สืบค้นงานวิจัย
โครงการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกและพืชผักเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
นันทิการ์ เสนแก้ว, นันทิการ์ เสนแก้ว - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกและพืชผักเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Development and On Farm Research on Appropriate Technologies of Chilli and Economic Vegetable Crop Production in the Lower South
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการทดสอบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตพริกในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อได้เทคโนโลยีการผลิตพริกโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการปลูกพริกพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยดำเนินการทดสอบที่แปลงเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนกันยายน 2558 การทดลองประกอบด้วย 3 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ (ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร) กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ กรรมวิธีที่ 3 แบบเกษตรกร (ใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีเกษตรกร) ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ มีแนวโน้มทำให้ต้นพริกขี้หนูเจริญเติบโตด้านความสูงและความกว้างทรงพุ่มต้นพริกได้ดีกว่า กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ และ กรรมวิธีที่ 3 วิธีเกษตรกร (ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร) ส่วนผลผลิตพริกสด พบว่า ทั้ง 3 กรรมวิธี ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยกรรมวิธีที่ 1 ผลผลิตเฉลี่ย 650 และ 764 กิโลกรัม/ไร่ กรรมวิธีที่ 2 ผลผลิตเฉลี่ย 659 และ 787 กิโลกรัม/ไร่ และกรรมวิธีที่ 3 ผลผลิตเฉลี่ย ผลผลิตเฉลี่ย 712 และ 793 กิโลกรัม/ไร่ ในปีที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ส่วนต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสด กรรมวิธีที่ 1 จะมีต้นทุนการผลิตต่ำสุดในปีที่ 1 และ 2 เฉลี่ย 8,615, และ 8,097 บาท/ไร่ ตามลำดับ และทำให้เกษตรกรมีรายได้เหนือต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสดสูงกว่ากรรมวิธีที่ 2 และกรรมวิธที่ 3 ในปีที่ 1 และ 2 เฉลี่ย 10,890 และ 14,833 บาท/ไร่ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ จะมีค่าน้อยกว่าเนื่องจากต้นทุนการปลูกพริกจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สูงกว่ากรรมวิธีที่ 1 และกรรมวิธีที่ 3 ไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 2 ปี อย่างไรก็ตามถ้าเกษตรกรมีแนวทางในการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง ก็สามารถลดต้นทุนด้านปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกพริกได้ คำสำคัญ : พริกขี้หนู ปุ๋ยอินทรีย์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกและพืชผักเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริกชีในภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มคุณภาพพริกชี้ฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก แผนงานวิจัย การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียว ในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก