สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในเบบี้ฮ่องเต้บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่
นาวิน สุขเลิศ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในเบบี้ฮ่องเต้บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Efficacy of Fungal Bioinsecticides on Striped Flea Beetle Control in Baby Pak Choi in Highland of Chiang Mai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นาวิน สุขเลิศ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nawin Sukleard
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบประสิทธิภาพสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลาย Phyllotreta striolata (Fabricius) ได้ดำเนินการทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการ และแปลงปลูกภายใต้โรงเรือนของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ จังหวัดเชียงใหม่ สารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลง ประกอบด้วย เชื้อรา Metarhizium anisopliae ไอโซเลท 4849 เชื้อรา Beauveria bassiana ไอโซเลท 5335 เชื้อรา M. anisopliae ทางการค้า (เมทาซาน®) และเชื้อรา B. bassiana ทางการค้า (บูเวริน®) โดยศึกษาเปรียบเทียบกับสารเคมีฆ่าแมลง acetamiprid จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยการพ่นสารชีวภัณฑ์เชื้อราไปบนตัวเต็มวัยของด้วงหมัดผักแถบลาย พบว่า หลังการพ่นสาร 7 วัน การตายของด้วงหมัดผักที่ได้รับเชื้อรา M. anisopliae ทางการค้า (เมทาซาน®) เชื้อรา M. anisopliae ไอโซเลท 4849 ความเข้มข้น 1x108 โคนิเดีย/มิลลิลิตร และเชื้อรา B. bassiana ทางการค้า (บูเวริน®) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือร้อยละ 100 ส่วนเชื้อรา B. bassiana ไอโซเลท 5335 ที่ระดับความเข้มข้น 1x108 โคนิเดีย/มิลลิลิตร มีการตายเฉลี่ยน้อยที่สุดคือร้อยละ 85.72 ขณะที่การพ่นสารฆ่าแมลง acetamiprid ทำให้ด้วงหมัดผักแถบลายทั้งหมดตายหลังจากพ่น 2 วัน สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพสาร ชีวภัณฑ์เชื้อราในแปลงปลูกเบบี้ฮ่องเต้ภายใต้โรงเรือน ที่พืชอายุ 22 วันหลังย้ายปลูกพบว่า เชื้อรา M. anisopliae ทางการค้า (เมทาซาน®) มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลาย โดยมีค่าเฉลี่ยของแมลงที่พบเท่ากับ 0.51 ตัวต่อต้น ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติ (P<0.05) จากกรรมวิธีที่ใช้สารเคมีฆ่าแมลง acetamiprid (0.50 ตัวต่อต้น) นอกจากนี้ สารชีวภัณฑ์เชื้อราไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเบบี้ฮ่องเต้ ได้แก่ ความสูง ความกว้างทรงพุ่ม และน้ำหนักของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว
บทคัดย่อ (EN): Efficacy of fungal bioinsecticides in controlling striped flea beetles, Phyllotreta striolata (Fabricius), on baby pak choi was conducted in laboratory and greenhouse conditions of Mae Tho Royal Project Development Cennter, Chiang Mai. Fungal bioinsecticides consisted of Metarhizium anisopliae isolate 4849, Beauveria bassiana isolate 5335, commercial M. anisopliae (Metazan®) and commercial B. bassiana (Buverin®) comparing with a chemical insecticide (acetamiprid) as positive control. The result in the laboratory revealed that Metazan®, Metarhizium anisopliae isolate 4849 (1x108 conidia/ml) and Buverin® showed 100 percent of mortality after 7 days of spraying on adults of striped flea beetle whereas Beauveria bassiana isolate 5335 (1x108 conidia/ml) gave the lowest percentage mortality (85.72%). For acetamiprid, all the beetles was completely control after 2 days of spraying. The efficacy of the fungal bioinsecticides under greenhouse condition at 22 days after transplanting showed that Metazan® were the highest efficiency in controlling striped flea beetles which the lowest number of beetles was found on the plants (0.51 beetle/plant) with no statistical significantly different (P<0.05) to acetamiprid (0.51 beetle/plant). In addition, all the tested bioinsecticides showed no adverse effects on growth and development of baby pak choi i.e. height, canopy width and fresh weight after harvesting.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245557/168624
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในเบบี้ฮ่องเต้บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การควบคุมโรคผลสตรอเบอรี่เน่าด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่อุณภูมิห้องและที่ 10 องศาเซลเซียส การสำรวจ รวบรวมและประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างต่อการควบคุม ผลของสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อรา Cercospora canescens จากถั่วเขียว การใช้เชื้อรา Metarhizium anisopliae PSUM04 ควบคุมเพลี้ยอ่อนผัก Lipaphis erysimi (Kalt.) (Homoptera: Aphididae) ในผักคะน้าระบบไฮโดรโปนิกส์ ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู Physiologic Races ของเชื้อรา Hemileia uastatrix B. & Br การผลิตหัวเชื้อสารชีวภัณฑ์เชื้อราเพื่อการกำจัดเพลี้ยไฟกล้วยไม้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก