สืบค้นงานวิจัย
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่โดยการออกแบบ พัฒนา และใช้แอปพลิเคชั่นบันทึก ประมวลผล และรายงานผลข้อมูลการให้ผลผลิตของฟาร์มไก่ไข่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
วริษา สินทวีวรกุล, วิษณุ ช้างเนียม, วริษา สินทวีวรกุล, วิษณุ ช้างเนียม - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่โดยการออกแบบ พัฒนา และใช้แอปพลิเคชั่นบันทึก ประมวลผล และรายงานผลข้อมูลการให้ผลผลิตของฟาร์มไก่ไข่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
ชื่อเรื่อง (EN): Increase Efficiency Organized and Management Laying Hens Farms by Design, Develop and Use Application for Recording, Evaluation and Report The Productivity Data of Laying Hens Farm on Android System
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่โดยการออกแบบ พัฒนา และใช้แอพพลิเคชั่นบันทึก ประมวลผล และรายงานผลข้อมูลการให้ผลผลิตของฟาร์มไก่ไข่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ วิษณุ ช้างเนียม วริษา สินทวีวรกุล บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่เพื่อลดภาระเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลของฟาร์มไก่ไข่ และพัฒนาระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนไก่ไข่ให้มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเลี้ยงไก่ไข่ จากวัตถุประสงค์โครงการวิจัยภายในดำเนินโครงการวิจัยจึงได้แยกระบบงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแอพพลิเคชั่นทำหน้าที่บริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่ตามรูปแบบการขายไข่ของฟาร์มไก่ไข่ บันทึกการออกไข่และการปลดไก่ไข่ที่ไม่ออกไข่ตามเกณฑ์มาตรฐานของไก่ไข่ด้วยการอ่านรหัสคิวอาร์โค้ดที่ติดประจำกรงไก่ไข่เพื่อให้การเก็บข้อมูลมีแม่นยำสูงเมื่อเทียบกับระบบงานฟาร์มเดิมที่ใช้การบันทึกข้อมูลในรูปแบบกระดาษ เจ้าของฟาร์มสามารถบันทึกรายจ่ายในช่วงระหว่างการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินกิจการฟาร์ม การทำงานในส่วนแอพพลิเคชั่นบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่ทำงานภายในเครื่องสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพียงเครื่องเดียวทำให้เจ้าของฟาร์มไม่ต้องซับซ้อนในการหาอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล แต่ระบบที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นเจ้าของฟาร์มสามารถส่งข้อมูลการดำเนินกิจการของฟาร์มไปเก็บที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ทีมวิจัยได้เตรียมไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับอ้างอิงเปรียบเทียบการดำเนินงานกิจการฟาร์มไก่ไข่ที่ผ่านมา อีกส่วนของการทำการวิจัยทีมวิจัยได้พัฒนาคือส่วนฮาร์ดแวร์ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนไก่ไข่ ใช้ระบบฟัซซีลอจิกมาจัดการในการควบคุมการทำงานพัดลม ปั๊มน้ำสเปรย์น้ำบนหลังโรงเรือน และแสงสว่างภายในโรงเรือนเพื่อสร้างความแม่นยำในการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน ข้อมูลอินพุตเข้าระบบฟัซซีลอจิกคือ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ และระดับค่าแสงสว่าง ที่ติดตั้งในตำแหน่งด้านหน้าโรงเรือน ท้ายโรงเรือน และนอกโรงเรือน ผลการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนด้วยระบบฟัซซีลอจิกทำให้สภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนมีความแม่นยำสูงในการควบคุมอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน และในส่วนนี้สามารถสื่อสารกับส่วนแอพพลิเคชั่นผ่านการสื่อสารแบบบลูทูธ หรือ IoT เพื่อส่งข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน สถานการณ์ทำงานของอุปกรณ์ทำหน้าที่ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน และกำหนดการทำงานอุปกรณ์ควบคุมสภาพแวดล้อมแบบกำหนดการทำเองผ่านแอพพลิเคชั่น จากผลการการนำงานวิจัยทั้งสองส่วนไปใช้งานในฟาร์มเกษตรที่เลี้ยงไก่ไข่ เกษตรกรสามารถลดภาระเกี่ยวกับการบริหารจัดการฟาร์มเกี่ยวกับข้อมูลการดำเนินกิจการฟาร์มไก่ไข่ และคุณภาพไข่ที่ได้จากฟาร์มมีขนาดของไข่ไก่และปริมาณการออกไข่ของไก่ไข่ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานพันธุ์ไก่ไข่ที่เลี้ยง แม้แต่ฤดูร้อนปริมาณและคุณภาพไข่ที่ก็เป็นได้ตามเกณฑ์มาตรฐานพันธุ์ไก่ไข่ คำสำคัญ: เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่ไข่, แอพพลิเคชั่นจัดการฟาร์มไก่ไข่, อุปกรณ์ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนด้วยระบบฟัซซีลอจิก
บทคัดย่อ (EN): Increase Efficiency Organized and Management Laying Hens Farms by Design, Develop and Use Application for Recording, Evaluation and Report The Productivity Data of Laying Hens Farm on Android System Visanu Changniam Warisa Sintaweewarakul This research aimed to improve layer hens farm management in order to relieve of layer hens farm data collection and develop control environment system in hens housing to be suitable for laying eggs. From research objective, working system could be divided into two sections; application which managed the farm according to eggs marketing, recorded laying eggs frequency and removed hens that did not laid eggs as follow the layer hens standard with QR code scanning, which hanged on each cage to keep high accuracy data record. It was more accurate than traditional farm system which record all data on paper. Farm owners could record expenses during hens feeding in order to be information for farm’s overall operations analysis and conclusion. Application was worked in Android smartphone that was not complicated for farm owners. Moreover, the developed system could share operation data to host computer (server) in research lab to be reference information about previous farm operation. Another development section was hardware that was used for controlling hens housing environment with fuzzy logic system to control fan working, roof water spraying, and light in the hen housing. It fixed environment control accuracy. First, input pass fuzzy logic system was temperature, humidity, and light level censers which installed in the front and back of housing and out of housing. The result of controlling hens housing environment with fuzzy logic system improve accurate environment inside hen housing. In addition, the fuzzy logic system could connect with application through Bluetooth or loT to transfer housing environment data, report control instrument working status and set environment control through application. The results of using both research sections in the layer hen farm. Farmers could relieve about farm management on hen farm operation data. Eggs quality and quantity from these system passed the standard criteria according to layer hens species. Although it was summer, eggs’ quantity and quality still passed the standard criteria according to hens’ species. Keywords: Improvement of layer hen farm management efficiency, hens farm management application, instruments for environment control tools with fuzzy logic system
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่โดยการออกแบบ พัฒนา และใช้แอปพลิเคชั่นบันทึก ประมวลผล และรายงานผลข้อมูลการให้ผลผลิตของฟาร์มไก่ไข่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
30 กันยายน 2560
ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ โครงการวิจัยพันธุไก่ไข่เพื่อทดแทนการนำเข้า 1.สมรรถภาพการให้ผลผลิตไข่ โครงการวิจัยพันธุ์ไก่ไข่เพื่อทดแทนการนำเข้า 2. อิทธิพลของพันธุ์ต่อลักษณะคุณภาพไข่และค่าสหสัมพันธ์ปรากฎในไก่ ผลของการเสริมสารสกัดอัญชัน ในอาหารไก่ไข่ คุณค่าทางโภชนะและการใช้ใบถั่วท่าพระสไตโลในไก่ไข่ การใช้ถั่วลิสงนาป่นระดับต่างๆในอาหารไก่ไข่ การใช้กากงาทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ปีก 2. ไก่ไข่ การใช้แหนใหญ่เลี้ยงไก่พื้นเมือง การปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมในฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยในภาคตะวันออก โครงการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤติ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก