สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาศักยภาพการปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ของวิธีการจัดการดินแบบเกษตรอินทรีย์ในชุดดินสันป่าตอง
สุวิมล พุทธจรรยาวงศ์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาศักยภาพการปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ของวิธีการจัดการดินแบบเกษตรอินทรีย์ในชุดดินสันป่าตอง
ชื่อเรื่อง (EN): Study in Potential of Nitrogen Mineralization from Soil Management in Organic Farming in Sanpatong Series
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุวิมล พุทธจรรยาวงศ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาศักยภาพการปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประ โยชน์ของวิธีการจัดการดินแบบ เกษตรอินทรีย์ในชุดดินสันป้าตอง ณ บ้านห้วยตึงเฒ่า ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤยภาคม 2549 ถึง เดือนกันยายน 2551 เพื่อเปรียบเทียบอัตราการปลดปล่อย ไนโตรเจนที่เป็นประ โยชน์ของปุ๋ยพืชสด 4 ชนิด และอัตราการปลดปล่อยใน โตรเจนที่เป็นประโยชน์ เมื่อใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ในชุดดินสันป่าตอง ซึ่งการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย 1) การศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยวางแผนการทคลองแบบ Completely Randomize Design (CRD) จำนวน ตำรับ 3 ซ้ำ ประกอบด้วย ตำรับที่ 1 กวบคุมไม่ใส่พืชปุ๋ยสด ตำรับที่ 2 การบ่มดินกับถั่วพร้า ตำรับที่ 3 การบ่มดินกับถั่วพุ่มดำ ตำรับที่ 4 การบ่มดินกับปอเทือง และตำรับที่ 5 การบ่มดินกับ โสนอัฟริกัน และ 2) การศึกษาในภาคสนาม วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCB) จำนวน 4ตำรับ 3 ซ้ำ ประกอบด้วย ตำรับที่ 1 แปลงเปรียบเทียบ ตำรับที่ 2 ปุ้ยหมัก อัตรา 2 ตัน/ไร่ ตำรับที่ 3 ปลูกปอเทืองเป็นพืชปุ๊ยสดอัตราเมลีด 5 กิโลกรัม/ไร่ และตำรับที่ 4 ปลูกถั่ว พุ่มดำเป็นพืชปุ๋ยสด อัตราเมล็ด 8 กิโลกรัม/ไร่ ผลจากการศึกยาในห้องปฏิบัติการ โดยการบ่มดินกับพืชปุ๋ยสด อัตราส่วนปริมาณน้ำหนัก แห้งของพืชปุ๊ชสดที่ให้ไน โตรเจน 200 ไมโครกรัมต่อดิน 1 กรัม พบว่า ปริมาณไนโตรเจนที่ถูก ปลดปล่อยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและผันแปร ไปในแต่ละช่วงเวลาของการบ่ม ซึ่งปริมาณนโตรเจนที่ถูกปลดปล่อยจะต่ำลงและต่ำกว่าไม่ใส่พืชปุ๋ยสดในช่วง 14 วันแรกของการ บ่มดินกับพืชปุขสด หลังจากนั้นจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ที่ระยะ 60 วันของการบ่ม ปริมาณในโตรเจน สะสมของถั่วพร้าและถั่วพุ่มคำจะเพิ่มสูงกว่าไม่ใส่พืชปุ๋ยสด และที่ 90 วันของการบ่มสำหรับ ปอเทืองและโสนอัฟริกัน ผลการศึกษาในภาคสนาม พบว่า ปุ้ยหมักมีอัตราการปลดปล่อยเร็วกว่า ถั่วพุ่มดำและปอเทือง โดยสามารถปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ทันทีที่ใส่ลงในดิน ส่วนถั่วพุ่มดำและปอเทืองจะ ค่อย ๆ ปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประ โยชน์ในระยะยาว อัตราการปลดปล่อยไนโตรเจนของ ปุ๋ยหมักจะสูงสุดที่ระยะ 32 วันหลังไถกลบ ซึ่งช่วยเพิ่มในโตรเจนที่เป็นประ โยชนัคิดเป็นร้อยละ 27.05 ของปริมาณ ในโตรเจนจากปุ๋ยหมักที่ใส่ ส่วนปอเทืองและถั่วพุ่มคำที่ระยะ 56 วันหลังไถกลบ มีปริมาณ อนินทรีย์ในโตรเจนคิดเป็น 10.86 และ 10.68 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาศักยภาพการปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ของวิธีการจัดการดินแบบเกษตรอินทรีย์ในชุดดินสันป่าตอง
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2551
การศึกษาศักยภาพการพัฒนาเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่สูง : กรณีศึกษาพื้นที่เกษตรชุมชนชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านตะเพินคี่ จังหวัดสุพรรณบุรี ศึกษาการใช้แหนแดงเป็นแหล่งไนโตรเจนในการผลิตพืชผักอินทรีย์และเกษตรไร้สารพิษ การสำรวจและศึกษาความหลากหลายของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ภาคใต้ของประเทศไทย ทดสอบการจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับเทคโนโลยีชีวภาพในระบบเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานเพื่อปลูกพริกไทย เทคนิคการเพิ่มอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพของสารพิษตกค้างในดินเพื่อลดระยะเวลาการ ปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ศึกษาการจัดการดินตะกอนชั้นล่างโดยใช้วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อปลูกมะละกอ การจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกอ้อยแต่ละพันธุ์ตามกลุ่มชุดดิน การจำแนกชนิดและการใช้ประโยชน์จากแมลงในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ใน 3 จังหวัดภาคใต้ตอนบน การจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกแตงกวา-ถั่วฝักยาว-ข้าวโพดหวานในกลุ่มชุดดินที่ 36 ( ชุดดินปราณบุรี ) การจัดการดินเพื่อการปลูกข้าวโพดต่อการเพิ่มอินทรีย์คาร์บอนในชุดดินปากช่อง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก