สืบค้นงานวิจัย
การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน
รัฐพร จันทร์เดช - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน
ชื่อเรื่อง (EN): Specific inhibition of Rubber Elongation Factor (REF) gene, a major allergen protein in rubber tree, expression by antisense technology
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัฐพร จันทร์เดช
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รัฐพร จันทร์เดช
คำสำคัญ: ยางพารา
บทคัดย่อ: จากการศึกษาการโคลนยีน Rubber Elongation Factor (REF) และ small rubber particle protein (SRPP) จากส่วนใบอ่อนของยางพารา พบว่ายีนทั้ง 2 ที่แยกได้จากยางพาราด้วยเทคนิคอาร์ทีพีซีอาร์ ประกอบด้วย 441 และ 381 คู่เบส กำหนดการสร้างสายโพลีเปปไทด์ทีมีจำนวน 147 และ 127 กรดอะมิโน จากการเปรียบเทียบลำดับกรดอะมิโนของสายโพลีเปปไทด์ของยีนทั้ง 2 กับฐานข้อมูล แสดงให้เห็นว่าลำดับกรดอะมิโนของโพลีเปปไทด์ของยีน REF คล้ายกับยีน REF ในยางพารา (Hevea brasiliensis; Accession no. AGT17848.1) 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ยีน SRPP คล้ายกับยีน SRPP ในยางพารา (Hevea brasiliensis; Accession no. AHF95713.1) 100 เปอร์เซ็นต์ และจากการตรวจสอบหน้าที่ของยีนทั้งสองโดยโคลนเข้าสู่พลาสมิด pStart ในทิศทาง antisense แล้วส่งถ่ายเข้าสู่เนื้อเยื่อแคลลัสยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation พบว่าสามารถลดการแสดงออกของยีนทั้งสองในแคลลัสยางพาราได้ คำสำคัญ: ยางพารา เทคโนโลยีแอนติเซน ยีน Rubber Elongation Factor ยีน mall rubber particle protein
บทคัดย่อ (EN): In this study, cloning Rubber Elongation Factor (REF) and small rubber particle protein (SRPP) genes from young leaf of rubber tree (Havea brasiliensis) were our main purpose. The results of both genes isolation from rubber tree using RT-PCR technique showed that the cloned gene consists of 441 and 381 base pair encoding for 147 and 127 amino acid polypeptide, respectively. Comparing the amino acid sequences of deduced polypeptide from database of both genes showed REF gene similar to REF gene of rubber tree (Hevea brasiliensis; Accession no. AGT17848.1) 100 % and SRPP gene similar to SRPP gene of rubber tree (Hevea brasiliensis; Accession no. AHF95713.1) 100 %. The examination function of two genes by cloned into plasmid pStart in the antisense and gene transfer into callus of rubber tree with Agrobacterium transformation technique. The results showed that can reduce gene expression both in callus rubber tree. Keywords: Havea brasiliensis, Rubber Elongation Factor gene, antisense technology, mall rubber particle protein gene
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2558
การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความต้านทานต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา การศึกษาการแสดงออกของยีนทั้งระบบเพื่อค้นหายีนที่มีความเกี่ยวข้องกับผลผลิตน้ำยางสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ยางพาราที่ให้ผลผลิตสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์ การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับขบวนการสร้างเนื้อไม้ยางพารา การศึกษาการแสดงออกของกลุ่มยีนที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยเอทธีลีนของยางพารา การผลิตโพลีโคลนอลแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อรีคอมบิแนนท์โปรตีน V-ATPase G Subunit ของยางพารา การใช้ประโยชน์จากยางพาราที่ปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ในการผลิตเป็นแผ่นวัสดุปิดแผล การพัฒนาชุดทดสอบโปรตีนที่ละลายน้ำสำหรับยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา ฟิล์มยางพาราให้ความเย็นชนิดก่อตัวเอง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการกักเก็บน้ำมันสกัดจากยางพาราในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก