สืบค้นงานวิจัย
ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี
วีระ วัชรกรโยธิน, สุริยัน เสมา, สุชาติ ผึ่งฉิมพลี, วรมิตร ศิลปชัย, วีระ วัชรกรโยธิน, สุริยัน เสมา, สุชาติ ผึ่งฉิมพลี, วรมิตร ศิลปชัย - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Abundance and Diversity of Benthic Fauna in the Chanthaburi River
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี วรมิตร ศิลปชัย๑* สุชาติ ผึ่งฉิมพลี๒ วีระ วัชรกรโยธิน๓ สมาน โรมพันธ์๔ และ นัยน์ปพร ศาลาแก้ว๕ ๑ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชลบุรี ๒ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสิงห์บุรี ๓ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปทุมธานี ๔ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยโสธร ๕ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดหนองคาย บทคัดย่อ การศึกษาความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี ได้ทำการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2555 ถึงเดือนสิงหาคม 2556 โดยใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินชนิด Ekman dredge ขนาด 15x15 เซนติเมตร ทำการเก็บตัวอย่าง 6 จุดสำรวจ ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์โครงสร้างประชาคมสัตว์หน้าดิน ค่าดัชนีทางนิเวศวิทยา และการวิเคราะห์ทางสถิติแบบหลายตัวแปร ผลการศึกษาพบสัตว์หน้าดิน 3 ไฟลั่ม ได้แก่ Annelida, Mollusca และ Arthropoda จำแนกได้ 73 สกุล บริเวณระบบนิเวศน้ำจืด จุดสำรวจที่ 3 มีความหลากหลายของสกุลสัตว์หน้าดินมากที่สุด 22 สกุล ปริมาณสัตว์หน้าดินเฉลี่ย 1,805?0.89 ตัว/ม2 ดัชนีความมากชนิด ดัชนีความหลากหลาย และดัชนีความเท่าเทียมมีค่าเฉลี่ย 1.44?0.23, 1.67?0.22 และ 0.58?0.22 ตามลำดับ ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 1.70?0.19 ความลึกมีค่าเฉลี่ย 2.53?0.29 เมตร ความโปร่งแสงมีค่าเฉลี่ย 105.42?0.20 เซนติเมตร ออกซิเจนละลายน้ำมีค่าเฉลี่ย 5.87?0.06 มก./ล. บีโอดีมีค่าเฉลี่ย 2.05?0.08 มก./ล. บริเวณระบบนิเวศน้ำกร่อย จุดสำรวจที่ 6 มีความหลากหลายของสกุลสัตว์หน้าดินมากที่สุด 47 สกุล ปริมาณสัตว์หน้าดินเฉลี่ย 1,138?0.49 ตัว/ม2 ดัชนีความมากชนิด ดัชนีความหลากหลาย และดัชนีความเท่าเทียมมีค่าเฉลี่ย 2.70?0.34, 2.66?0.13 และ 0.71?0.07 ตามลำดับ ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.78?0.44 ความลึกมีค่าเฉลี่ย 3.07?0.23 เมตร ความโปร่งแสงมีค่าเฉลี่ย 119.29?0.24 เซนติเมตร ออกซิเจนละลายน้ำมีค่าเฉลี่ย 5.45?0.11 มก./ล. บีโอดีมีค่าเฉลี่ย 2.11?0.15 มก./ล. ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Canonical Correspondence Analysis พบว่าความเค็ม ออกซิเจนละลายน้ำ และบีโอดี มีความสัมพันธ์ต่อปริมาณของสัตว์หน้าดิน คำสำคัญ : สัตว์หน้าดิน ความชุกชุม ความหลากหลาย แม่น้ำจันทบุรี *ผู้รับผิดชอบ : ๔๔/๑ ม.๑๑ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐ โทร. ๐ ๓๘๓๔ ๑๑๖๖ e-mail : woramit9@hotmail.com
บทคัดย่อ (EN): Abundance and Diversity of Benthic Fauna in the Chanthaburi River Waramit Sinlapachai1* Suchat Pungchimplee2 Veera Watcharagoneyothin3 Saman Romphan4 and Naipaporn Salakaew5 1Chonburi Inland Fisheries Research and Development Center 2Singburi Inland Fisheries Research and Development Center 3Pathumthani Inland Fisheries Research and Development Center 4Yasothon Inland Fisheries Research and Development Center 5Nongkhai Inland Fisheries Research and Development Center Study on abundance and diversity of benthic fauna in the Chanthaburi River were conducted during December 2012 to August 2013. Samples were collected by 15x15 cm Ekman dredge in 6 stations. All data were analyzed to determine benthic community structure, ecological indices and multivariate method. There were 3 phyla including Annelida, Mollusca and Arthropoda with 73 genera. The freshwater ecosystem, there was the most diverse genus at the station 3 with 22 genera. The average density was 1,805?0.89 ind/m2. The average ecological indices of richness index, diversity index and evenness index were 1.44?0.23, 1.67?0.22 and 0.58?0.22, respectively. The average of soil organic matter was 1.70?0.19%. Average value of depth and transparency were 2.53?0.29 m and 105.42?0.20 cm. Average value of dissolved oxygen was 5.87?0.06 mg/l. Average value of BOD was 2.05?0.08 mg/l. The estuarine ecosystem, there was the most diverse genus at the station 6 with 47 genera. The average density was 1,138?0.49 ind/m2. The average ecological indices of richness index, diversity index and evenness index were 2.70?0.34, 2.66?0.13 and 0.71?0.07, respectively. The average of soil organic matter was 2.78?0.44%. Average value of depth and transparency were 3.07?0.23 m and 119.29?0.24 cm. Average value of dissolved oxygen was 5.45?0.11 mg/l. Average value of BOD was 2.11?0.15 mg/l. The result of Canonical Correspondence Analysis showed that, the composition of benthic fauna were correlated with salinity, dissolved oxygen and BOD. Key words : benthic fauna, abundance, diversity, Chanthaburi river *Corresponding author : 44/1 Moo 11, Bangphra Sub-district, Sriracha District, Chonburi Province 20110 Tel. 0 3834 1166 e-mail : woramit9@hotmail.com
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี
กรมประมง
31 มีนาคม 2557
กรมประมง
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ความหลากหลายและการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร ความชุกชุม ความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย การศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินกับคุณภาพน้ำในระบบนิเวศแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม 2559A17002023 ความหลากหลายของแพลงก์ตอนและสัตว์หน้าดินบริเวณแม่น้ำน่าน ความหลากหลาย ความชุกชุม การแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก