สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันรำข้าวผสมเคอร์คิวมินในรูปอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนเมตรเพื่อนำมาใช้ลดภาวะซึมเศร้าและฟื้นฟูสมอง
สุทิสา ถาน้อย - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันรำข้าวผสมเคอร์คิวมินในรูปอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนเมตรเพื่อนำมาใช้ลดภาวะซึมเศร้าและฟื้นฟูสมอง
ชื่อเรื่อง (EN): Development of nanostructured lipid carrier containing mixture of rice bran oil and curcumin for antidepression and brain rehabilitation supplements
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุทิสา ถาน้อย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sutisa Thanoi
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์จากพืชหรือสมุนไพรนั้นเป็นที่นิยม และเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาวิจัยในการนำมาใช้ดูแลสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เนื่องจาก ในพืชหรือสมุนไพรนั้นมีสารสําคัญที่ออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และยังไม่มีผลข้างเคียงน้ำมันรําข้าวซึ่งสกัดได้จากรําข้าวพบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะสารแกมมาโอไรซานอล ซึ่งเป็นสารสําคัญที่พบในน้ำมันรําข้าวพบว่ามีฤทธิ์ทางชีวภาพต่อร่างกายมากมาย เช่นต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ปกป้องระบบประสาท และลดภาวะเครียด เป็นต้น นอกจากน้ำมันรําข้าวแล้วขมิ้นชันก็เป็นพืชอีกชนิดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเช่นกัน ซึ่งสารเคอร์คิวมินที่เป็นสารสําคัญในขมิ้นชันนั้น ก็พบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านซึมเศร้า และฟื้นฟูเซลล์ประสาทในสมอง เป็นต้น นอกจากนั้นแกมมาออไรซานอลและเคอร์คิวมินยังสามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดภาวะเครียดออกซิเดชั่น ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญในการเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากภาวะซึมเศร้าและภาวะความจําที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้นก็มีสาเหตุมาจากการภาวะเครียดออกซิเดชั่นและสารสื่อประสาทในสมองที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นแกมมาออไรซานอลร่วมกับเคอร์คิวมินน่าจะมีผลในการนำมาใช้ป้องกันหรือร่วมรักษาภาวะซึมเศร้าได้และยังสามารถปรับระดับสารสื่อประสาทในสมอง และฟื้นฟูสมองได้ โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแกมมาออไรซานอลผสมเคอร์คิวมินในรูปอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนเมตรเพื่อนำมาใช้ลดภาวะซึมเศร้าและฟื้นฟูสมอง ผลการศึกษาทำให้ได้สภาวะที่เหมาะสมในการเพิ่มค่าการละลายของแกมมาโอริซานอล และเคอร์คิวมินด้วยเทคนิคโซลิดดิสเพอร์สชั่น โดยวิธีใช้ตัวทำละลายร่วมกับการหลอมเหลว โดยมี PVP K30 และ phospholipid เป็นตัวพามีความปลอดภัยและสามารถพัฒนาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมได้ อีกทั้งยังมีความคงตัวทั้งทางกายภาพ และเคมีเมื่อเก็บไว้นาน 6 เดือน นอกจากนี้การศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง พบว่า -oryzanol+curcumin นั้นสามารถลดพฤติกรรมซึมเศร้าที่ถูกเหนี่ยวนําด้วยสาร dexamethasone โดยผ่านกลไกการทำงานของระบบสารสื่อประสาท ได้แก่ ซีโรโทนิน นอร์เอพิเนฟรีน โดปามีน กลูตาเมท และกาบา นอกจากนี้ผลการศึกษาในสัตว์ทดลองก่อนสูงวัย ยังพบว่า -oryzanol+curcumin ยังมีฤทธิ์ปกป้องระบบประสาทและเพิ่มการเรียนรู้และความจํา ดังนั้น -oryzanol+curcumin มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อปูองกันหรือรักษาภาวะซึมเศร้ารวมทั้งฟื้นฟูสมองในผู้สูงวัย
บทคัดย่อ (EN): Research on natural products has been increased interest to study active ingredients in plants and herb. Those of active compounds have been studied for treating several diseases without any adverse effects. Rice bran oil (RBO), an oil extracted from the bran and rice germ, contains high nutrition especially -oryzanol. -oryzanol has been reported to have antioxidant, anti-inflammation, anti-depressant and neuroprotection effects. Curcumin is another active compound that is suggested to have neuroprotective and antidepressive effects. It is hypothesized that -oryzanol and curcumin can be used for treating depression and improving brain functions. Therefore, the aims of this research program are to develop nanotechnology product containing mixture of -oryzanol and curcumin for antidepression and brain rehabilitation supplements. The results of this study provide the condition for enhancing -oryzanol and curcumin water solubility using solid dispersion (SD) technique which included biocompatible, non-toxic and scale up ability. The results of an animal model of depression suggest that -oryzanol+curcumin has antidepressive effects to diminish abnormal behaviors mediated by neurotransmitters such as serotonin, noradrenaline, dopamine, glutamate and GABA neurotransmitters. Therefore, -oryzanol+curcumin may have a therapeutic potential for depression. Moreover, the results of animal models of pre-ageing suggest protective effects of -oryzanol+curcumin against oxidative stress in the brain and can improve learning and memory.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562-05-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2563-05-01
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2562
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP อนุสิทธิบัตร
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ สูตรตำรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดน้ำมันรำข้าวหรือแกมมาออไรซานอลผสมสารสกัดขมิ้นชันหรือเคอร์คิวมินในรูปแบบการกระจายตัวยาในระดับโมเลกุล
เลขที่คำขอ 2103003288
วันที่ยื่นคำขอ 2021-11-10 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน
เลขที่จดทะเบียน
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงสาธารณะ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันรำข้าวผสมเคอร์คิวมินในรูปอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนเมตรเพื่อนำมาใช้ลดภาวะซึมเศร้าและฟื้นฟูสมอง
มหาวิทยาลัยนเรศวร
1 พฤษภาคม 2563
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันรำข้าวผสมเคอร์คิวมินในรูปอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนเมตรเพื่อนำมาใช้ลดภาวะซึมเศร้าและฟื้นฟูสมอง อาหารบำรุงสมอง ชนิดของไขมันที่เหมาะสมในอาหารปลาหมอ การพัฒนาการถ่ายยีนเข้าสู่ข้าวโดยวิธี floral dip โครงการวิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากแป้งพืชศักยภาพ ผลของระดับไขมันในอาหารต่อการเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์จากอาหารและองค์ประกอบทางเคมีของปลาโมง การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูก ข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ การใช้ค่าวิเคราะห์ดิน ผลผลิตที่คาดหวัง และธาตุอาหารหลักในผลผลิตเพื่อกำหนดอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับข้าว ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก