สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาผลของสถานที่เลี้ยงต่อการเจริญเติบโต, การพัฒนาของอวัยวะ และคุณภาพซาก สุกรพันธุ์กระโดน
ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลของสถานที่เลี้ยงต่อการเจริญเติบโต, การพัฒนาของอวัยวะ และคุณภาพซาก สุกรพันธุ์กระโดน
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Housing system on Growth Performance, Organ Development and Carcass Quality of Kadon Pig
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของระบบการเลี้ยงต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบเคมีของร่างกาย การพัฒนาอวัยวะภายในร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ และคุณภาพเนื้อ ของสุกรไทยพื้นเมือง (กระโดน) สุกรเพศผู้ 20 ตัว และสุกรเพศเมีย 20 ตัว ถูกเลี้ยงไว้ฆ่าเมื่ออายุ 60 90 120 150 และ 180 วัน ในสภาพคอกพื้นดิน ภายนอกโรงเรือน และในสภาพคอกคอนกรีต ภายในโรงเรือน อัตราการเจริญเติบโตของสุกรที่เลี้ยงในโรงเรือนพื้นคอนกรีตสูงกว่าสุกรที่เลี้ยงบนพื้นดิน (P<0.05) ระบบการเลี้ยงมีผลต่อน้ำหนักซากและน้ำหนักเนื้อของสุกร องค์ประกอบทางเคมีของสุกรทั้งตัวไม่มีความแตกต่างกันเนื่องจากระบบการเลี้ยง อย่างไรก็ตามพบว่าขนาดของหัวใจ ตับ และไต มีความแตกต่างระหว่างสุกรที่เลี้ยงทดลองซึ่งไม่สามารถอธิบายสาเหตุความแตกต่างนี้ได้ อวัยวะสืบพันธุ์จากสุกรที่เลี้ยงบนพื้นคอนกรีตมีน้ำหนักมากกว่าสุกรที่เลี้ยงบนพื้นดิน เนื้อสุกรที่เลี้ยงบนพื้นคอนกรีต มีค่าความเป็นกรดด่างหลังเสียชีวิต 24 ชั่วโมง (pHU) และค่าการอุ้มน้ำของเนื้อ ต่ำกว่าเนื้อสุกรที่เลี้ยงบนพื้นดิน
บทคัดย่อ (EN): The objective of this experiment was to assess the effects of rearing systems on growth, chemical body composition, visceral and reproductive organs development and meat quality of Thai native pigs (Kadon). Twenty male and 20 female pigs were reared to slaughter at 60, 90, 120, 150 and 180 days of age in soil floor outdoor or concrete floor indoor conditions. Growth rates were higher for pigs raised on concrete floor (P<0.05). Rearing systems influenced on carcass and meat weight of pig. Chemical composition of whole carcass were not different among conditions. However, significant differences among conditions were found for size of heart, liver and kidney where do not know the reason of difference. Reproductive organs from pigs reared on concrete floor condition was heavier than pigs reared on soil floor. Pork from pigs reared in concrete floor conditions had lower pHU post mortem, and had poorer water holding capacity than pork from pigs reared in soil floor.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาผลของสถานที่เลี้ยงต่อการเจริญเติบโต, การพัฒนาของอวัยวะ และคุณภาพซาก สุกรพันธุ์กระโดน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2551
เอกสารแนบ 1
อิทธิพลของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโต คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของสุกรพันธุ์กระโดน ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ความสัมพันธ์ของรูปแบบยีน IGF-II กับลักษณะการเจริญเติบโตในสุกรพันธุ์กระโดน การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพเนื้อและคุณภาพซาก ของปลาโมงและปลาโมงลูกผสม จากการเลี้ยงในกระชัง ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ ผลของระบบการเลี้ยงไก่แบบอินทรีย์ ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ส่วนประกอบซาก และคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองลูกผสม การตอบสนองการคัดเลือกแบบภายในครอบครัวเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตในกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยง ณ จังหวัดบุรีรัมย์ การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของแหนแดง การคัดเลือกแบบภายในครอบครัวเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของปลานิลจิตรลดา การพ่นสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโต การพัฒนาสีผิวเปลือก ผลผลิต และคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวลำไยพันธุ์อีดอ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก