สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาระดับอุณหภูมิการเก็บรักษาและภาชนะบรรจุที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว
วรรยา สุธรรมชัย - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ศึกษาระดับอุณหภูมิการเก็บรักษาและภาชนะบรรจุที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว
ชื่อเรื่อง (EN): Study in storage temperatures and suitable packages on seed quality maintenance of green manure crops in family Leguminosae
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรรยา สุธรรมชัย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของอุณหภูมิการเก็บรักษาและภาชนะบรรจุที่เหมาะสม เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ พืชปุยสดตระกูลถั่ว แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 การศึกษาการพัฒนาของเมล็ดพันธุ์ และ ระยะเก็บเกี่ยวของเมล็ดพันธุ์พืชปุยสคตระกูลถั่ว เพื่อนำผลการศึกษานี้ไปใช้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์และเพื่อใช้ใน การศึกษาเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ต่อไป วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD)ให้อายุของเมล็ดพันธุ์ (จำนวนวันหลังดอกบาน) เป็นสิ่งทดลอง จำนวน 4 ซ้ำเนื่องจากในปีที่ดำเนินการวิจัยประสบกับปัญหา สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและไม่เหมาะสม ทำให้การทดลองที่ 1 สามารถทำการศึกษาพืชได้ประสบ ผลสำเร็จเพียง 2 ชนิด คือ ปอเทือง และโสนอัฟริกัน โดยพบว่าเมล็ดพันธุ์ปอเทืองมีระยะแก่ทางสรีรวิทยา ที่อายุ 28 วันหลังดอกบาน และมีระยะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวที่อายุ 29 วันหลังดอกบาน ส่วนเมล็ดพันธุ์โสนอัพริกัน มีระยะแก่ทางสรีรวิทยาที่อายุ 32 วันหลังดอกบาน และมีระยะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวที่อายุ 40 วันหลังดอกบาน การทดลองที่ 2 การศึกษาผลของอุณหภูมิและภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ที่มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากไม่สามารถผลิตมล็ดพันธุ์พืชปุ้ยสดตระกูลถั่วจากการทดลองที่ 1ได้ จึงใช้เมล็ดพันธุ์ปอเทือง โสนอัฟริกัน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า และถั่วมะแฮะ จากสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 จังหวัดขอนแก่น โดยวาง แผนการทดลองแบบ CRD จัดสิ่งทดลองแบบแฟกทอเรียล มี 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือ อุณหภูมิที่ใช้ เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ จำนวน 3 ระดับ คือ 10 20 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง ปัจจัยที่ 2 คือ ชนิดของ ภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ จำนวน 3 ชนิด คือ ถุงพลาสติกสาน ถุงพลาสติก polyethylene และถุง aluminum foil จากนั้นทำการประเมินผลความงอก และความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ทุกๆ 2 เดือน เป็น ระยะเวลา 6 เดือน พบว่า พืชปุ๋ยสดทุกชนิด ทั้งสองปัจจัยมีผลต่อความงอก และความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่อุณหภูมิ 10 องศาเชลเซียส ในถุง aluminum foll ทำให้เมล็ดพันธุ์พืชปุยสดตระกูลถั่ว 5 ชนิด ยังคงมีความงอก และความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์สูงที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Study on effects of storage temperatures and suitable packaging material on seed quality maintenance of green manure crops in family Leguminosae. The study was divided into 2 experiments. The experiment 1, study on seed development and harvesting time of those seeds. The results of this study will be used in order to produce those seeds for the experiment 2. The completely randomized design (CRD) was carried out with 4 replications and the different ages of seed (numbers of day after pollination; DAP) were used as a treatment. Because of the undesirable environmental condition in the field, the experimental 1 could be collected the results only sunnhemp and African sesbania. The results showed that sunnhemp had the physiological maturity at 28 DAP and had the harvesting maturity at 29 DAP. African sesbania had the physiological maturity at 32 DAP and had the harvesting maturity at 40 DAP. The experiment 2, study on the effects of storage temperature and packaging material on sunnhemp, African sesbania, jack bean, cowpea and pigeon pea seed quality were conducted. The 2 factorials in CRD with 4 replications were carried out. The storage temperature with 3 levels (10, 20*C and room temperature) were used as factor 1 and the packaging material with 3 levels (woven plastic bag, polyethylene plastic bag and aluminum foil bag) were used as the factor 2. The seeds from Land Development Regional Office 5 (Khon Kean province) were used in this experiment. The seed germination and vigor evaluation were tested every 2 months till 6 months of storage. The results showed that the both storage temperature and packaging material had affected on the seed germination and those vigor significantly. The seeds of sunnhemp, African sesbania, jack bean, cowpea and pigeon pea were stored in 20*C and kept in sealed aluminum foil bag had the highest germination and vigor.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาระดับอุณหภูมิการเก็บรักษาและภาชนะบรรจุที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2554
ผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในการเก็บรักษาที่ระดับความชื้นต่างๆ ผลของอุณหภูมิและเวลาในการเก็บรักษาต่อคุณภาพของหัวแก่นตะวันสายพันธุ์ต่างๆ การศึกษาคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่มีต่อความงอกการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง การเปรียบเทียบศักยภาพของผลผลิตเมล็ดพันธุ์และคุณภาพในการเก็บรักษาของถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ยาสูบ อิทธิของการพอกเมล็ดร่วมกับสารป้องกันเชื้อราต่อคุณภาพ และอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ การผลิตฟักทองญี่ปุ่นพร้อมปรุงในภาชนะบรรจุสำหรับการจำหน่ายปลีก : คุณภาพระหว่างการเก็บรักษา การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและต้นทุนการเก็บรักษาข้าวด้วยสภาวะปิดความดันต่ำกับวิธีการรมด้วยสารเคมีและวิธีเก็บในสภาวะควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ผลของโอโซนต่อการยกระดับคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาอาหารทะเลอาหารทะเลบรรจุสุญญากาศ
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก