สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาอุณหภูมิ, ความชื้นและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการผลิตสปอร์ของเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุดคอลเลโทตริกัมของยางพารา
นริสา จันทร์เรือง - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาอุณหภูมิ, ความชื้นและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการผลิตสปอร์ของเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุดคอลเลโทตริกัมของยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Study of Weather effect on Growth and Sporulation of Colletotrichum gloeosporioides causing Colletotrichum Leaf Disease of Hevea
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นริสา จันทร์เรือง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการศึกษาสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการผลิตสปอร์ของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เพื่อใช้ในการพยากรณ์การเกิดโรคและเป็นข้อมูลสำหรับงานวิจัยการป้องกันกำจัดโรคยางพาราโดยทำการเก็บตัวอย่างใบยางที่เป็นโรคใบจุดคอลเลโทตริกัมจากแหล่งปลูกยางภาคใต้ จำนวน 17 แหล่ง มาทำการแยกเชื้อให้บริสุทธิ์ แล้วทำการศึกษาระดับอุณหภูมิ, ความชื้น และความเป็นกรดเป็นด่าง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และการผลิตสปอร์ของเชื้อรา ซึ่งปรากฏว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ทั้ง 17 แหล่ง อยู่ระหว่าง 25. – 30. ซ. ที่อุณหภูมิสูงถึง 35. ซ. เชื้อรามีการเจริญเติบโตน้อยมาก สำหรับการผลิตสปอร์ของเชื้อรา มี 5 isolate ที่ผลิตสปอร์สูงสุดที่อุณหภูมิ 25. ซ. ส่วนอีก 12 isolate ผลิตสปอร์สูงสุดที่ 30. ซ. และ pH ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรานั้นอยู่ระหว่าช่วง pH 5 – 6 มี 7 isolate ผลิตสปอร์สูงสุดที่ pH 5 และ 10 isolate ผลิตสปอร์สูงสุดที่ pH 6 สำหรับความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้ออยู่ระหว่างช่วง 80 – 100%
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาอุณหภูมิ, ความชื้นและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการผลิตสปอร์ของเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุดคอลเลโทตริกัมของยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา ความต้านทานโรคใบจุดคอลเลโทตริกัมของยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ความผันแปรของเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดของยางพารา ศึกษาวิธีการกำจัดวัชพืชซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง อิทธิพลของระยะปลูกพืชอาหารสัตว์บางชนิดต่อการเจริญเติบโตของยางพารา โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การควบคุมโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Colletotrichum sp. และปลวกที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อต้นยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก