สืบค้นงานวิจัย
พันธุ์ข้าวนาน้ำฝนสายพันธุ์ดีในสภาพแห้งแล้ง
ฉลวย บุญวิทย์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: พันธุ์ข้าวนาน้ำฝนสายพันธุ์ดีในสภาพแห้งแล้ง
ชื่อเรื่อง (EN): Rainfed lowland rice promising lines under drought prone conditions
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฉลวย บุญวิทย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chaluai Bunwit
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เพื่อคัดหาสายพันธุ์ข้าวที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝน มีลักษณะดี ที่ให้ผลผลิตสูงสุด เมื่อปลูกในสภาพปักดำ หรือหยอดข้าวแห้ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มักมีพื้นที่นาอยู่ในสภาพ นาน้ำฝนเป็นส่วนใหญ่ ได้รับผลกระทบต่อผลผลิตข้าวเป็นอันมาก จากสภาวะแล้งของฝนทิ้งช่วงหลายระยะของการเจริญเติบโตของข้าว เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิกาพการผลิตข้าวให้สูงขึ้น มีผลผลิตสูง ต้านทานแล้ง ต้านทานต่อโรคแมลงที่สำคัญ เช่น โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง แมลงบัว หนอนกอข้าว จึงทำการประเมินหาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมในนาน้ำฝนในสภาพแห้งแล้ง ได้ข้าวสายพันธุ์ดีเด่นที่ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ ได้แก่ สายพันธุ์ IR57514-PMI-5-B-1-2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการผสมหลายทาง ของ IR43581-57-3-3-6/KDML105/IR21836-90-3 ต้านทานแล้งดี มีผลผลิตเฉลี่ย 531-550 กก./ไร่ ได้ผลผลิตข้าวมากกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 เฉลี่ย 15-28 % ชนิดข้าวเจ้า เมล็ดเรียวยาว ข้าวนุ่มปานกลาง สายพันธุ์ IR68796-27-3-B-5-2-B มาจากคู่ผสมของ CT9992-22-2-4-M/IR56592-21-1-3-1-2/KDML105 และสายพันธุ์ IR69515-27-KKN-1-UBN-1-1-1-B ได้จากคู่ผสมของ IR57514-SRN-299-3-2-4/IR57515-PMI-8-1-1-SRN-1-1/IR57519-PMI-5-B-2-5 มีความต้านทานแล้งดี และ มีการฟื้นตัวจากสภาพแล้งได้ดีมากให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคไหม้ดี ออกดอกเร็วกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 ประมาณ 10 วัน มีคุณภาพดีได้มาตรฐาน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2534
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/328966
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พันธุ์ข้าวนาน้ำฝนสายพันธุ์ดีในสภาพแห้งแล้ง
กรมการข้าว
2544
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
ถั่วเหลืองสายพันธุ์ก้าวหน้า ผลของวันปลูกข้าวก่อนน้ำท่วมและหลังน้ำลดที่มีต่อผลผลิตข้าวพันธุ์/สายพันธุ์ดีในภาคใต้ ผลของอายุและสายพันธุ์ต่ออัตราการเคลื่อนที่, อัตราการรอดชีวิต และความสมบูรณ์พันธุ์ของน้ำเชื้อแบบแช่แข็งของพ่อพันธุ์ไก่พื้นเมือง วิจัยและพัฒนาพันธุ์สบู่ดำเพื่อการเพิ่มผลผลิตโดยการกลายพันธุ์ วิจัยและพัฒนาพันธุ์สบู่ดำเพื่อการเพิ่มผลผลิตโดยการกลายพันธุ์(Mutation ) ผลกระทบของระบบการให้น้ำและปุ๋ยต่อการผลิตดอกของเยอบีร่าสายพันธุ์ยุโรป การทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคกลางต่อแมลงเพลี้ยกระโดดหลังขาว ศึกษาพันธุ์ปรงเพื่อการขยายพันธุ์ และการอนุรักษ์พันธุ์พืช การปรับตัวของข้าวพันธุ์/สายพันธุ์ ที่ทนทานแล้งในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่างกัน พันธุ์ข้าวเจ้าพัทลุง ข้าวสายพันธุ์ดีเด่นของศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก