สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลือง
เสาวคนธ์ ศรีบริกิจ, แพรว สร้อยสีดำ, เสาวคนธ์ ศรีบริกิจ, แพรว สร้อยสีดำ - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลือง
ชื่อเรื่อง (EN): Measuring the Efficiency of Soybean Farms
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรที่ปลูกถั่วเหลืองและปัจจัยที่มีผลต่อความไร้ประสิทธิภาพในการเลือกใช้เทคโนโลยีและลักษณะการจัดการผลิตของเกษตรกรแต่ละรายที่ปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้ง ปีการเพาะปลูก 2553/54 ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นแนวทางประกอบการจัดทำมาตรการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองต่อไป ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีเนื้อที่ปลูกถั่วเหลืองครัวเรือนละ 9.75 ไร่ ผลผลิตไร่ละ 239.86 กิโลกรัม ต้นทุนทั้งหมดละ 4,098.83 บาท เป็นต้นทุนคงที่ 705.68 บาทต่อไร่ ต้นทุนผันแปร 3,393.15 บาทต่อไร่ ราคาถั่วเหลืองที่เกษตรกรขายได้ 14.15 บาทต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นรายได้ไร่ละ 3,394.02 ดังนั้นเกษตรกรขาดทุนไร่ละ 704.81 บาท ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตมีค่าเท่ากับ 67.36 เมื่อเทียบกับพรมแดนการผลิตซึ่งมีระดับประสิทธิภาพเท่ากับ 100 สรุปได้ว่าโดยเฉลี่ยเกษตรกรยังสามารถเพิ่มระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตได้ประมาณร้อยละ 32.64 แต่ถ้าแบ่งกลุ่มเกษตรกรตามขนาดพื้นที่การผลิตพบว่า พื้นที่การผลิตขนาดเล็กมีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตระหว่าง 71-94 คิดเป็นร้อยละ 17.78 ครัวเรือนเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตน้อยกว่าร้อยละ 50 มีจำนวนร้อยละ 4.8 ในทำนองเดียวกัน พื้นที่การผลิตขนาดกลางมีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตระหว่าง 71-94 คิดเป็นร้อยละ 19.23 ครัวเรือนเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตน้อยกว่าร้อยละ 50 มีจำนวนร้อยละ 9.13 พื้นที่การผลิตขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตระหว่าง 71-94 คิดเป็นร้อยละ 11.54 ครัวเรือนเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตน้อยกว่าร้อยละ 50 มีจำนวนร้อยละ 7.21 ดังนั้น เกษตรกรที่มีเนื้อที่ปลูกไม่เกิน 10 ไร่ มีการบริหารจัดการฟาร์ม เลือกใช้ปัจจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าเกษตรกรที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตถั่วเหลืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ดังนี้ 1. รัฐบาลควรใช้นโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยส่งเสริมให้ความรู้ด้าน การผลิตถั่วเหลืองที่ถูกต้องแก่เกษตรกร เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการฟาร์มโดยการลดปัจจัยการผลิตที่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต เช่น การใช้สารกำจัดวัชพืช การใช้สาร กำจัดแมลง การใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อลดต้นทุน 2. ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งครัวเรือนละไม่เกิน 10 ไร่ เพราะขนาดพื้นที่ปลูก 1-10 ไร่ เกษตรกรบริหารฟาร์มมีประสิทธิภาพทางเทคนิคในระดับสูง มากกว่า ร้อยละ 37 ของฟาร์มตัวอย่าง 3. รัฐบาลควรมีนโยบายประกันรายได้การปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้ง เพื่อสร้างความมั่นใจด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร และส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากถั่วเหลืองเป็นพืชปรับปรุงบำรุงดิน และช่วยตัดวงจรโรคศัตรูข้าว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลือง
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2554
การตอบสนองของถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ ต่อสภาพที่ขาดน้ำ สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย สถานการณ์การผลิตและการตลาดถั่วเหลือง ปี 2527 การผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี การจัดการโรคและแมลงเพื่อผลิตถั่วเหลืองและถั่วเหลืองฝักสดอย่างปลอดภัย สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การผลิตและประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตอ้อย ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดขอนแก่น ถั่วเหลือง : อาหารธรรมดาแต่คุณค่ามหาศาล การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จังหวัดชัยนาท ประสิทธิภาพการผลิตแพะตามกิจกรรมศูนย์ผลิตและกระจายแพะพันธุ์ดี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก