สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาคลองชลประทานผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา
ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน - มหาวิทยาลัยสยาม
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาคลองชลประทานผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา
ชื่อเรื่อง (EN): The development of irrigation canal mix with rubber latex for farm irrigation system
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชวน จันทวาลย์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   <-p>

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ <-span>การพัฒนาคลองชลประทานผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา<-span>” แก่มหาวิทยาลัยสยาม โดย<-span>มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านการรับแรงรั่วซึมน้ำของคอนกรีตผสมน้ำยางพรีวัลคาไนซ์ และสามารถนำไปใช้ในระบบชลประทานไร่นา รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพของคูส่งน้ำต้นแบบผสมน้ำยางพรีวัลคาไนซ์<-span><-o-p><-span><-h4>

จากผลการวิจัยการประยุกต์ใช้น้ำยางพาราในการบำรุงรักษาระบบชลประทาน ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติทางกลของมอร์ต้าและคอนกรีตผสมน้ำยางพาราในระดับห้องปฏิบัติการ และนำไปทดสอบการใช้งานในภาคสนาม พบว่าการใช้น้ำยางพาราในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้คุณสมบัติทางวิศวกรรมหรือทางกลของมอร์ต้าและคอนกรีต มีคุณสมบัติที่ดีสามารถลดการรั่วซึมของน้ำได้ ลดปัญหาการแตกร้าวตามผนังและท้องคูส่งน้ำ ทำให้อายุการใช้งานของคูส่งน้ำมีอายุการใช้งานที่นานกว่าคู่ส่งน้ำคอนกรีตแบบธรรมดา ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาคอนกรีตผสมน้ำยางพรีวัลคาไนซ์สำหรับใช้หล่อคูส่งน้ำต้นแบบและนำไปใช้ทดสอบในระบบไร่นาของเกษตรกร เนื่องจากน้ำยางพาราชนิดพรีวัลคาไนซ์มีคุณสมบัติดีต่อความทนทาน ความร้อน และสภาวะแวดล้อมในธรรมชาติได้ดีกว่าน้ำยางพาราธรรมชาติ<-span><-o-p><-span><-p>

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากผลงานวิจัย<-span> <-span>คือได้องค์ความรู้การพัฒนาคูส่งน้ำผสมน้ำยางพารา เพื่อใช้เป็นคูส่งน้ำต้นแบบที่มีความสามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำ และลดการแตกร้าวตามผนังคลองส่งน้ำเมื่อเทียบกับคูส่งน้ำแบบธรรมดา เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำชลประทานในไร่นาไปสู่การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในทางอ้อม ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น <-span><-p>

ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-10-14
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยสยาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาคลองชลประทานผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา
มหาวิทยาลัยสยาม
14 ตุลาคม 2559
การพัฒนาคลองชลประทานผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา การพัฒนาวัสดุเคลือบผิวคลองผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้บำรุงรักษาคลองชลประทาน การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์น้ำยางพาราสำหรับใช้งานในสวนยางพารา การศึกษาการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมในแบบจำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา การพัฒนาเครือข่ายเซนเซอร์สำหรับระบบชลประทานอัตโนมัติ การพัฒนาระบบชลประทานชาญฉลาดสำหรับฟาร์มอัจฉริยะ ประเมินประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานจากการสนับสนุนของกรมพัฒนาที่ดิน การจัดทำถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจนสำหรับชุมชนริมคลองชลประทาน การปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพแบบแห้งในคลองชลประทาน การพัฒนาอุปกรณ์แจ้งเตือนระดับน้ำในคลองชลประทาน แบบอัตโนมัติ
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก