สืบค้นงานวิจัย
ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทานและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปีที่ 2
อุดมเกียรติ เกิดสม - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทานและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปีที่ 2
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of drainage water from paddy field to irrigation canal, soil and water conservation (2nd year)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุดมเกียรติ เกิดสม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Udomkiat Kerdsom
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: อื่นๆ
บทคัดย่อ: ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทานและการอนุรักษ์ดินและน้ำปีที่ 2 ดำเนินการทดลองที่สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 8 (นครศรีธรรมราช) อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 19 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2558 รวม 138 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อการตื้นเขินของคลองชลประทาน เพื่อศึกษาผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อต้องการทราบระยะเวลาที่เหมาะสมในการระบายน้ำหลังทำเทือกนาหว่านน้ำตม น้ำชลประทานที่ใช้ในการทำเทือกสุทธิ 188 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำระบายออกเท่ากับ 87 มิลลิเมตร วางแผนทดลองแบบ RCBD (Randomized Complete Block Design) ประกอบด้วย 4 วิธีการทดลอง 4 ซ้ำ โดยมีวิธีการทดลองดังนี้ วิธีการที่ 1 ระบายน้ำหลังจากทำเทือกแล้วทันที วิธีการที่ 2 ระบายน้ำหลังจากทำเทือกแล้ว 1 วัน วิธีที่ 3 ระบายน้ำหลังจากท่าเทือกแล้ว 2 วันและวิธีการที่ 4 ระบายน้ำหลังจากทำเทือกแล้ว 3 วัน ซึ่งปรากฎผลดังนี้ วิธีการทดลองที่ระบายน้ำหลังจากทำเทือกแล้วทันที มีผลกระทบต่อการตื้นเขินของคลองชลประทาน เนื่องจากน้ำทำเทือกที่ระบายลงสู่คลองชลประทานมีตะกอนแขวนลอยที่ปะปนมากับน้ำระบายทำเทือก อาจเกิดการทับถมของตะกอนแขวนลอย ซึ่งจะส่งผลต่อการคืนเป็นของคลองชลประทานได้ ตลอดทั้งยังส่งผลต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำทั้งในด้านการสูญเสียหน้าดินในรูปตะกอนแขวนลอยที่ระบายไปกับน้ำท่าเทือกและคุณภาพน้ำของน้ำทำเทือกที่ระบายลงสู่คลองขลประทานที่ไม่ค่อยได้มาตรฐานคุณภาพน้ำ ทิ้งในทางน้ำชลประทานด้วย ดังนั้นระยะเวลาที่เหมาะสมในการระบายน้ำหลังทำเทือกนาหว่านน้ำตม คือวิธีการทดลองที่ระบายน้ำหลังทำเรื่องแล้ว 1 วัน เหมาะสมที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Effects of drainage to make paddy fields, sown water, affecting irrigation canals and soil and water conservation for the 2nd year. The experiment was carried out at the Irrigation Water Experiment Station 8 (Nakhon Si Thammarat), Chian Yai District. Nakhon Si Thammarat Province Between 19 January 2015 and 5 June 2015, totaling 138 days, the objective was to study the effect of the drainage of the floodplain on the shallow water of the irrigation canal. To study the effects of drainage and sowing rice fields affecting soil and water conservation. In order to know the proper time for draining water after making the rice fields Irrigation water used in the netting of 188 millimeters, the amount of drainage water was 87 millimeters. The RCBD (Randomized Complete Block Design) experiment was planned, consisting of 4 methods and 4 replications. and immediately. Method 2, drain water after 1 day of ladle surgery, method 3, drain water after 2 days of lagoon treatment, and method 4, drain water after 3 days of lagoon treatment. The results are as follows. An experimental method that drains water immediately after making the casket. It affects the shallowness of irrigation canals. This is because the river water that drains into the irrigation canal contains suspended sediment mixed with the river drainage water. Suspended sediment deposition may occur. This will affect the return of the irrigation canal. Throughout, it also affects soil and water conservation in terms of soil loss in the form of suspended sediment that is drained into the river basin and the water quality of the river basin water that is drained into the Khkhprathan Canal that is not up to standard. water quality base Dispose of in irrigation water. Therefore, the appropriate time for drainage after doing the rice paddy fields. It is an experimental method that drains water after 1 day of treatment is most suitable.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 8 (นครศรีธรรมราช)
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สวพ. 18/2557
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 5730018
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 305,388
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://drive.google.com/file/d/11jmE-ybPx09TbegUq_KXfFEwqnGw3gtg/view?usp=share_link
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by รดา รุจณรงค์ กรมชลประทาน (rada_ru@rid.go.th) on 2019-03-11T07:51:38Z No. of bitstreams: 2 สวพ 18-2557.pdf: 944057 bytes, checksum: 3ecdb86dcb39209242d99fec69b9143d (MD5) license_rdf: 811 bytes, checksum: 53b05846eb6eeb1c33891ab08e36a383 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทานและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปีที่ 2
สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน
2557
เอกสารแนบ 1
กรมชลประทาน
ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทาน และการอนุรักษ์ดินและน้ำ (ปีที่ 2) ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทานและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปีที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และพืช การศึกษาการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมในแบบจำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา ความถี่ อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำสำหรับอ้อยในเขตชลประทานภาคกลาง การควบคุมแมลงศัตรูข้าวในนาหว่านน้ำตม การศึกษาประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองท่าตะเภาภายหลังการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าตะเภา จังหวัดชุมพร การจัดทำถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจนสำหรับชุมชนริมคลองชลประทาน ผลกระทบของปุ๋ยหมักต่อสมบัติทางกายภาพบางประการของดิน การควบคุมวัชพืชในนาหว่านน้ำตมของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก