สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อสื่อมวลชนในหมู่ 3 ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
กัลยารัตน์ อิฐรัตน์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อสื่อมวลชนในหมู่ 3 ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัลยารัตน์ อิฐรัตน์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: จุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการแพร่กระจายของสื่อมวลชนในชนบท คือ วิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อสื่อมวลชน และความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับความรู้ทางการเกษตรจากสื่อมวลชนกับฐานะทางสังคม อายุ อาชีพ และระดับการศึกษาของเกษตรกร ประชากรที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วยเกษตรกร 86 ราย ในหมู่ 3 ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การรวบรวมข้อมูลได้จากแบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าร้อยละและค่าความสัมพันธ์ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1.พื้นฐานทั่วไป เกษตรกรส่วนมากจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 สามารถอ่านออกเขียนได้ อายุเฉลี่ย 43.33 ปี ส่วนใหญ่มีอายุ 36-60 ปี ทุกคนนับถือศาสนาพุทธ มีที่ดินถือครองของตนเองเฉลี่ยครอบครัวละ 31.58 ไร่ และมีการเช่าที่ดินเพิ่มเฉลี่ยคนละ 4.3 ไร่ อาชีพหลักคือการทำนา ส่วนมากไม่ค่อยร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน 2.การแพร่กระจายของสื่อมวลชน วิทยุเป็นสื่อมวลชนที่มีการแพร่กระจายมากที่สุด เพราะเครื่องรับวิทยุมีราคาถูกและหาซื้อได้ง่ายกว่าเครื่องรับโทรทัศน์ ส่วนหนังสือพิมพ์เกษตรกรไม่ค่อยมีเวลาและบางรายก็ไม่สามารถอ่านหนังสือออก 3. ความชอบรายการของเกษตรกร รายการข่าวประจำวันของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นรายการวิทยุที่เกษตรกรชอบมากที่สุด ส่วนรายการทางโทรทัศน์นั้นเกษตรกรชอบรายการบันเทิง มากกว่ารายการอื่นๆ และเกษตรกรชอบอ่านข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์รายวันมากกว่าบทความอื่น โดยทั่วไปเกษตรกรมีความสนใจรายการการเกษตรของสื่อมวลชนทั้ง 3 ประเภทน้อยมาก เพราะยังไม่เห็นความสำคัญของรายการเหล่านั้น 4.ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวิทยุ เกษตรกรส่วนมากสนใจฟังวิทยุเป็นประจำติดต่อกันประมาณวันละ 1 ชั่วโมง ในภาคเช้า คือ 5.00-6.00 น. และรายการเกษตรที่เกษตรกรนิยมฟังมากที่สุดคือรายการ "ชาวนาฟังได้ ชาวไร่ฟังดี" โดย ดุ่ย ณ บางน้อย ทางสถานีวิทยุกองพล ป.ต.อ. ไม่มีเกษตรกรที่ทำการศึกษาเคยติดต่อกับสถานีวิทยุเลย ไม่ว่าด้วยจดหมายหรือด้วยตนเอง เกษตรกรส่วนมากมีความคิดว่า รายการเกษตรกรที่ฟังนั้นไม่สามารถนำมาใช้สำหรับอาชีพของตนได้ แต่มีส่วนน้อยที่สามารถนำความรู้เรื่องปุ๋ยมาใช้ได้ 5.ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อโทรทัศน์ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องรับโทรทัศน์เป็นของตนเอง แต่ก็หาดูของเพื่อนบ้านได้ ส่วนใหญ่ชอบดูโทรทัศน์ช่อง 7 และเวลาที่นิยมดูคือ 20.00-21.00 น. เกษตรกรส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อรายการทางโทรทัศน์ว่าไม่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงอาชีพของตนได้ แต่ก็ยังมีส่วนน้อยที่สามารถนำความรู้เรื่องปุ๋ยมาใช้ในทางปฏิบัติได้ 6.ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ที่เกษตรกรนิยมอ่าน คือ ไทยรัฐ ส่วนมากอ่านสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และมักอ่านบทความเกี่ยวกับราคาผลิตผลเกษตร หน้า 3 เกษตรกรส่วนใหญ่คิดว่าไม่สามารถนำความรู้ทางการเกษตรที่มีในหนังสือพิมพ์มาใช้ได้ แต่ก็ยังมีส่วนน้อยที่สามารถนำความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยมาใช้ในทงปฏิบัติได้ 7.ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับความรู้ทางการเกษตรจากสื่อมาลชนไปปฏิบัติฐานะทางสังคม อายุ อาชีพ และการศึกษา ได้พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 8.ปัญหาการนำความรู้ทางการเกษตรจากสื่อมวลชนไปใช้ เกษตรกรส่วนมากเห็นว่าความรู้ทางการเกษตรที่ได้รับจากสื่อมวลชนทั้ง 3 ประเภท ไม่เหมาะกับสภาพของหมู่บ้านจึงไม่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: หมู่ 3 ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อสื่อมวลชนในหมู่ 3 ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การปฏิบัติในการผลิตหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออกตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของกลุ่มเกษตรกร ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวิทยาการการทำนาครั้งที่ 2 ของจังหวัดราชบุรี การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรในการป้องกันกำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยวิธีผสาน สภาวะการปลูกแห้วจีนของเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี ความรู้ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันการเกิดอะฟลาทอกซินในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การยอมรับเทคโนโลยีการอารักขาข้าวตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ปี 2547 ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของเกษตรกรหมู่ที่ 12 ตำบลบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ที่มีต่อพนักงานส่งเสริมการเกษตรของรัฐและของบริษัทเอกชน การผลิตแห้วจีนตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก