สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบและสาธิตการใช้หญ้าแพงโกล่าสดขุนโคเนื้อในฟาร์มเกษตรกรรายย่อย
เทวัญ จันทร์โคตร - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การทดสอบและสาธิตการใช้หญ้าแพงโกล่าสดขุนโคเนื้อในฟาร์มเกษตรกรรายย่อย
ชื่อเรื่อง (EN): Verification on Use of Fresh pangola grass for Beef cattle in smallholder farmers.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เทวัญ จันทร์โคตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบและสาธิตการใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งร่วมกับอาหารข้น ขุนโคเนื้อในฟาร์มเกษตรกรรายย่อย อัศวิน สายเชื้อ1/ สุทัศน์ สุนทรวัฒน์1/ ขบวน อินทรักษ์2/ สมศักดิ์ เภาทอง3/ บทคัดย่อ การทดสอบและสาธิตนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของเกษตรกรเกี่ยวกับรูปแบบการให้อาหารขุนโคเนื้อโดยใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งร่วมกับอาหารข้นเพื่อทดแทนการใช้เปลือกสับปะรดในช่วงที่มีปัญหาขาดแคลนและมีราคาแพง โดยทำการทดสอบในฟาร์มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 4 ฟาร์ม ใช้โคเนื้อพันธุ์ลูกผสมของเกษตรกร ฟาร์มละ 5 ตัว โคทุกตัวจะได้กินหญ้าแพงโกล่าแห้งเต็มที่และเสริมด้วยอาหารข้นสำเร็จรูปประมาณ 6 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ทำการทดสอบและเก็บข้อมูลนาน 4 เดือน เมื่อสิ้นสุดการทดสอบทำการสัมภาษณ์เกษตรกรถึงปัญหาอุปสรรค และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งร่วมกับอาหารข้นขุนโคเนื้อแทนอาหารแบบเดิมที่เกษตรกรเคยใช้ ผลการทดสอบ พบว่าโคขุนของเกษตรกรทั้ง 4 ฟาร์ม มีปริมาณอาหารที่กินได้คิดเป็นน้ำหนักแห้งรวม เฉลี่ยเท่ากับ 9.15 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน โดยคิดเป็นปริมาณหญ้าแพงโกล่าแห้งที่กินได้ เฉลี่ยเท่ากับ 5.24 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน และปริมาณอาหารข้นที่กินได้ เฉลี่ยเท่ากับ 4.65 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน จากการทดสอบพบว่าโคขุนมีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร เฉลี่ยเท่ากับ 13.36 และมีอัตราการเจริญเติบโตตลอดการทดสอบ เฉลี่ยเท่ากับ 745 กรัมต่อตัวต่อวัน เกษตรกรจะมีต้นทุนจากการขุนโครวมทั้งหมด เฉลี่ยเท่ากับ 14,792.25 บาทต่อตัวต่อฟาร์ม เมื่อคิดเป็นต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 85.42 บาทต่อตัวต่อวัน เกษตรกรจะมีผลกำไรจากการขายโคในครั้งนี้ เฉลี่ยเท่ากับ 1,965 บาทต่อตัว และจากการสัมภาษณ์เกษตรกรหลังเสร็จโครงการ พบว่าเกษตรกรทั้ง 4 ฟาร์ม มีความพอใจต่อการใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งร่วมกับอาหารข้นขุนโคแทนการใช้เปลือกสับปะรดในช่วงที่ขาดแคลนในแง่ของราคาต้นทุนค่าอาหาร การจัดการนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงโค ตลอดจนการให้ผลตอบแทนก็เป็นที่น่าพอใจ คำสำคัญ : หญ้าแพงโกล่าแห้ง อาหารข้น โคขุน เกษตรกรรายย่อย เลขทะเบียนวิจัย 51(1)-0214-054 1/ สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2/ สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ชุมพร จังหวัดชุมพร 3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
บทคัดย่อ (EN): Verification on Use of Pangola grass hay and Supplemented with Concentrate for Beef Cattle with smallholder farmers Autsawin Saichuer 1/ Sutat Soontronwat 1/ Kaboun Intarak 2/ Somsak Poathong 3/ This study aimed to investigate feeding program of feedlot beef cattle by use of Pangola hay and supplemented with concentrated for replaced pineapple peel during shortage period. The verification were conducted and demonstrated in 4 farms of smallholder farmer in Prachuapkhirikhan province. 5 feedlot cattles of each farm free accessed to Pangolar hay and supplemented with concentration about 6 kg./head/day. Verification period was 4 months and the farmers were questioned to problem and opinion of the feeding program at the end of the verification. The results showed that cattle fattening of 4 farmers have average 9.15 kg/head/day of total dry mater feed intake, pangola hay was average 5.24 kg /head/day and average 4.65 kg/head/day of concentrate feed. The verification found that feed conversion ratio 13.36 and average daily grain 745 g/head/day. Throughout the test found. Total cost of fattening. 14,792.25 on average per farm as feed cost per 1 kg weight gain with a mean of 85.42 per day will profit from the sale of cattle. Average of 1,965 baht/head. Final verification, questioned to farmers found that were satisfaction with the use pangola hay with concentrate supplemented for replace the pineapple peel during shortage period and expensive, In terms of feed cost, management used as feed cattle and the profit was satisfactory. Keywords : Pangola hay, Concentrate, Cattle fattening, Smallholder farmers Registered No: 51(1)-0214-054 1/ Prachuabkhirikhan Animal Nutrition Development Station, Kuiburi District, Prachuabkhirikhan Province 2/ Chumphon Animal Nutrition Development Station, Tha Sae District, Chumphon Province 3/ Petchaburi Animal Nutrition Research and Development Center, Cha-am District, Petchaburi Province
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบและสาธิตการใช้หญ้าแพงโกล่าสดขุนโคเนื้อในฟาร์มเกษตรกรรายย่อย
กรมปศุสัตว์
30 กันยายน 2552
กรมปศุสัตว์
การทดสอบและสาธิตการใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งร่วมกับอาหารข้นขุนโคเนื้อในฟาร์มเกษตรกรรายย่อย การศึกษาวิธีการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลของเกษตรกรรายย่อยใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทดสอบและสาธิตการใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งร่วมกับอาหารข้นขุนโคเนื้อในฟาร์ม เกษตรกรรายย่อย การทดสอบและสาธิตการใช้หญ้าหมักในฟาร์มโคนมของเกษตรกรรายย่อย การใช้หญ้าแพงโกล่าหมักเลี้ยงโคเนื้อ ความเป็นไปได้ของเกษตรกรรายย่อยในการใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งเลี้ยงโครีดนม การใช้เทคโนโลยีในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ ความเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในเขตภาคกลางของไทย การปรับปรุงพันธุ์หญ้าแพงโกล่าโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ความเป็นไปได้ในการใช้อาหารข้นขุนโคของเกษตรกรรายย่อย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก