่นๆ
หมวดหมู่ AGRIS: C การศึกษา การส่งเสริม และการเผยแพร่ (Education, extension, and advisory work)
เจ้าของลิขสิทธิ์: กรมชลประทาน
รายละเอียด: Submitted by รดา รุจณรงค์ กรมชลประทาน (rada_ru@rid.go.th) on 2018-04-27T04:50:37Z No. of bitstreams: 21 Poster Page 01.pdf: 1913413 bytes, checksum: 439690f66bd67b01479729a0e9e306ef (MD5) Poster Page 02.pdf: 2300948 bytes, checksum: 73be541a41e0ef03f1606d9362de7952 (MD5) Poster Page 03.pdf: 2355523 bytes, checksum: 13b39f8879d1ad95c0e4faf0c5c205ea (MD5) Poster Page 04.pdf: 2196959 bytes, checksum: 4a5d6991b9fadd52c3df9b40d19e02b9 (MD5) Poster Page 05.pdf: 2143010 bytes, checksum: 5d2a6302d52c607252fb7ced2489f9ef (MD5) Poster Page 06.pdf: 2253468 bytes, checksum: 2df8929b827251e756eebc24cdc524fe (MD5) Poster Page 07.pdf: 2396185 bytes, checksum: 6489f3e1d4e77d95ef02b942a47751c5 (MD5) Poster Page 08.pdf: 2116131 bytes, checksum: 630358bc7e1f64587595fee2dfac852e (MD5) Poster Page 09.pdf: 1759094 bytes, checksum: cdc20c3545b8e092467029faea39a264 (MD5) Poster Page 11.pdf: 2213983 bytes, checksum: 2eb25b614127e9186bb665b753122db0 (MD5) Poster Page 12.pdf: 1847246 bytes, checksum: 57da4a2b3bd5f94d494d85b5a491dec2 (MD5) Poster Page 13.pdf: 2663332 bytes, checksum: 4da9e2ee32c78d87c1ded8c4578c9f63 (MD5) Poster Page 14.pdf: 1350162 bytes, checksum: 3add234642056da402f9645f96a1c9a2 (MD5) Poster Page 15.pdf: 1290521 bytes, checksum: 2098f3e0570c54b95272dd502debb4e3 (MD5) Poster Page 16.pdf: 1281268 bytes, checksum: 85ea90792394e432560eea9eaaa3000b (MD5) Poster Page 17.pdf: 2013515 bytes, checksum: 2327f82819581e106cca2936e1323919 (MD5) Poster Page 18.pdf: 1537010 bytes, checksum: 46860470ddd0a738a5db3f74c4aeaa80 (MD5) Poster Page 19.pdf: 1846088 bytes, checksum: 32f25e328ecbb7e5a9785f8931b0ab6b (MD5) Poster Page 20.pdf: 1356495 bytes, checksum: 928ca0dfeffd0c8002c978474cd404a0 (MD5) Poster Page 21.pdf: 1225653 bytes, checksum: 5a8416bd0f8cf7c057be42e0d33f42f0 (MD5) license_rdf: 811 bytes, checksum: 53b05846eb6eeb1c33891ab08e36a383 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม
กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กรมชลประทาน
การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ชุด 1 การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ชุด 2 การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษา การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษา (VDO) ก้าวสู่ความสำเร็จการบริหารจัดการชลประทาน โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี คู่มือการส่งน้ำและบำรุงรักษา โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมตามกระบวนการ 14 ขั้นตอน การส่งเสริมการเรียนรู้การทำเกษตรยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมของเยาวชนและเกษตรกร ตำบลเกาะโพธิ์ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก การจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มยุวเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา โรงเรียนชุมชนทมป่าข่า ตำบลทมนางาม อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าวอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรโครงการภูฟ้าพัฒนา ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยางในจังหวัดระยองโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก