สืบค้นงานวิจัย
การจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและน้ำท่วมที่มีต่อการปลูกข้าวในจังหวัดเพชรบูรณ์
สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: การจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและน้ำท่วมที่มีต่อการปลูกข้าวในจังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง (EN): The management on the crisis rice field to drought and flooding in Phetchabun Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรีย์พร ธรรมิกพงษ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในจังหวัดเพชรบูรณ์กลายเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากมีการ เพิ่มขึ้นของความถี่ในการเกิดพิบัติภัยในช่วงเวลาไม่นานมานี้ผลจากการเกิดภัยพิบัตินี้ทำให้ปริมาณ ผลผลิตข้าวในพื้นที่น้อยลง งนวิจัยนี้ได้ทำการประเมินพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัยและภัยแล้งโดยใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ในพื้นที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัยนั้น จะใช้ข้อมูลของปัจจัยด้านปริมาณน้ำฝนรายปี การระบายน้ำของดิน ความถี่ในการเกิดน้ำท่วม ความ หนาแน่นของถนน ความหนาแน่นของเส้นทางน้ำ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ โดยมีการกำหนดสัดส่วน ค่าถ่วงน้ำหนัก คือ 10 : 7 : 6 : : 4 : 3 ตามลำดับ ในขณะที่การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งนั้นช้ปัจจัย ด้านพื้นที่ชลประทาน ปริมาณน้ำฝนรายปี ความถี่ของวันที่ฝนตก การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร ลักษณะเนื้อดิน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และปริมาณน้ำใต้ดิน โดยกำหนดสัดส่วนค่าถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 8 7 : 5 : 1 :4 :2 :3 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าในพื้นที่อำเภอหล่มสักนั้นจะมีระดับความเสี่ยงต่อ อุทกภัย 2 ระดับ คือระดับปานกลางและสูง โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยในระดับปานกลางมีพื้นที่ 870,223,990 และพื้นที่เสี่ยงภัยในระดับสูงมีพื้นที่ 588,811,395 ตารางเมตร ตามลำดับ ในขณะที่การประเมินความ เสี่ยงต่อภัยแล้งก็สามารถแบ่งได้ 2 ระดับ คือระดับปานกลางและสูง โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยปานกลาง เท่ากับ 870,223,990 และพื้นที่เสี่ยงภัยระดับสูง 588,811,.395 ตารางเมตร ซึ่งผลจากการวิจัยทั้งหมดนี้ ได้ทำการพัฒนาแผนการจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยที่มีผลต่อการปลูกข้าว 2 แผนการ คือแผนการจัดการ ระยะสั้น ได้แก่ กรลดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน การสร้างระเบียบและข้อจำกัดในการ ใช้ทรัพยากรน้ำในพื้นที่ การวางแผนป้องกันปัญหาที่รุนแรงของอุทกภัยและภัยแล้ง และการส่งเสริม กิจกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ ส่วนแผนการจัดการระยะยาว ได้แก่ โครงการสร้างเขื่อน ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่ทนภาวะแห้งแล้งและน้ำท่วม จัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่อง และการกำหนด เขตพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อลดพื้นที่ปลูกข้าว
บทคัดย่อ (EN): Flood and drought in Phetchabun Province have been occurring with increasing frequency in few past years. These disasters have more afiected to decrease the grain yields in rice paddy. In this research, drought and flood risk area had been determined using Geographic Information System in Lomsak District, Phetchabun Province. Flood vulnerability has been classified into annual rainfall, soil drainage, flood frequency, density of road, density of water route and topography. The weighing ratio were 10 :7 : 6: 5 :4 : 3, respectively. Drought area classification was assessed with irrigation area, annual rainfall, frequency of rainfall days, agricultural land-use, soil texture, topography and ground water resource, which the weighing ratio were indicated 8: 7 : 5 : 1 : 4:2 : 3, respectively, Result of study indicated that the flood risk area in Lomsak District was classified into 2 levels; moderate and high risk area which occupied the area of 870,223,990 and 588,811,395 sq.meters, respectively. The degree of drought risk was classified into two levels that was moderate and high risk area which occupied the area of 79,279,450 and 1,379,755,935 sq.meters. For all these data were comprised to two management plans. The first strategy was a short management plan such as decrease soil degradation, make a local regulation for using water resource and protect a hazardous problem of flood and drought and promote a suitable activities. The second strategy was a long management plan such as building a dam, study resistant rice varieties on drought and flood, support a continuous budget and decrease a paddy filed in risk area.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและน้ำท่วมที่มีต่อการปลูกข้าวในจังหวัดเพชรบูรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2553
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สถานการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์ การประเมินปริมาณน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในลุ่มน้ำน่านตอนบน การตอบสนองทางสรีรวิทยาเมื่อถูกน้ำท่วมขณะงอกของเมล็ดข้าวสายพันธุ์ไทย ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองของพันธุ์ข้าวต่อความมืดและการทนน้ำท่วมฉับพลัน ผลของฟางข้าวคลุมดินในสภาพน้ำท่วมในเวลาต่างกันต่อการเจริญเติบโตของข้าวและการควบคุมวัชพืชโดยไม่เตรียมดิน การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อโครงการประกันภัยพืชผลจากภัยแล้ง โดยใช้ดัชนีน้ำฝนสำหรับการผลิตข้าว ปีการผลิต 2554 อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข6 ให้มียีนทนทานน้ำท่วมขังโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย การแสดงออกของยีน CIPK15 ในพันธุ์ข้าวไทยภายใต้สภาพน้ำท่วม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก