สืบค้นงานวิจัย
สถานการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์
สมชาย ธรรมสิทธิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สถานการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมชาย ธรรมสิทธิ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องสถานการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีจังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อทราบสถานการณ์การผลิต การตลาด ตลอดจนปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการผลิต การตลาดข้าว ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2546 จำนวน 100 ราย ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ช่วงดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 วิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ผลการวิจัย พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.3 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา เป็นสมาชิกกลุ่มของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สมาชิกในครัวเรือนเป็นเพศชายและหญิงอยู่ในสัดส่วนที่เกือบเท่ากัน การทำนาจะใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการทำนาได้มาจากการกู้ ธ.ก.ส. และเกือบทุกรายจะมีภาระหนี้สินจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ เฉลี่ยรายละ 97,159.6 บาท มีเพียงครอบครัวเดียวที่ไม่มีหนี้ แหล่งรายได้สำคัญที่นำมาใช้จ่ายในครัวเรือนได้มาจากการทำนา สภาพการผลิตจะทำนาโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ลักษณะดินเป็นดินเหนียว พื้นที่ทำนาเฉลี่ยรายละ 27.5 ไร่ จะเตรียมดินในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกคือพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ปลูกจะเปลี่ยนกันทุก 3 ปี และการเปลี่ยนพันธุ์ที่ปลูกอยู่เดิมเป็นพันธุ์ใหม่จะเปลี่ยนไปตามความต้องการของตลาด การทำนาจะใช้วิธีการหว่านข้าวแห้งโดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้เองในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม และจะใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก สภาพการระบาดของศัตรูข้าวจะไม่ระบาดอย่างรุนแรงทั้งวัชพืช แมลง โรค และสัตว์ศัตรูข้าว แต่ที่พบเป็นปัญหาทั่วไปและเกษตรกรต้องควบคุมมีดังต่อไปนี้ 1) วัชพืช ได้แก่หญ้าแดง จะใช้ 2 - 4D 2) แมลง ได้แก่บั่ว จะใช้ ฟูราดาน 3) โรค ได้แก่โรคไหม้ จะใช้ ฮิโนซานและฟูจิวัน 4) สัตว์ ได้แก่หนู จะใช้ซิงค์ฟอสไฟด์ โดยใช้ต้นทุนการผลิตทั้งหมดเฉลี่ย 1,022.7 บาทต่อไร่ เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยวจะระบายน้ำออกจากแปลงนาก่อนในช่วง 11 - 20 วัน การเก็บเกี่ยวจะดูสีของเมล็ดข้าวเป็นหลัก และใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว การนวดจะใช้เครื่องนวด เมื่อผ่านการนวดแล้วจะไม่มีการนำไปลดความชื้นและคัดแยกสิ่งเจือปนอีก โดยให้เหตุผลว่าข้าวแห้งอยู่แล้ว และเครื่องนวดข้าวก็ทำความสะอาดมาดีแล้ว ด้วยผลผลิตเฉลี่ย 579.4 กิโลกรัมต่อไร่ การเก็บรักษาข้าวเปลือกจะเก็บไว้ในยุ้งฉางโดยมีการวางแผนแบ่งสัดส่วนการใช้ไว้แล้ว การจัดการผลผลิตจะดำเนินการเมื่อมีความจำเป็นในการใช้เงินจึงนำไปจำหน่าย โดยจะแบ่งขายข้าวไปประมาณ 3 ใน 4 ของผลผลิตทั้งหมด การจำหน่ายผลผลิต จะจำหน่ายผ่านพ่อค้าท้องถิ่นที่มารับซื้อถึงในนา ในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.5 บาท ทำให้มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 2,189.9 บาทต่อไร่ อุปสรรคปัญหาที่สำคัญในการทำนาคือขาดแคลนแหล่งน้ำ และมีข้อเสนอให้ภาครัฐดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำให้ โดยการสร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนกั้นแม่น้ำป่าสัก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกร ตำบลกำปัง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตขิงของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเชียงราย สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในอำเภอคอนสวรรค์จังหวัดชัยภูมิ ปี 2549 สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลสหัสขันธ์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2549/50 ของเกษตรกรตำบลคลีกลิ้ง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีษะเกษ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก