สืบค้นงานวิจัย
การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Cladophora (ไก) และ Spirulian เพื่อเป็นอาหารปลาบึก
สุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Cladophora (ไก) และ Spirulian เพื่อเป็นอาหารปลาบึก
ชื่อเรื่อง (EN): Culture of a Green Alga Genus Cladophora (Kai) and Spiulina as feed for the Mae-Kong Giant Catfish (Pangasianodon gigas,Chevey)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Surit Somboonchai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Cladophora (ไก) และ Spirulina platensis เพื่อเป็นอาหารปลาบึก ได้ทำการวิจัย ณ คณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ ระหว่าง เดือน มกราคม 2550 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2551 ได้ทำ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสกุล Cladophora (ไก) ในสูตรอาหาร Jaworski’s medium (JM) ปรับปรุง และใช้น้ำทิ้งจากโรงอาหาร ความเข้มข้น 10% ถึง 100% เลี้ยงสาหร่ายในตู้กระจก และบ่อซีเมนต์ มีการเติมอากาศตลอดเวลา เป็นเวลา 15-30 วัน พบว่า ผลผลิตของสาหร่ายไกที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากโรงอาหารที่ระดับความเข้มข้น 80% มีผลผลิตของสาหร่ายในรูปแห้งสูงสุด รองลงมา คือ ที่ระดับความเข้มข้น 100%, 90%, 70% และ 60% คุณค่าทางโภชนาการของสาหร่ายไก โดยน้ำหนักแห้งที่เลี้ยงในที่เลี้ยงในน้ำทิ้งจากโรงอาหาร 80% มีปริมาณแคโรทีนอยด์ 580 ?g/g โปรตีน 31.37% สูงกว่าสาหร่ายไกที่เลี้ยงในน้ำทิ้งจากโรงอาหารความเข้มข้น อื่นๆ และมีค่า BOD, NH3-N, NO3-N, TP และ TKN ลดลงจากวันแรกของการเลี้ยงสาหร่าย และการการเพาะเลี้ยงสาหร่าย S. platensis ในสูตรอาหาร modified Zarrouk’s medium (Zm) และน้ำทิ้งจากโรงอาหาร 90% และ 100% ทำการทดลองในบ่อซีเมนต์กลม ให้อากาศตลอดเวลา เป็นเวลา 15-30 วัน พบว่า ผลผลิตของสาหร่าย S. platensis ที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากโรงอาหารที่ระดับความเข้มข้น 100% มีผลผลิตของสาหร่ายแห้งสูงสุด รองลงมา คือ สูตรอาหาร Zm และน้ำทิ้งจากโรงอาหารที่ระดับความเข้มข้น 90% ตามลำดับ คุณค่าทางโภชนาการของสาหร่าย S. platensis โดยน้ำหนักแห้ง สาหร่ายที่เลี้ยงในน้ำทิ้งจากโรงอาหาร 100% และ Zm มีปริมาณแคโรทีนอยด์ 630-700 ?g/g โปรตีน 40.86-54.83% โดยน้ำหนักแห้ง และน้ำทิ้งจากโรงอาหาร 100% มีค่า BOD, NH3-N, NO3-N, TP และ TKN ลดลงจากวันแรกของการเลี้ยง คณะผู้วิจัยจะนำน้ำทิ้งจากโรงอาหาร 80% เพาะเลี้ยงสาหร่ายไก และ น้ำทิ้งจากโรงอาหาร 100% ไปเพาะเลี้ยงสาหร่าย S. platensis ในบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ แบบ raceway pond เพื่อนำผลผลิตไปเลี้ยงปลาบึก ในบ่อดินต่อไป การทดลองนี้ใช้ปลาปลาบึก น้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวประมาณ 1,200-1,500 กรัม โดยใช้บ่อดินทำเป็นคอก ขนาด 2 x 5 x 1 เมตร สูตรอาหารทดลองมี 4 สูตร แต่ละสูตรมี 3 ซ้ำ โดยอาหารสูตรที่ 1 – 4 มีส่วนผสมของ สาหร่าย ระดับ 0%, สาหร่ายไก 3%, สาหร่าย สไปรูลิน่า 3% และสาหร่ายไก 1.5%ผสม สาหร่ายสไปรูลิน่า 1.5% ปรับอาหารทุกสูตรให้มีระดับของโปรตีนใกล้เคียงกันเท่ากับ 29% ใช้เวลาการเลี้ยงเป็นเวลา 10 เดือน จากผลการทดลองพบว่า ปลาบึกที่ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของสาหร่ายไก 1.5% ผสม สาหร่ายสไปรูลิน่า 1.5% มีอัตราการเจริญเติบโต อัตราน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราการแลกเนื้อ และต้นทุนการผลิต ดีกว่า สูตรอาหาร สาหร่าย0%, สาหร่ายไก 3% และ สาหร่าย สไปรูลิน่า 3% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น (p<0.05) และพบว่า อาหารผสมสาหร่าย สไปรูลิน่า 3% ทำให้ ปริมาณของแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในเนื้อปลาเพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Culture of a Green Alga Genus Cladophora (Kai) and Spirulina as Feed for the Mae-Kong Giant Catfish (Pangasianodon gigas, Chevey) was researched at Faculty of Fisheries Technology and Aquatic Resources, Maejo University, Chiang Mai in January 2007 to February 2008. Cladophora cultivated with Jaworski's medium (JM) and cafeteria wastewater (Cw) 10%Cw to 100%Cw in aquarium and cement pond. Water quality, biomass production and nutritional value of Cladophora were determined from cultures harvested every 5 days for a period of 15-30 days. The highest level of biomass production, total- carotenoid (580 ug/g) and protein (31.37% DW) of Cladophora was achieved in 80%Cw. The 80%Cw produced lower BOD, TP, NH3-N, TKN, NO3-N and TN compared to each treatment. Spirulina platensis cultivated with modified Zarrouk’s medium (Zm), 100% cafeteria wastewater (100%Cw) and 90% cafeteria wastewater (90%Cw) in the cement pond. Water quality, biomass production and nutritional value of S. platensis were determined from cultures harvested every 5 days for a period of 15-30 days. The highest level of biomass production, total- carotenoid (630 ug/g) and protein (40.86 % DW) of S. platensis was achieved in 100%Cw and Zm. The 100%Cw produced lower BOD, TP, NH3-N, TKN, NO3-N and TN compared to Zm and 90%Cw. The Cladophora will culture with 80%Cw and S. platensis 100%Cw in raceway pond was evaluated as a protein source for cultured the Mae-Kong Giant Catfish in earth pond. A 10–month feeding trail was carried out for Mae-Kong Giant Catfish (Pangasianodon gigas, Chevey) with an initial average weight of 1,200-1,500 g for size 2 x 5 x 1 m. (stable) in earthen ponds. Feeds containing varying percentages of blue-green alga and green alga genus Spirulina. platensis and Cladophora (Kai): 0% Alga, 3% Cladophora, 3% S. platensis and 1.5% S. platensis + 1.5% Cladophora were tested with three replications for each treatment. All the feeds were formulated to contain dietary requirement for the Mae-Kong Giant Catfish 29% protein. Results showed that the feed growth rate, weight gain, specific growth rate, feed conversion rate and production cost in Mae-Kong Giant Catfish fed diets 1.5% Cladophora + 1.5% S. platensis had significantly higher than those fed with diets with control diets (0 % algae), 3% Cladophora and 3% S. platensis (p < 0.05) respectively. The carotenoid contents in fish increased 3% S. platensis in feed.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-51-009.8
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 246,069
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2553/surit_somboonchai_2550/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2550
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Cladophora (ไก) และ Spirulian เพื่อเป็นอาหารปลาบึก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การเพาะเลี้ยงสาหร่ายNostoc commune เพื่อเป็นอาหารปลอดภัยโดยระบบอัจฉริยะ ระบบการเลี้ยงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาบึก และการลดกลิ่นโคลนในเนื้อปลาบึก แนวทางการพัฒนาการเลี้ยงและการเพาะขยายพันธุ์ปลาตูหนาและปลาบึกในบ่อดิน ระบบการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อการผลิตสายพันุ์ปลาบึก การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) การเลี้ยงปลาเผาะร่วมกับปลาบึกในบ่อดินเพื่อการค้า การพัฒนากระบวนการผลิตปลานิลในกระชังในบ่อเลี้ยงปลาบึกเพื่อเสริมรายได้ ระบบการเลี้ยงปลาบึกอายุ 1 - 2 ปี ในบ่อดินเพื่อการค้า ข้อมูลเบื้องต้นของอาหารปลาราคาถูกจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิล ระบบการเลี้ยงกุ้งกรามกรามร่วมกับปลาบึกในบ่อดิน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก