สืบค้นงานวิจัย
เครื่องหมายพันธุกรรมที่จำเพาะกับพืชสกุลพริกไทยในประเทศไทย
อรุณรัตน์ ฉวีราช, สำอาง หอมชื่น - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: เครื่องหมายพันธุกรรมที่จำเพาะกับพืชสกุลพริกไทยในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Species specific markers of the genus Piper in Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: พืชสกุลพริกไทย (genus Piper) หลายชนิดมีความสำคัญอย่ างมากทางด้านเศรษฐกิจและ วัฒนธรรม มีการรายงานความหลากชนิดและข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชสกุลนี้ในประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง บางชนิดได้นำมาใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ด้วยประโยชน์นานัปการและความยุ่งยากในการระบุชนิดพืชผู้วิจัยจึงได้รวบรวมตัวอย่างพืชตามที่มีรายงานไว้พร้อมกับได้สำรวจชนิดใหม่เพิ่มเติมด้วย ในช่วงแรกของงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างพืชได้ทั้งหมด 73 ตัวอย่าง จาก 37 ชนิด และสกัดดีเอ็นเอ เรียบร้อยแล้ว เพื่อสร้างเครื่องหมายพันธุกรรมต่อไป การค้นพบที่สำคัญของผู้วิจัย คือ ได้พบ P. rubroglandulosum Chaveer. & Mokkamul ซึ่งเพิ่งรายงานเป็นพืชชนิดใหม่เมื่อไม่นานนี้แต่ไม่มี รายละเอียดของต้นเพศเมีย ในการสำรวจครั้งนี้ ผู้วิจัยพบต้นเพศเมียที่ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาพระแทว จังหวัดภูเก็ต ในภาคใต้ของไทย ผู้วิจัยจึงได้บรรยายลักษณะช่อดอกเพศเมีย ลักษณะดอก รวมทั้งผลด้วย นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบพืชชนิดใหม่อีกหนึ่งชนิดคือ P. protrusum Chaveer. & Tanee, sp. nov. ซึ่งพืชชนิดนี้ผู้วิจัยได้พบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ที่ภาคใต้ของไทย แต่ไม่เคยพบดอกหรือผลเลย จึงได้เดินทางไปสำรวจในแหล่งที่พบหลายครั้งจนกระทั่งพบดอกในการสำรวจครั้งนี้ พืชชนิดใหม่นี้ มีลักษณะเด่นคือมีกิ่งสามแบบซึ่งมีลักษณะใบแตกต่างกัน มีเอกลักษณ์ คือฐานรองดอกมีการนูนขึ้นรองรับ ใบประดับที่แต่ละอันมีเกสรเพศผู้ 9 อัน เมื่อศึกษาสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการด้วยข้อมูลลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ร่วมกับพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอีก 5 ชนิด ได้ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างชนิดใหม่กับชนิด อื่นๆ มีค่าระหว่าง 0.25 ถึง 0.34 ซึ่งข้อมูลระดับโมเลกุลนี้สนับสนุนลักษณะทางสัณฐานวิทยาว่าพืชนี้เป็นพืชชนิดใหม่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงบรรยายลักษณะพืชพร้อมทั้ง ได้สร้างข้อมูลเครื่องหมายดีเอ็นเอแบบบาร์โค้ด (DNA barcoding) ไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป โดยข้อมูลล าดับนิวคลีโอไทด์นั้นได้บันทึกไว้ในฐานข้อ มูล GenBank ใน accession numbers GU980898 สำหรับยีน rpoB, GU980899 สำหรับยีน rpoC1 และ GU980900 สำหรับบริเวณ psbA-trnH จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบว่าแม้จะมีการสำรวจพืชสกุลนี้ มากว่า 10 ปี แต่ก็ยังมีการค้นพบข้อมูลใหม่และพืชชนิดใหม่อยู่เสมอ ผู้วิจัยจึงคาดว่ายังมีตัวอย่างพืชอีกมากที่ยังสำรวจไม่พบ นอกจากนั้นแล้วควรจะได้มีการรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์และข้อมูลระดับ โมเลกุลของพืชแต่ละชนิดไว้ในฐานข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนด้วย ในช่วงต่อไปของงานวิจัยนี้ต้องสร้างเครื่องหมายพันธุกรรมที่จำเพาะกับพืชแต่ละชนิดซึ่งยังมีงานอีกมากที่ต้องทำในพืชกลุ่มนี้
บทคัดย่อ (EN): Many species in genus Piper are of great economic and cultural importance. Species diversity and ethnobotany of the genus in Thailand have been continuously reported. Some of them have been used as traditional medicines. Because of their importance and difficulty for identification we collected the samples followed the previous reports for molecular study. Additional species diversity record was taken into account. In the first period of this study, 73 samples of 37 species have been collected and DNA extracted. Interestingly, P. rubroglandulosum Chaveer. & Mokkamul recently published as a new species without pistillate plant data was explored. The pistillate spike, pistillate flowers and fruits were described and illustrated based on pistillate plants found in the Khao Phra Thaeo Wildlife Conservation Development and Extension Center, Phuket Province, southern Thailand. Moreover, P. protrusum Chaveer. & Tanee, sp. nov. had been discovered. It was found in the areas of southern Thailand since 2004 without reproductive parts. The investigated sites have been revisited for several times, finally its flowers have been observed. The new species dominantly comprises of three branching types with three different types of leaf blades, bases and apexes. The critical distinguished character is the protruded receptacle having a bract and 9 stamens on it. Phylogenetic analysis of the new species and five similar species was performed based on DNA fingerprinting. The genetic distances between the new species and five similar species range from 0.25 to 0.34 supporting new species designation. Molecular data conform to morphological data that it is surely a new species. Additionally, its DNA barcodes have been provided for further identification in case of contiguous. The sequence data have been submitted to the GenBank database under accession numbers GU980898 (rpoB gene), GU980899 (rpoC1 gene) and GU980900 (psbA-trnH region). Although the genus has been investigated for over ten years in Thailand, new species, new varieties and new records are continuously found. We expected that there are some more specimens that have not been explored. Additionally , their usages and molecular data should be provided and made available for publicity. Further period of this study, genetic markers will be performed for each species which many works have to be conducted on this account.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เครื่องหมายพันธุกรรมที่จำเพาะกับพืชสกุลพริกไทยในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
30 กันยายน 2553
อนุกรมวิธานของฟิล์มมี่เฟิร์นสกุล Hymenophyllum s.l. (Hymenophyllaceae) ในประเทศไทย เกษตรอินทรีย์และมาตรฐานการส่งออกของประเทศไทย ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสกุล Globba และ Ganepainia (วงศ์ขิง) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ความหลากหลายของพืชให้กลิ่นหอมและเครื่องเทศในประเทศไทย บทบาทของความจำเพาะกับแหล่งอาศัยต่อโครงสร้างทางพันธุกรรมของแมลงริ้นดำ (Diptera: Simuliidae) ความชุกและชนิดของพันธุกรรมเชื้อ Cryptosporidium spp. ที่สัมพันธ์กับความหลากหลายของสัตว์ฟันแทะในประเทศไทย การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ท้องถิ่นสกุลหวายด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ แนวทางการดำเนินความร่วมมือทางด้านวิชาการประมงระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในอนาคต การศึกษาสถานการณ์สัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย การฟื้นฟูเชื้อพันธุกรรมถั่วในสกุล Vigna ในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก